ม.จ.จุลเจิม ยุคล โพสต์ขอ 20,000 เสียงสนับสนุน เปลี่ยนชื่อสนามศุภชลาศัย เป็นสนามสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พร้อมประวัติความเป็นมา จากวังวินด์เซอร์ สู่สนามกีฬาแห่งชาติที่สร้างขึ้นจากคณะราษฎร
วันที่ 3 กรกฎาคม 2565 มีรายงานว่า หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก จุลเจิม ยุคล เกี่ยวกับการขอเสียงสนับสนุนให้เปลี่ยนชื่อสนามศุภชลาศัย ระบุว่า...
"ขอสัก 20,000 เสียงสนับสนุน เพื่อเสนอรัฐบาลว่า สนามกีฬาแห่งชาติ ศุภชลาศัย ควรเปลี่ยนชื่อเป็น สนามสมเด็จ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ดีไหมครับ ?" ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมากในโลกออนไลน์ ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย รวมถึงสงสัยถึงประวิตความเป็นมาเหตุใดถึงต้องการเปลี่ยนชื่อ
สำหรับประวัติ สนามศุภชลาศัย หรือ สนามกีฬาแห่งชาติ เป็นสนามกีฬาหลักของกรีฑาสถานแห่งชาติ มีลู่วิ่งสังเคราะห์ สำหรับจัดการแข่งขันกรีฑา ใช้ในการแข่งขันกีฬานัดสำคัญ มีหลังคาหนึ่งด้าน พร้อมทั้งอัฒจันทร์โดยรอบ ปัจจุบันมีความจุผู้ชมรวม 35,000 ที่นั่ง มีชื่อเดิมว่า สนามกรีฑาสถาน ต่อมาเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2484 กรมพลศึกษาเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบัน
ความเป็นมาจาก วังวินด์เซอร์ สู่สนามกีฬาแห่งชาติ ที่สร้างขึ้นโดยบุคคลสำคัญจากคณะราษฎร
วังวินด์เซอร์ หรือที่รู้จักในชื่อ วังประทุมวัน, วังกลางทุ่ง หรือ วังใหม่ เป็นวังที่สร้างขึ้นโดยพระประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ที่พระราชทานเป็นสถานที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สยามมกุฎราชกุมารองค์แรกแห่งสยามประเทศ
ตั้งอยู่บริเวณทุ่งประทุมวัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตวังออกนอกเขตพระนคร จึงเป็นเหตุให้เรียกชื่อ วังกลางทุ่ง โดยวังถูกสร้างในปี 2424 โดยรัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงก่อพระฤกษ์ด้วยพระองค์เอง วังใหม่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสผืนใหญ่ มีคูน้ำล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ด้านเหนือจดถนนสระปทุม เยื้องกับวังของพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ
ส่วนตัวตำหนักอยู่กึ่งกลางพื้นที่ มีทางเข้าจากถนนสระปทุมตรงเข้าไปสู่ตัวตำหนัก ลักษณะอาคารเป็นแบบวิกตอเรียนกอธิค (Victorian Gothic) คืออาคารอย่างฝรั่งในสมัยครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่ใช้รูปแบบส่วนประดับสถาปัตยกรรมกอธิค จนฝรั่งในกรุงเทพฯ สมัยนั้นพากันเรียกอาคารนี้ว่าวังวินด์เซอร์ (Windsor Palace) ตามอย่างพระราชวังวินด์เซอร์ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมบางส่วนคล้ายกัน
หลังจากสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ สวรรคตเมื่อปี 2437 วังใหม่ที่ปทุมวันน่าจะถูกทิ้งร้าง ก่อนที่จะได้รับพระบรมราชานุญาตให้หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ใช้ อย่างเช่นเป็นโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการ
![สนามศุภชลาศัย สนามศุภชลาศัย]()
ภาพจาก AsiaTravel / Shutterstock.com
ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระบรมราชโองการให้สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้พระราชทานที่ดินบริเวณปทุมวัน ซึ่งรวมพื้นที่วังใหม่ 1,000 กว่าไร่ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2477 นาวาโท หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) อธิบดีกรมพลศึกษา ผู้เป็นสมาชิกคนสำคัญในคณะราษฎร ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างสนามกรีฑาสถานและโรงเรียนพลศึกษากลางขึ้นที่บริเวณวังใหม่ และในวันที่ 18 ธันวาคม 2479 หลวงศุภชลาศัยได้ลงนามในหนังสือสัญญารื้อตึกวังใหม่ ร่วมกับนายหงุย ผู้รับเหมาเชื้อชาติจีนกวางตุ้งในบังคับสยาม โดยสัญญาว่าจะรื้อตำหนักลงภายใน 2 เดือน
การก่อสร้างสนามกรีฑาสถานเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2480 โดยส่วนแรกทำเป็นอัฒจันทร์คอนกรีตเสริมเหล็ก 4,000 ที่นั่ง ซึ่งแล้วเสร็จและเปิดใช้ได้ในปี 2481 สำหรับการแข่งขันกีฬานักเรียน และการก่อสร้างได้ดำเนินต่อมาอีก 3 ปี จนเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2485 สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ เพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงศุภชลาศัยสืบไป
ขอบคุณข้อมูลจาก silpa-mag.com, wikipedia
วันที่ 3 กรกฎาคม 2565 มีรายงานว่า หม่อมเจ้าจุลเจิม ยุคล นายทหารพิเศษ ประจำกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก จุลเจิม ยุคล เกี่ยวกับการขอเสียงสนับสนุนให้เปลี่ยนชื่อสนามศุภชลาศัย ระบุว่า...
