สาวฉะ จ้างคนดูแลแม่ป่วยอัลไซเมอร์ ให้เงินเดือน 2 หมื่น แถมกิน-อยู่ ฟรี ทำงานได้ 24 วันดันลาออก บอกเหนื่อย กินไม่อิ่ม พร้อมแจงละเอียดยิบ งานนี้โซเชียลเสียงแตก

วันที่ 20 กรกฎาคม 2565 ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์ข้อความระบายเรื่องราวของพนักงานที่ตนเองจ้างมาดูแลแม่ ซึ่งพนักงานคนนี้อายุ 21 ปี เรียนจบ ม.3 ทำงานบ้านไม่เป็น ทำกับข้าวไม่ได้ มาทำงานได้ 24 วัน แต่ขอลาออก ซึ่งเจ้าของเรื่องระบุว่าตนเองมาโพสต์เรื่องนี้จะว่าบ่นก็ได้เพราะตนอยากเข้าใจวิธีคิด
เจ้าของเรื่องเล่าว่าพนักงานคนดังกล่าวขอลาออกโดยให้เหตุผลดังนี้
1. เหนื่อย พักผ่อนไม่เพียงพอ
2. กินไม่อิ่ม ต้องการค่าข้าวเพิ่มอีกเดือนละ 3,000 บาท
ทั้งนี้งานที่ตนให้พนักงานคนนี้ทำคือดูแลแม่ตนที่เป็นอัลไซเมอร์รุนแรง จำชื่อตัวเองไม่ได้, ของบูดของที่กินไม่ได้ แม่จะเอาเข้าปากหมด แต่แม่ไม่ได้ป่วยติดเตียง นอกจากนี้ตนยังให้พนักงานคนนี้ทำกับข้าวง่าย ๆ อาบน้ำให้แม่เช้า-เย็น เปลี่ยนผ้าอ้อม พาเข้าห้องน้ำ ปอกผลไม้ให้แม่กินวันละ 2 มื้อ เจาะเลือดตรวจสอบค่าน้ำตาล และกินยาตามหมอสั่งเพราะแม่เป็นเบาหวาน พร้อมพาแม่เดินหลังอาหารครั้งละ 15 นาที
เจ้าของเรื่องอธิบายอีกว่า ในส่วนของเสื้อผ้า งานทำความสะอาดต่าง ๆ ตนจ้างแม่บ้านอีกคนทำ ซึ่งพนักงานคนนี้ไม่ต้องทำอะไรเลย แถมนอนห้องแอร์กับแม่ มีโทรทัศน์ดู มี Netflix มีอินเทอร์เน็ต เครื่องทำน้ำอุ่น ซึ่งเวลาที่แม่นอนกลางวัน หากเขาจะนอนพร้อมแม่ตนก็ไม่เคยว่า แต่พอเข้าไปดูทีไรก็เห็นแต่นั่งเล่นโทรศัพท์มือถือ
นอกจากนี้เจ้าของเรื่องยังแจกแจงวัตถุดิบที่ซื้อมาไว้ให้พนักงานคนนี้ทำอาหารกินเองทั้งข้าวสาร ไข่ไก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง เนื้อสัตว์ต่าง ๆ รวมถึงอาหารสำเร็จต่าง ๆ
แต่ทว่าพนักงานคนนี้กลับไปฟ้องนายหน้าจัดหางานว่างานหนัก ไม่ได้พักผ่อน กินไม่อิ่ม ซึ่งพนักงานคนนี้น้ำหนักประมาณ 120 กิโลกรัม ตนอยากรู้ว่าคนงานบ้านอื่นกินเยอะกว่านี้เหรอ และอยากรู้ว่าโตมายังไงโดยที่ทำงานบ้านไม่เป็น ตนเรียนจบปริญญาโท ทำงานบ้านเป็นตั้งแต่อายุ 9 ขวบ ที่ผ่านมาตนดุพนักงานคนนี้ไป 3 ครั้ง คือ
1. เปิดทีวีทิ้งไว้ถึง ตี 4 จึงบอกว่าเจอครั้งหน้าจะปรับครั้งละ 100 บาท
2. ไม่ปิดไฟหลังใช้ห้องน้ำเสร็จ จึงบอกว่าถ้าเจออีกคิดค่าปรับครั้งละ 100 บาท
3. ทิ้งให้แม่อยู่คนเดียว แต่ตัวเองไปกินข้าวกับแม่บ้านอีกคนประมาณ 30 นาที ซึ่งบอกไปแล้วว่าห้ามทำ ถ้าจะไปไหนให้สลับแม่บ้านอีกคนมาเฝ้าแม่
