เปิดวิธีตรวจสอบ ใบสั่งจราจรออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ ptm.police.go.th
ก่อนโดนออกหมายจับ ตรวจสอบได้ทันทีค้างจ่ายค่าปรับเท่าไร กี่ใบรู้หมด
พร้อมชำระค่าปรับผ่านช่องทางออนไลน์ได้ทันที เช็กเลย

จากกรณีกองบัญชาการตำรวจนครบาลแถลงแนวทางการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดตามกฎหมายจราจร
และไม่ชำระค่าปรับภายในระยะเวลาที่กำหนด จนอาจทำไปสู่การถูกออกหมายจับ
ซึ่งปัจจุบันมีผู้กระทำผิดไม่ไปชำระค่าปรับเป็นจำนวนมาก
บางคนพบว่ามีใบสั่งถึง 59 ใบ และยังคงมีพฤติการณ์ที่ฝ่าฝืนกฎหมายจราจรซ้ำ ๆ
เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนและเกิดปัญหาการจราจร
โดยมาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2565 เป็นต้นมา และสามารถตรวจสอบย้อนหลังใบสั่งที่ยังไม่หมดอายุความ (ระยะเวลา 1 ปี) โดยเน้นกรณีกระทำผิดซ้ำซากก่อน
โดยมาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2565 เป็นต้นมา และสามารถตรวจสอบย้อนหลังใบสั่งที่ยังไม่หมดอายุความ (ระยะเวลา 1 ปี) โดยเน้นกรณีกระทำผิดซ้ำซากก่อน
4 ข้อดัดหลังคนชอบเบี้ยวค่าปรับ
1. เจ้าพนักงานจราจรออกใบสั่งให้กับผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ทั้งแบบความผิดซึ่งหน้า และความผิดที่ตรวจจับด้วยกล้องตรวจจับการกระทำความผิด ระยะเวลาเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
2. กรณีผู้กระทำความผิดไม่มาชำระค่าปรับ เมื่อพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบสั่งแต่ละประเภท เจ้าพนักงานจราจรจะออกหนังสือแจ้งการไม่ปฏิบัติตามใบสั่ง (ใบเตือน) โดยจัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับภายใน 15 วัน นับแต่วันครบกำหนดชำระค่าปรับในใบสั่ง
โดยให้ถือว่าเจ้าของ/ผู้ครอบครอง ได้รับแจ้งเมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่ง และต้องชำระค่าปรับภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ซึ่งในขั้นตอนที่ 1 และ 2 ผู้กระทำความผิดสามารถเลือกชำระค่าปรับ ได้ที่สถานีตำรวจทุกสถานีทั่วประเทศ, ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ของธนาคารกรุงไทย, เคาน์เตอร์เซอร์วิสที่มีสัญลักษณ์ PTM และทางไปรษณีย์
3. กรณีพ้นกำหนดในใบเตือน และผู้กระทำความผิดยังไม่มาชำระค่าปรับ นอกจากการส่งข้อมูลไปยังกรมการขนส่งทางบก เพื่อดำเนินการตามมาตรการงดออกเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีแล้ว พนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียกสูงสุด 2 ครั้ง เพื่อให้มาชำระค่าปรับ หากไม่มา จะยื่นคำร้องขออนุมัติศาลในเขตพื้นที่เพื่อออกหมายจับต่อไป
4. กรณีถูกออกหมายเรียกหรือหมายจับ ผู้ต้องหาจะถูกแจ้งข้อกล่าวหา ตามข้อหาที่ผู้ต้องหากระทำผิดตามใบสั่ง และความผิดข้อหาตาม มาตรา 155 ที่ระบุว่า ผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 141 (ชำระค่าปรับในเวลาที่กำหนดในใบสั่ง) โดยไม่มีเหตุอันสมควร ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท ซึ่งขั้นตอนนี้ผู้ต้องหาต้องเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนด้วยตนเองที่สถานีตำรวจที่ออกหมายเรียก หมายจับ ไม่สามารถชำระผ่านช่องทางต่าง ๆ ตามข้อ 2 ได้
นอกจากนี้ ยังมีประชาชนบางส่วนไม่ทราบว่าตนเองได้รับใบสั่งจราจร เช่น กรณีเปลี่ยนที่อยู่, มีการซื้อ-ขายรถยนต์ไปแล้วแต่ยังไม่โอนเป็นชื่อเจ้าของใหม่ และอื่น ๆ โดยปัจจุบันสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดทำเว็บไซต์ตรวจสอบใบสั่งออนไลน์ ptm.police.go.th ที่สามารถแสดงประวัติการได้รับใบสั่งจราจร ตรวจสอบการค้างชำระค่าปรับ และดำเนินการชำระเงินได้ทันที
วิธีตรวจสอบใบสั่งจราจรออนไลน์สำหรับประชาชน ผ่านเว็บไซต์ ptm.police.go.th ดังนี้

ภาพจาก ptm.police.go.th
2. กรอกข้อมูลส่วนตัว ชื่อ นามสกุล เลขบัตรประชาชนและเลขหลังบัตรหรือ Laser ID
3. เลือกรูปแบบข้อมูลที่ต้องการใช้ลงทะเบียน ข้อมูลรถที่ครอบครองหรือใช้ข้อมูลใบขับขี่ โดยจะเลือกได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
4. กรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มให้ครบถ้วน
5. ระบบจะแสดงข้อมูลทั้งหมดที่ได้กรอกไว้ ทำการตรวจสอบความถูกต้อง แล้วกรอกอีเมลเพื่อใช้ในการลงทะเบียน
6. ตรวจสอบอีเมลที่ใช้ยืนยัน นำรหัส OTP จำนวน 6 หลักที่ทางระบบส่งไปยังอีเมลมาใช้เพื่อยืนยันการสมัคร
7. ตั้งรหัสผ่าน และยืนยันรหัสสผ่านอีกครั้ง เสร็จแล้วคลิก ลงทะเบียน เป็นอันเสร็จสิ้นสามารถ Login เข้าใช้งานได้เลย
8. ทำการ Login ด้วยเลขบัตรประชาชนและรหัสผ่านที่ตั้งไว้ จากนั้นเลือกช่วงเวลาที่ต้องการตรวจสอบใบสั่งค้างชำระ กรอก ทะเบียนรถ เลขที่ใบสั่ง กดค้นหาหากมีใบสั่งขึ้นมาในระบบแสดงว่ามีใบสั่งค้างชำระ แต่หากไม่มีการค้างชำระ ระบบจะแจ้งว่าไม่พบข้อมูลใบสั่งในระบบ
วิธีจ่ายเงินค่าปรับใบสั่งจราจร

ภาพจาก igorykor / Shutterstock.com
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
- หรือสามารถสอบถามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) หมายเลขโทรศัพท์ 1197