ต๊ะ นารากร โพสต์รูปถ่ายโลมานอนตาย อ้างสาเหตุเพราะ CSR ปลูกป่าชายเลน คนแห่ดราม่าหาตัวคนรับผิดชอบ แต่อีกมุมชี้อาจไม่เกี่ยวกับ CSR สรุปยังไงกันแน่
ภาพจาก นารากร ติยายน
วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ต๊ะ นารากร ติยายน ได้มีการโพสต์เฟซบุ๊ก เปิดเผยภาพโลมานอนตายที่ป่าชายเลนบางขุนเทียน พร้อมระบุสาเหตุที่โลมาตาย เพราะเข้ามาหากินปลาดุกในแนวไม้ไผ่ตอนกลางคืน ที่มีระดับน้ำขึ้นสูงเลยแนวไม้ไผ่ที่บริษัทต่าง ๆ มาทำกิจกรรม CSR ปลูกป่าชายเลน แต่พอตอนเช้าเมื่อระดับน้ำลด ทำให้โลมาติดอยู่ในแนวไม้ไผ่ ไม่สามารถว่ายน้ำออกไปได้จนต้องตายแบบนี้
โดยต๊ะ นารากร กล่าวว่า ตนต้องการให้บริษัทต่าง ๆ หยุดทำ CSR ปลูกป่าชายเลน เป็นต้นเหตุทำโลมาตาย เพราะการทำกิจกรรมปลูกป่าชายเลน จะมีการปักไม้ไผ่เป็นแนว บริษัทที่มาทำ CSR ปลูกป่า พอมาถึงก็จะถ่ายรูปสำหรับการ PR เสร็จแล้วก็กลับ ทิ้งแนวไม้ไผ่ที่ปักไว้ จนเป็นต้นเหตุของการตายของโลมา
ภาพจาก นารากร ติยายน
เบื้องต้น ชาวบางขุนเทียนเสนอว่า ให้ ททท. ในพื้นที่ เข้ามาจัดระเบียบแนวไม้ไผ่ CSR ตามระดับน้ำขึ้นน้ำลง ให้โลมาว่ายหลบไปได้ หรือล้อมพื้นที่สำหรับการทำ CSR เพื่อป้องกันไม่ให้โลมาว่ายเข้ามาติดกับดักอีก
คนถกสนั่น ทั้งต่อว่าทำ CSR แต่ไร้การรับผิดชอบ อีกมุมชี้แนวไม้ไผ่ไม่ใช่ต้นเหตุที่แท้จริง สวนกลับว่าโพสต์มั่ว ๆ ทั้งที่ไม่รู้ความจริง
ภาพจาก นารากร ติยายน
ทั้งนี้ โพสต์ดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทันที พบว่ามีความเห็นหนึ่งอ้างว่าชาวบ้านในพื้นที่บอกว่า โลมาตัวที่ตายนี้เป็นตันที่ 3 แล้ว และก็มีหลายเสียงเข้ามาต่อว่ากลุ่มบริษัทต่าง ๆ ที่ทำ CSR ลักษณะนี้ จนทำให้โลมาต้องตาย สลดใจมากที่คิดแค่การสร้างภาพ พร้อมเรียกร้องให้บริษัทต่าง ๆ ที่ทำ ต้องออกมารับผิดชอบกับเหตุการณ์ครั้งนี้
ทว่า ก็มีอีกมุมความเห็นระบุว่า อย่าเพิ่งต่อว่าจนเสียหาย เพราะก็ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันชัดเจนว่าโลมาตายเพราะติดแนวไม้ไผ่ อย่าเพิ่งกล่าวหาว่าเป็นเพราะหน่วยงานมาทำ CSR เพื่อสร้างภาพ จนทำให้โลมาตาย ต้องวางอคติลงก่อน เพราะพบว่าแนวไม้ไผ่กั้นคลื่นสมัยนี้ทำโดยชาวบ้าน ชุมชน หรือหน่วยงานภาครัฐทำตามมติชุมชนทั้งนั้น แทบไม่มีใครไปปักเอง อย่างน้อยต้องผ่าน อบต. หรือเทศบาลก่อน และส่วนใหญ่แนวกันไม้ไผ่ก็ไม่ได้ทำยาวแบบสุดลูกหูลูกตา มันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากเป็นสาเหตุที่ทำให้โลมาตายจริง ก็ต้องหาวิธีป้องกัน และแก้ไข ด่าไปก็ไม่ได้ช่วยอะไร
รวมถึงมีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โลมาในภาพทางเจ้าหน้าที่ของเขตที่ดูแลดึงตัวมาจากอีกทาง เพื่อรอให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเข้ามาตรวจสอบ ยังไม่มีการยืนยันว่าโลมาตายเพราะติดแนวไม่ไผ่ ก่อนตำหนิว่า ไม่ควรโพสต์เนื้อหาให้คนเข้าใจผิดกันแบบนี้ และอ้างด้วยว่าหลายครั้งที่โลมาในพื้นที่ตายเพราะกลุ่มชาวประมงแอบลักลอบเข้าไปลากอวน พอเจอโลมาติดอวนก็จับโยนทิ้งแบบนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับป่าชายเลนหรือการทำ CSR แต่อย่างใด