ขณะที่หลายความคิดเห็นมองว่าเนื้องานกับเงินเดือนนั้นดูจะไม่สัมพันธ์กันจริง ๆ เพราะการดูแลผู้ป่วยทั้งวัน ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมงนั้นหนักหนาจริง ๆ แถมเจ้าของเรื่องก็ดูจะเป็นคนละเอียดจู้จี้มาก ๆ ราคานี้ต้องจ้าง 2 คนสลับกะกันน่าจะดีกว่า หรืออาจจะจ้างพยาบาลมืออาชีพมาดูแลดีกว่าการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ต้องอาศัยคนที่รักในงานจริง ๆ และแน่นอนว่าต้องมีการรบกวนเวลานอนแน่ ๆ เพราะคนแก่ชอบตื่นเช้าทำให้คนดูแลได้พักผ่อนน้อยจริง ๆ
เท่าที่ดูแล้วเป็นงานหนักมาก ๆ หนักกว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียง อาจจะต้องหาลูกจ้างแบบไปเช้าเย็นกลับให้มีเวลาส่วนตัวบ้าง การให้มาอยู่แบบนี้จะทำให้ลูกจ้างเครียดเกินไป
ขณะที่บางความคิดเห็นระบุว่าเข้าใจในฐานะนายจ้าง ซึ่งลูกจ้างต้องเข้าใจงานตัวเองก่อนจะมาอยู่สายงานนี้ ซึ่งเรื่องนี้ค่อนข้างที่จะซับซ้อนที่จะมาถกกันว่าเป็นการเอาเปรียบหรือไม่ พร้อมแนะนำให้เปลี่ยนลูกจ้าง เพราะจากที่ดูเจ้าของเรื่องเล่ามาแล้วเหมือนลูกจ้างคนนี้ทำงานไปวัน ๆ หวังจะได้อย่างเดียว ไม่รักงาน
ส่วนเรื่องการกินของลูกจ้างนั้นมองว่ากินเยอะมาก และน้ำหนักตัวขนาดนั้นคงไม่เหมาะในการจ้างมาดูแลคนป่วย เพราะไม่น่าจะคล่องตัว น่าจะต้องแยกเรื่องกินไปเลย โดยจะให้เพิ่มเป็นเงินเดือนก็ได้แต่ให้เขาไปบริหารจัดการเอง และห้ามกินของที่บ้านนอกจากนายจ้างจะเป็นคนให้เอง แนะนำให้เขียนหน้าที่และเช็กลิสต์ให้ชัดเจนว่าลูกจ้างควรทำ หรือไม่ควรทำอะไรบ้างเวลาผิดขึ้นมาจะได้เห็นชัดเจน
![โพสต์ โพสต์]()
![คอมเมนต์ คอมเมนต์]()
![คอมเมนต์ คอมเมนต์]()
![คอมเมนต์ คอมเมนต์]()
![คอมเมนต์ คอมเมนต์]()
![คอมเมนต์ คอมเมนต์]()
![คอมเมนต์ คอมเมนต์]()

เจ้าของเรื่องเล่าว่าพนักงานคนดังกล่าวขอลาออกโดยให้เหตุผลดังนี้
1. เหนื่อย พักผ่อนไม่เพียงพอ
2. กินไม่อิ่ม ต้องการค่าข้าวเพิ่มอีกเดือนละ 3,000 บาท
ทั้งนี้งานที่ตนให้พนักงานคนนี้ทำคือดูแลแม่ตนที่เป็นอัลไซเมอร์รุนแรง จำชื่อตัวเองไม่ได้, ของบูดของที่กินไม่ได้ แม่จะเอาเข้าปากหมด แต่แม่ไม่ได้ป่วยติดเตียง นอกจากนี้ตนยังให้พนักงานคนนี้ทำกับข้าวง่าย ๆ อาบน้ำให้แม่เช้า-เย็น เปลี่ยนผ้าอ้อม พาเข้าห้องน้ำ ปอกผลไม้ให้แม่กินวันละ 2 มื้อ เจาะเลือดตรวจสอบค่าน้ำตาล และกินยาตามหมอสั่งเพราะแม่เป็นเบาหวาน พร้อมพาแม่เดินหลังอาหารครั้งละ 15 นาที
เจ้าของเรื่องอธิบายอีกว่า ในส่วนของเสื้อผ้า งานทำความสะอาดต่าง ๆ ตนจ้างแม่บ้านอีกคนทำ ซึ่งพนักงานคนนี้ไม่ต้องทำอะไรเลย แถมนอนห้องแอร์กับแม่ มีโทรทัศน์ดู มี Netflix มีอินเทอร์เน็ต เครื่องทำน้ำอุ่น ซึ่งเวลาที่แม่นอนกลางวัน หากเขาจะนอนพร้อมแม่ตนก็ไม่เคยว่า แต่พอเข้าไปดูทีไรก็เห็นแต่นั่งเล่นโทรศัพท์มือถือ
