x close

พูดถึง “พลังงาน” คุณรู้จักกันดีแค่ไหน ?

            เพราะ “พลังงาน” เป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด มาวัดกึ๋นกันสักนิดว่าคุณรู้จักพลังงานดีแค่ไหน ผ่านเกมจับคู่ทดสอบสกิลง่าย ๆ นี้เลย !
             เรามักจะได้ยินคนพูดถึงเรื่องพลังงานกันบ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นความเกี่ยวข้องของมนุษย์ที่ต้องใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน นวัตกรรม ไปจนถึงรูปแบบและวิธีการในการอนุรักษ์ อย่างไรก็ตาม ด้วยความหลากหลายและซับซ้อนทำให้หลายคนอาจจะยังรู้จักกับพลังงานต่าง ๆ แค่เพียงผิวเผินเท่านั้น วันนี้เราเลยจะชวนมาทดสอบความสามารถของทุกคน โดยให้ลองจับคู่พลังงานที่คิดว่ามีความเกี่ยวข้องกันให้ถูกต้อง แล้วจะได้รู้กันไปเลยว่า พลังงานทั่วไปที่เราพบเจอในทุก ๆ วัน เช่น ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ พลังงานชีวภาพ พลังงานชีวมวล คืออะไร และเรารู้จักดีแค่ไหน ?
ปตท.

           ได้คำตอบในใจกันหรือยังเอ่ย ? พลังงานต่าง ๆ เหล่านี้ที่ยกตัวอย่างมาให้ลองจับคู่ ล้วนแล้วแต่เป็นพลังงานพื้นฐานที่ใช้งานจริงในชีวิตประจำวัน แม้จะไม่ได้จับต้องหรือมองเห็นด้วยตา แต่เราทุกคนก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับมันบ้างไม่มากก็น้อย จนถือเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและควรให้ความสำคัญ มาถึงตอนนี้ไปดูเฉลยและความหมายเกี่ยวกับพลังงานที่ถูกต้องกันดีกว่า

ปตท.

           เป็นอย่างไรกันบ้าง จับคู่ถูกต้องกันไปได้กี่ข้อ ใครที่ตอบถูกทั้งหมดถือว่าเป็นตัวจริงเรื่องพลังงานเลยนะคะ ส่วนใครที่อาจจะยังตอบถูกบ้างผิดบ้าง เราลองมาทำความเข้าใจเรื่องพลังงานทั้งหมดเหล่านี้ให้ชัดเจนมากขึ้นไปพร้อม ๆ กันเลย

           เมื่อพูดถึงพลังงาน (Energy) ส่วนใหญ่เราจะรู้จักและคุ้นเคยกันในรูปแบบของเชื้อเพลิงฟอสซิล (Fossil Fuel) ที่เกิดจากการทับถมกันของซากพืช ซากสัตว์ ได้รับความร้อนจากใต้พื้นโลก เมื่อย่อยสลายจึงกลายเป็นแหล่งสะสมของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon) ขนาดใหญ่ นำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงและแหล่งกำเนิดพลังงานต่าง ๆ แต่ใช้แล้วหมดไปได้ และยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและชั้นบรรยากาศของโลกโดยตรงจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ยกตัวอย่างเช่น

ปตท.

ปิโตรเลียม (Petroleum Product)

ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นและแยกส่วนเชื้อเพลิงฟอสซิลและน้ำมันดิบ มีไฮโดรเจนและคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก นำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้หลากหลาย เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันอากาศยาน และน้ำมันเตา เป็นต้น

ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas)

เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยก๊าซมีเทน (Methane) ร้อยละ 70 ขึ้นไป รวมถึงสิ่งเจือปนอื่น ๆ เช่น โพรเพน บิวเทน เพนเทน ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน เป็นต้น เป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดและปลอดภัย 

น้ำมันดิบ (Crude Oil)