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก นารากร ติยายน
ภาพจาก นารากร ติยายน
วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ต๊ะ นารากร ติยายน ได้มีการโพสต์เฟซบุ๊ก เปิดเผยภาพโลมานอนตายที่ป่าชายเลนบางขุนเทียน พร้อมระบุสาเหตุที่โลมาตาย เพราะเข้ามาหากินปลาดุกในแนวไม้ไผ่ตอนกลางคืน ที่มีระดับน้ำขึ้นสูงเลยแนวไม้ไผ่ที่บริษัทต่าง ๆ มาทำกิจกรรม CSR ปลูกป่าชายเลน แต่พอตอนเช้าเมื่อระดับน้ำลด ทำให้โลมาติดอยู่ในแนวไม้ไผ่ ไม่สามารถว่ายน้ำออกไปได้จนต้องตายแบบนี้
โดยต๊ะ นารากร กล่าวว่า ตนต้องการให้บริษัทต่าง ๆ หยุดทำ CSR ปลูกป่าชายเลน เป็นต้นเหตุทำโลมาตาย เพราะการทำกิจกรรมปลูกป่าชายเลน จะมีการปักไม้ไผ่เป็นแนว บริษัทที่มาทำ CSR ปลูกป่า พอมาถึงก็จะถ่ายรูปสำหรับการ PR เสร็จแล้วก็กลับ ทิ้งแนวไม้ไผ่ที่ปักไว้ จนเป็นต้นเหตุของการตายของโลมา
ภาพจาก นารากร ติยายน
เบื้องต้น ชาวบางขุนเทียนเสนอว่า ให้ ททท. ในพื้นที่ เข้ามาจัดระเบียบแนวไม้ไผ่ CSR ตามระดับน้ำขึ้นน้ำลง ให้โลมาว่ายหลบไปได้ หรือล้อมพื้นที่สำหรับการทำ CSR เพื่อป้องกันไม่ให้โลมาว่ายเข้ามาติดกับดักอีก
คนถกสนั่น ทั้งต่อว่าทำ CSR แต่ไร้การรับผิดชอบ อีกมุมชี้แนวไม้ไผ่ไม่ใช่ต้นเหตุที่แท้จริง สวนกลับว่าโพสต์มั่ว ๆ ทั้งที่ไม่รู้ความจริง
ภาพจาก นารากร ติยายน
ทั้งนี้ โพสต์ดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทันที พบว่ามีความเห็นหนึ่งอ้างว่าชาวบ้านในพื้นที่บอกว่า โลมาตัวที่ตายนี้เป็นตันที่ 3 แล้ว และก็มีหลายเสียงเข้ามาต่อว่ากลุ่มบริษัทต่าง ๆ ที่ทำ CSR ลักษณะนี้ จนทำให้โลมาต้องตาย สลดใจมากที่คิดแค่การสร้างภาพ พร้อมเรียกร้องให้บริษัทต่าง ๆ ที่ทำ ต้องออกมารับผิดชอบกับเหตุการณ์ครั้งนี้
ทว่า ก็มีอีกมุมความเห็นระบุว่า อย่าเพิ่งต่อว่าจนเสียหาย เพราะก็ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันชัดเจนว่าโลมาตายเพราะติดแนวไม้ไผ่ อย่าเพิ่งกล่าวหาว่าเป็นเพราะหน่วยงานมาทำ CSR เพื่อสร้างภาพ จนทำให้โลมาตาย ต้องวางอคติลงก่อน เพราะพบว่าแนวไม้ไผ่กั้นคลื่นสมัยนี้ทำโดยชาวบ้าน ชุมชน หรือหน่วยงานภาครัฐทำตามมติชุมชนทั้งนั้น แทบไม่มีใครไปปักเอง อย่างน้อยต้องผ่าน อบต. หรือเทศบาลก่อน และส่วนใหญ่แนวกันไม้ไผ่ก็ไม่ได้ทำยาวแบบสุดลูกหูลูกตา มันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากเป็นสาเหตุที่ทำให้โลมาตายจริง ก็ต้องหาวิธีป้องกัน และแก้ไข ด่าไปก็ไม่ได้ช่วยอะไร
รวมถึงมีการให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โลมาในภาพทางเจ้าหน้าที่ของเขตที่ดูแลดึงตัวมาจากอีกทาง เพื่อรอให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเข้ามาตรวจสอบ ยังไม่มีการยืนยันว่าโลมาตายเพราะติดแนวไม่ไผ่ ก่อนตำหนิว่า ไม่ควรโพสต์เนื้อหาให้คนเข้าใจผิดกันแบบนี้ และอ้างด้วยว่าหลายครั้งที่โลมาในพื้นที่ตายเพราะกลุ่มชาวประมงแอบลักลอบเข้าไปลากอวน พอเจอโลมาติดอวนก็จับโยนทิ้งแบบนี้ ไม่ได้เกี่ยวกับป่าชายเลนหรือการทำ CSR แต่อย่างใด