นอกจากนี้เจ้าของเรื่องยังแจกแจงวัตถุดิบที่ซื้อมาไว้ให้พนักงานคนนี้ทำอาหารกินเองทั้งข้าวสาร ไข่ไก่ บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง เนื้อสัตว์ต่าง ๆ รวมถึงอาหารสำเร็จต่าง ๆ
แต่ทว่าพนักงานคนนี้กลับไปฟ้องนายหน้าจัดหางานว่างานหนัก ไม่ได้พักผ่อน กินไม่อิ่ม ซึ่งพนักงานคนนี้น้ำหนักประมาณ 120 กิโลกรัม ตนอยากรู้ว่าคนงานบ้านอื่นกินเยอะกว่านี้เหรอ และอยากรู้ว่าโตมายังไงโดยที่ทำงานบ้านไม่เป็น ตนเรียนจบปริญญาโท ทำงานบ้านเป็นตั้งแต่อายุ 9 ขวบ ที่ผ่านมาตนดุพนักงานคนนี้ไป 3 ครั้ง คือ
1. เปิดทีวีทิ้งไว้ถึง ตี 4 จึงบอกว่าเจอครั้งหน้าจะปรับครั้งละ 100 บาท
2. ไม่ปิดไฟหลังใช้ห้องน้ำเสร็จ จึงบอกว่าถ้าเจออีกคิดค่าปรับครั้งละ 100 บาท
3. ทิ้งให้แม่อยู่คนเดียว แต่ตัวเองไปกินข้าวกับแม่บ้านอีกคนประมาณ 30 นาที ซึ่งบอกไปแล้วว่าห้ามทำ ถ้าจะไปไหนให้สลับแม่บ้านอีกคนมาเฝ้าแม่
ขณะที่หลายความคิดเห็นมองว่าเนื้องานกับเงินเดือนนั้นดูจะไม่สัมพันธ์กันจริง ๆ เพราะการดูแลผู้ป่วยทั้งวัน ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมงนั้นหนักหนาจริง ๆ แถมเจ้าของเรื่องก็ดูจะเป็นคนละเอียดจู้จี้มาก ๆ ราคานี้ต้องจ้าง 2 คนสลับกะกันน่าจะดีกว่า หรืออาจจะจ้างพยาบาลมืออาชีพมาดูแลดีกว่าการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ต้องอาศัยคนที่รักในงานจริง ๆ และแน่นอนว่าต้องมีการรบกวนเวลานอนแน่ ๆ เพราะคนแก่ชอบตื่นเช้าทำให้คนดูแลได้พักผ่อนน้อยจริง ๆ
เท่าที่ดูแล้วเป็นงานหนักมาก ๆ หนักกว่าการดูแลผู้ป่วยติดเตียง อาจจะต้องหาลูกจ้างแบบไปเช้าเย็นกลับให้มีเวลาส่วนตัวบ้าง การให้มาอยู่แบบนี้จะทำให้ลูกจ้างเครียดเกินไป
ขณะที่บางความคิดเห็นระบุว่าเข้าใจในฐานะนายจ้าง ซึ่งลูกจ้างต้องเข้าใจงานตัวเองก่อนจะมาอยู่สายงานนี้ ซึ่งเรื่องนี้ค่อนข้างที่จะซับซ้อนที่จะมาถกกันว่าเป็นการเอาเปรียบหรือไม่ พร้อมแนะนำให้เปลี่ยนลูกจ้าง เพราะจากที่ดูเจ้าของเรื่องเล่ามาแล้วเหมือนลูกจ้างคนนี้ทำงานไปวัน ๆ หวังจะได้อย่างเดียว ไม่รักงาน
ส่วนเรื่องการกินของลูกจ้างนั้นมองว่ากินเยอะมาก และน้ำหนักตัวขนาดนั้นคงไม่เหมาะในการจ้างมาดูแลคนป่วย เพราะไม่น่าจะคล่องตัว น่าจะต้องแยกเรื่องกินไปเลย โดยจะให้เพิ่มเป็นเงินเดือนก็ได้แต่ให้เขาไปบริหารจัดการเอง และห้ามกินของที่บ้านนอกจากนายจ้างจะเป็นคนให้เอง แนะนำให้เขียนหน้าที่และเช็กลิสต์ให้ชัดเจนว่าลูกจ้างควรทำ หรือไม่ควรทำอะไรบ้างเวลาผิดขึ้นมาจะได้เห็นชัดเจน






