ดราม่าภาษาไทย เด็กรุ่นใหม่ไม่รู้จักคำว่า เหยเก - ระเรื่อ บอกเป็นศัพท์ยากไม่ควรมีในนิยาย เจอรุ่นใหญ่จวกยับ แยกให้ออกระหว่างคำยาก กับ คลังคำศัพท์น้อย บางคนถึงขั้นไม่รู้จักคำว่า สุนัขไม่รับประทาน
วันที่ 7 กรกฎาคม 2565 โลกออนไลน์พากันพูดถึงกรณีน่าเป็นห่วง เนื่องจากวัยรุ่นไทยสมัยใหม่หลายคนไม่ค่อยทราบความหมายที่แท้จริงของคำศัพท์ไทยหลายคำ จนเกิดความกังวลว่าในอนาคตภาษาไทยจะวิบัติไปแค่ไหน เนื่องจากบางคำศัพท์ง่าย ๆ เด็กก็ไม่รู้จัก
เริ่มต้นจากนักเขียนนิยาย @Aleczan มีการทวีตข้อความว่า หนังสือรูปแบบต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องเน้นให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายทันที 100% เพราะหนังสือสามารถสอดแทรกคำที่ผู้อ่านอาจไม่รู้อยู่ในนั้นได้ เพื่อให้ไปตามหาความหมายกันต่อ
จากนั้นมีหนุ่มวัยรุ่นรายหนึ่งแสดงความคิดเห็นว่า หนังสือบางเรื่องใช้คำศัพท์ยากเกินความจำเป็น อย่างนิยายของมหาเวทย์ เช่นคำว่า เหยเก ระเรื่อ ฯลฯ จึงเกิดเป็นประเด็นขึ้นมาทันที เพราะหลายคนอึ้งที่เด็กรุ่นใหม่ไม่รู้จักคำดังกล่าว
นักเขียนนิยายจึงโพสต์อีกครั้งว่า ถ้าคำว่า "เหยเก" กับ "ระเรื่อ" เป็นคำศัพท์ยากเกินจำเป็นและไม่ควรมีในหนังสือหรือมังงะ วันดีคืนดีคนคงมาบ่นว่าอ่านนิยายของเรา คงจะได้เอาเท้าก่ายหน้าผาก แต่คำว่า ระเรื่อ อาจจะยากนิดหน่อยเพราะเป็นคำอัพภาส (คำที่ใช้พยัญชนะซ้ำ ออกเสียงซ้ำกัน)
โลกออนไลน์อึ้ง เหยเก - ระเรื่อ ยังไม่เข้าใจความหมาย อ่านไม่หลากหลาย ครูภาษาไทยร้องไห้แล้ว
ต่อมามีชาวเน็ตแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก มีทั้งมองว่าเป็นคำยากจริง ๆ หรือมองว่าเป็นคำที่ยังใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน รวมถึงยกตัวอย่างคำศัพท์อื่น ๆ ที่วัยรุ่นสมัยนี้ไม่ทราบความหมายกัน
มีคนมองว่า คนที่บอกว่า เหยเก กับ ระเรื่อ เป็นศัพท์ยาก อาจเป็นเพราะเขาไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อน ถ้าในมังงะไม่ค่อยมีอยู่แล้ว แต่ในนิยายจะมีเยอะมากเลย ใช้เพื่อบรรยายสีหน้าตัวละคร ไม่รู้ว่ากลายเป็นศัพท์ยากไปได้อย่างไร คงเป็นเพราะอ่านน้อย อ่านไม่หลากหลาย ต้องแยกระหว่างคำยากกับคลังคำศัพท์ของตัวเองน้อยให้ออก ไม่อย่างนั้นครูภาษาไทยมาเห็นคงร้องไห้แน่เลย
ที่มองว่าเป็นคำยาก คงเพราะเห็นแล้วไม่อยากคิดหาความหมายของมัน ยุคสมัยแห่งความง่ายและความรวดเร็ว จนไม่ได้สัมผัสความงดงามของภาษาไทยกันแล้ว ยังมีคำศัพท์ที่น่าจะยากกว่านี้เยอะ เช่น สำรวย พนาสณฑ์ หรือสำนวนที่ว่า รวดเร็วปานกามนิตหนุ่ม การใช้คำศัพท์ยาก ๆ เป็นการโชว์สกิลทั้งคนเขียนและคนอ่านหนังสือเล่มนั้น ๆ เด็กบางคนไม่รู้จักแม้กระทั่งคำว่า สุนัขไม่รับประทาน หรือคำว่า กระต่ายขาเดียว
อีกด้านชี้ คำศัพท์เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ศัพท์บางอย่าง คนรุ่นเก่าไม่รู้ความหมายก็มี
ขณะที่อีกด้านมองว่าเวลาเปลี่ยนไป อะไร ๆ ก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การใช้ภาษาและคำพูดโดยทั่วไปก็ย่อมเปลี่ยน ปัจจุบันไม่ได้กำหนดเพศตามกายภาพแล้ว จึงเกิดเป็นพลวัตทางภาษาให้แปรเปลี่ยนเป็นสิ่งใหม่ตลอดเวลา จึงไม่ควรไปยึดติด พร้อมยกตัวอย่างเช่น เด็กรุ่นก่อนอาจจะมองว่าคำว่า สำมะเลเทเมา โกโรโกโส คู่ตุนาหงัน พินอบพิเทา เป็นคำศัพท์ที่ยาก แต่เด็กรุ่นใหม่จะเข้าใจศัพท์อื่น ๆ เช่น Non-binary (คนที่ไม่ได้มองว่าตัวเองจำกัดอยู่แค่เพศชายหรือเพศหญิง), ปิตาธิปไตย ชายเป็นใหญ่, Genderfluid (ความลื่นไหลทางเพศ), หอคอยงาช้าง ซึ่งคำเหล่านี้ คนรุ่นก่อน ๆ อาจจะไม่เข้าใจความหมาย หรือเข้าใจไม่ถูกต้องก็มีเหมือนกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก ทวิตเตอร์ @Aleczan