เป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่อยู่ในรูปของเหลว มีส่วนประกอบคือ คาร์บอนและไฮโดรเจน เป็นน้ำมันที่ได้จากแท่นขุดเจาะ ต้องผ่านกระบวนการกลั่นและแยกส่วนก่อนนำไปใช้งาน โดยน้ำมันดิบจากแต่ละแหล่งก็มีคุณภาพต่างกัน ทำให้ราคาไม่เท่ากัน ซึ่งจะถูกกำหนดราคาตลาดโดยกลุ่มโอเปก ซึ่งถือเป็นแหล่งปิโตรเลียมที่ใหญ่และสําคัญของโลก นอกจากนี้ยังมีแหล่งปิโตรเลียมใหม่ ๆ ที่มีขนาดใหญ่และสําคัญ เช่น ในทะเลเหนือ ทวีปยุโรป ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยนั้นคือ แหล่งน้ำมันสิริกิติ์ จังหวัดกำแพงเพชร และแหล่งน้ำมันดิบวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์

พลังงานชีวภาพและพลังงานชีวมวล (Biogas Energy / Biomass Energy)

​​​​​​​​​​​เกิดจากการย่อยสลายวัตถุชีวภาพ เช่น ซากพืช มูลสัตว์ ในสภาพแวดล้อมไร้ออกซิเจน จนเกิดเป็นก๊าซที่สามารถนำไปผลิตไฟฟ้าได้ ส่วนพลังงานชีวมวลได้จากการแปรรูปวัตถุชีวภาพ เช่น การเผาเชื้อเพลิงชีวมวล (Biofuel) เพื่อแปรรูปและนำไปผลิตกระแสไฟฟ้าได้

ปตท.

หลายคนคงจะพอเข้าใจและรู้จัก “พลังงาน” กันมากขึ้นกว่าเดิมแล้ว ซึ่งถือเป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราควรให้ความสำคัญและเอาใจใส่อยู่เสมอ ไปจนถึงการอนุรักษ์พลังงาน ที่ทุกคนสามารถเริ่มต้นได้จากเรื่องง่าย ๆ เช่น ปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งหลังการใช้งาน การเปิดหน้าต่างรับลมให้ระบายความร้อน การหันมาใช้แผงโซลาร์เซลล์ช่วยประหยัดไฟ ตลอดจนการประหยัดน้ำมันด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น หมั่นตรวจเช็กสภาพรถยนต์ก่อนเดินทาง ใช้ความเร็วให้คงที่ หรือหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก บรรเทาภาวะโลกร้อนได้

ทั้งนี้ การหาข้อมูลหรือเรื่องราวที่น่าสนใจของพลังงานมาศึกษาไว้เป็นความรู้ ก็ถือเป็นเรื่องที่ดีไม่น้อย ไม่จำกัดว่าจะต้องเป็นคนที่ทำงานเฉพาะงานสายนี้เท่านั้น ว่าแล้วมาค้นหา “คำตอบกับเรื่องของพลังงานที่ถูกถามบ่อยที่สุด” ได้ที่แอปพลิเคชัน PTT Insight รวมไปถึงรายละเอียดการดำเนินธุรกิจของกลุ่ม ปตท. ที่ใช้งานง่าย ๆ ผ่าน Infographic แชร์ข้อมูลให้กับเพื่อน ๆ ได้รวดเร็ว สามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ iOS และ Android หลังจากนี้เรื่องเกี่ยวกับพลังงานก็จะกลายเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายมากขึ้น !

ปตท.

ขอบคุณข้อมูลจาก : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน), education.nationalgeographic.org, eia.gov (1), eia.gov (2), britannica.com, usgs.gov, egat.co
เรื่องที่คุณอาจสนใจ
พูดถึง “พลังงาน” คุณรู้จักกันดีแค่ไหน ? อัปเดตล่าสุด 6 กรกฎาคม 2565 เวลา 08:49:09 3,724 อ่าน
TOP