"ขอสัก 20,000 เสียงสนับสนุน เพื่อเสนอรัฐบาลว่า สนามกีฬาแห่งชาติ ศุภชลาศัย ควรเปลี่ยนชื่อเป็น สนามสมเด็จ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ ดีไหมครับ ?" ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์จำนวนมากในโลกออนไลน์ ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย รวมถึงสงสัยถึงประวิตความเป็นมาเหตุใดถึงต้องการเปลี่ยนชื่อ

สำหรับประวัติ สนามศุภชลาศัย หรือ สนามกีฬาแห่งชาติ เป็นสนามกีฬาหลักของกรีฑาสถานแห่งชาติ มีลู่วิ่งสังเคราะห์ สำหรับจัดการแข่งขันกรีฑา ใช้ในการแข่งขันกีฬานัดสำคัญ มีหลังคาหนึ่งด้าน พร้อมทั้งอัฒจันทร์โดยรอบ ปัจจุบันมีความจุผู้ชมรวม 35,000 ที่นั่ง มีชื่อเดิมว่า สนามกรีฑาสถาน ต่อมาเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2484 กรมพลศึกษาเปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบัน
ความเป็นมาจาก วังวินด์เซอร์ สู่สนามกีฬาแห่งชาติ ที่สร้างขึ้นโดยบุคคลสำคัญจากคณะราษฎร
วังวินด์เซอร์ หรือที่รู้จักในชื่อ วังประทุมวัน, วังกลางทุ่ง หรือ วังใหม่ เป็นวังที่สร้างขึ้นโดยพระประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ที่พระราชทานเป็นสถานที่ประทับของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร สยามมกุฎราชกุมารองค์แรกแห่งสยามประเทศ
ตั้งอยู่บริเวณทุ่งประทุมวัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตวังออกนอกเขตพระนคร จึงเป็นเหตุให้เรียกชื่อ วังกลางทุ่ง โดยวังถูกสร้างในปี 2424 โดยรัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินไปทรงก่อพระฤกษ์ด้วยพระองค์เอง วังใหม่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสผืนใหญ่ มีคูน้ำล้อมรอบทั้งสี่ด้าน ด้านเหนือจดถนนสระปทุม เยื้องกับวังของพระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ
ส่วนตัวตำหนักอยู่กึ่งกลางพื้นที่ มีทางเข้าจากถนนสระปทุมตรงเข้าไปสู่ตัวตำหนัก ลักษณะอาคารเป็นแบบวิกตอเรียนกอธิค (Victorian Gothic) คืออาคารอย่างฝรั่งในสมัยครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 ที่ใช้รูปแบบส่วนประดับสถาปัตยกรรมกอธิค จนฝรั่งในกรุงเทพฯ สมัยนั้นพากันเรียกอาคารนี้ว่าวังวินด์เซอร์ (Windsor Palace) ตามอย่างพระราชวังวินด์เซอร์ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีรูปแบบสถาปัตยกรรมบางส่วนคล้ายกัน
หลังจากสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศฯ สวรรคตเมื่อปี 2437 วังใหม่ที่ปทุมวันน่าจะถูกทิ้งร้าง ก่อนที่จะได้รับพระบรมราชานุญาตให้หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ใช้ อย่างเช่นเป็นโรงเรียนกระทรวงเกษตราธิการ

ภาพจาก AsiaTravel / Shutterstock.com
ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระบรมราชโองการให้สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้พระราชทานที่ดินบริเวณปทุมวัน ซึ่งรวมพื้นที่วังใหม่ 1,000 กว่าไร่ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2477 นาวาโท หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) อธิบดีกรมพลศึกษา ผู้เป็นสมาชิกคนสำคัญในคณะราษฎร ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสร้างสนามกรีฑาสถานและโรงเรียนพลศึกษากลางขึ้นที่บริเวณวังใหม่ และในวันที่ 18 ธันวาคม 2479 หลวงศุภชลาศัยได้ลงนามในหนังสือสัญญารื้อตึกวังใหม่ ร่วมกับนายหงุย ผู้รับเหมาเชื้อชาติจีนกวางตุ้งในบังคับสยาม โดยสัญญาว่าจะรื้อตำหนักลงภายใน 2 เดือน
การก่อสร้างสนามกรีฑาสถานเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2480 โดยส่วนแรกทำเป็นอัฒจันทร์คอนกรีตเสริมเหล็ก 4,000 ที่นั่ง ซึ่งแล้วเสร็จและเปิดใช้ได้ในปี 2481 สำหรับการแข่งขันกีฬานักเรียน และการก่อสร้างได้ดำเนินต่อมาอีก 3 ปี จนเสร็จสมบูรณ์ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2485 สนามศุภชลาศัย กรีฑาสถานแห่งชาติ เพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงศุภชลาศัยสืบไป
ขอบคุณข้อมูลจาก silpa-mag.com, wikipedia