วันที่ 7 กรกฎาคม 2565 โลกออนไลน์พากันพูดถึงกรณีน่าเป็นห่วง เนื่องจากวัยรุ่นไทยสมัยใหม่หลายคนไม่ค่อยทราบความหมายที่แท้จริงของคำศัพท์ไทยหลายคำ จนเกิดความกังวลว่าในอนาคตภาษาไทยจะวิบัติไปแค่ไหน เนื่องจากบางคำศัพท์ง่าย ๆ เด็กก็ไม่รู้จัก
เริ่มต้นจากนักเขียนนิยาย @Aleczan มีการทวีตข้อความว่า หนังสือรูปแบบต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องเน้นให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายทันที 100% เพราะหนังสือสามารถสอดแทรกคำที่ผู้อ่านอาจไม่รู้อยู่ในนั้นได้ เพื่อให้ไปตามหาความหมายกันต่อ
จากนั้นมีหนุ่มวัยรุ่นรายหนึ่งแสดงความคิดเห็นว่า หนังสือบางเรื่องใช้คำศัพท์ยากเกินความจำเป็น อย่างนิยายของมหาเวทย์ เช่นคำว่า เหยเก ระเรื่อ ฯลฯ จึงเกิดเป็นประเด็นขึ้นมาทันที เพราะหลายคนอึ้งที่เด็กรุ่นใหม่ไม่รู้จักคำดังกล่าว
นักเขียนนิยายจึงโพสต์อีกครั้งว่า ถ้าคำว่า "เหยเก" กับ "ระเรื่อ" เป็นคำศัพท์ยากเกินจำเป็นและไม่ควรมีในหนังสือหรือมังงะ วันดีคืนดีคนคงมาบ่นว่าอ่านนิยายของเรา คงจะได้เอาเท้าก่ายหน้าผาก แต่คำว่า ระเรื่อ อาจจะยากนิดหน่อยเพราะเป็นคำอัพภาส (คำที่ใช้พยัญชนะซ้ำ ออกเสียงซ้ำกัน)
ต่อมามีชาวเน็ตแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก มีทั้งมองว่าเป็นคำยากจริง ๆ หรือมองว่าเป็นคำที่ยังใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน รวมถึงยกตัวอย่างคำศัพท์อื่น ๆ ที่วัยรุ่นสมัยนี้ไม่ทราบความหมายกัน
มีคนมองว่า คนที่บอกว่า เหยเก กับ ระเรื่อ เป็นศัพท์ยาก อาจเป็นเพราะเขาไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยินคำนี้มาก่อน ถ้าในมังงะไม่ค่อยมีอยู่แล้ว แต่ในนิยายจะมีเยอะมากเลย ใช้เพื่อบรรยายสีหน้าตัวละคร ไม่รู้ว่ากลายเป็นศัพท์ยากไปได้อย่างไร คงเป็นเพราะอ่านน้อย อ่านไม่หลากหลาย ต้องแยกระหว่างคำยากกับคลังคำศัพท์ของตัวเองน้อยให้ออก ไม่อย่างนั้นครูภาษาไทยมาเห็นคงร้องไห้แน่เลย
ที่มองว่าเป็นคำยาก คงเพราะเห็นแล้วไม่อยากคิดหาความหมายของมัน ยุคสมัยแห่งความง่ายและความรวดเร็ว จนไม่ได้สัมผัสความงดงามของภาษาไทยกันแล้ว ยังมีคำศัพท์ที่น่าจะยากกว่านี้เยอะ เช่น สำรวย พนาสณฑ์ หรือสำนวนที่ว่า รวดเร็วปานกามนิตหนุ่ม การใช้คำศัพท์ยาก ๆ เป็นการโชว์สกิลทั้งคนเขียนและคนอ่านหนังสือเล่มนั้น ๆ เด็กบางคนไม่รู้จักแม้กระทั่งคำว่า สุนัขไม่รับประทาน หรือคำว่า กระต่ายขาเดียว
อีกด้านชี้ คำศัพท์เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ศัพท์บางอย่าง คนรุ่นเก่าไม่รู้ความหมายก็มี
ขณะที่อีกด้านมองว่าเวลาเปลี่ยนไป อะไร ๆ ก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย การใช้ภาษาและคำพูดโดยทั่วไปก็ย่อมเปลี่ยน ปัจจุบันไม่ได้กำหนดเพศตามกายภาพแล้ว จึงเกิดเป็นพลวัตทางภาษาให้แปรเปลี่ยนเป็นสิ่งใหม่ตลอดเวลา จึงไม่ควรไปยึดติด พร้อมยกตัวอย่างเช่น เด็กรุ่นก่อนอาจจะมองว่าคำว่า สำมะเลเทเมา โกโรโกโส คู่ตุนาหงัน พินอบพิเทา เป็นคำศัพท์ที่ยาก แต่เด็กรุ่นใหม่จะเข้าใจศัพท์อื่น ๆ เช่น Non-binary (คนที่ไม่ได้มองว่าตัวเองจำกัดอยู่แค่เพศชายหรือเพศหญิง), ปิตาธิปไตย ชายเป็นใหญ่, Genderfluid (ความลื่นไหลทางเพศ), หอคอยงาช้าง ซึ่งคำเหล่านี้ คนรุ่นก่อน ๆ อาจจะไม่เข้าใจความหมาย หรือเข้าใจไม่ถูกต้องก็มีเหมือนกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก ทวิตเตอร์ @Aleczan