ทั่วโลกจับตา แนนซี เพโลซี ผู้นำระดับสูงสหรัฐฯ เยือนไต้หวัน จีนตราหน้า เล่นกับไฟ อันตรายมาก
ภาพจาก HANDOUT / Taiwan's Ministry of Foreign Affairs (MOFA) / AFP
เป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจใกล้ชิด กรณี แนนซี เพโลซี (Nancy Pelosi) ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เดินทางไปเยือนไต้หวัน ซึ่งนับเป็นครั้งประวัติศาสตร์ ที่มีนักการเมืองอาวุโสที่สุดของสหรัฐฯ ไปเยือนไต้หวัน ในรอบ 25 ปี ในขณะที่ทางการจีนได้แสดงความไม่พอใจอย่างรุนแรง ถือว่าเป็นการรุกล้ำอำนาจอธิปไตยของตน และมีการข่มขู่ทางการทหารออกมาก่อนหน้านี้ แต่ในที่สุดเครื่องบินกองทัพอากาศสหรัฐฯ เที่ยวบิน SPAR19 ของเพโลซี ก็ลงจอดยังกรุงไทเป ของไต้หวัน เมื่อคืนวันที่ 2 สิงหาคม ที่ผ่านมา
วันที่ 3 สิงหาคม 2565 สำนักข่าวบีบีซี เผยว่า ทางการจีนได้ออกประกาศประณามการเดินทางของเพโลซี ว่า "เป็นการกระทำที่อันตรายมาก" และชี้ว่า "กำลังเล่นกับไฟ ผู้ที่เล่นกับไฟจะพินาศเพราะไฟนั้น"
ในขณะที่สื่อทางการของจีนรายงานว่า ภายหลังจากเครื่องบินของเพโลซีลงจอด เครื่องบินทางทหารของจีนมากกว่า 20 ลำ ได้บินข้ามช่องแคบไต้หวัน เข้าสู่เขตป้องกันภัยทางอากาศของไต้หวัน
ท่ามกลางความตึงเครียดที่ทวีความรุนแรงขึ้น เครื่องบินทางการทหารของจีน ได้ออกเดินทางไปไกลถึงเส้นกลาง ซึ่งเป็นเส้นแบ่งอย่างไม่เป็นทางการ ที่แยกระหว่างน่านน้ำจีนและไต้หวัน นอกจากนี้ กระทรวงกลาโหมของจีนได้ประกาศการซ้อมรบขนาดใหญ่ในพื้นที่รอบไต้หวัน โดยจะดำเนินการซ้อมรบแบบใช้กระสุนจริงในอากาศ รวมทั้งในทะเลรอบ ๆ ไต้หวัน ในช่วงปลายสัปดาห์นี้ รวมทั้งเตือนเรือและเครื่องบินไม่ให้เข้าไปในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
ในขณะที่ทางด้านเปโลซี กล่าวว่า การมาเยือนไต้หวันของเธอเป็นเกียรติแก่ความมุ่งมั่นแน่วแน่ของสหรัฐอเมริกาในการสนับสนุน "ประชาธิปไตยที่สดใสของไต้หวัน" และไม่ขัดแย้งกับนโยบายของสหรัฐฯ ในคำแถลงของเธอ ระบุว่า "ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของอเมริกากับชาวไต้หวัน 23 ล้านคน มีความสำคัญมากกว่าที่เคย เนื่องจากโลกกำลังเผชิญกับทางเลือกระหว่างระบอบเผด็จการและประชาธิปไตย"
ภาพจาก SAM YEH / AFP
"ประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งของไต้หวัน... กำลังถูกคุกคาม เมื่อเผชิญกับการรุกรานของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) การเยือนของคณะผู้แทนรัฐสภาของเรา ควรถูกมองว่าเป็นคำแถลงที่แน่ชัดว่า อเมริกายืนหยัดเคียงข้างไต้หวัน พันธมิตรประชาธิปไตยของเรา เพื่อปกป้องตนเองและเสรีภาพของตน" เพโลซี กล่าว
ตามรายงานของสื่อไต้หวัน ระบุคาดว่า เพโลซีจะพักค้างคืน และพบปะสมาชิกสภานิติบัญญัติไต้หวันในวันนี้ (3 สิหาคม) รวมไปถึงไช่ อิง-เหวิน ประธานาธิบดีของไต้หวัน
ทางด้าน โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา กล่าวก่อนหน้านี้ว่า ทางกองทัพสหรัฐฯ ประเมินว่า การเดินทางของเพโลซี "ไม่ใช่ความคิดที่ดี" แต่ภายหลังจากที่เครื่องบินของเพโลซีลงจอดยังไต้หวัน ทางด้าน จอห์น เคอร์บี โฆษกด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ได้ออกแถลงการณ์ กล่าวว่า การเดินทางครั้งนี้สอดคล้องกับนโยบายที่สหรัฐฯ มีมาช้านานต่อจีน และไม่ละเมิดอธิปไตยของประเทศ
"ไม่มีเหตุผลใดที่การมาเยือนครั้งนี้จะกลายเป็นเหตุการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดวิกฤตหรือความขัดแย้ง" เคอร์บี กล่าว พร้อมทั้งตอบโต้ท่าทีรุนแรงจากจีน ระบุว่า "สหรัฐฯ จะไม่ถูกข่มขู่"
รายงานเผยว่า จีนใช้แรงกดดันจากนานาประเทศต่อประเทศอื่น ๆ ให้ยอมรับหลักการ "จีนเดียว" ในขณะที่ทั่วโลกมีเพียง 15 ประเทศ ที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับไต้หวัน สำหรับนโยบายของสหรัฐฯ ที่มีมาช้านานคือ การให้การยอมรับรัฐบาลจีน แต่ยังรักษาความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่ง "อย่างไม่เป็นทางการ" กับไต้หวันไว้ด้วย ซึ่งรวมถึงการขายอาวุธให้ไต้หวันเพื่อป้องกันตัว
สำหรับเพโลซี ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกา ถือเป็นผู้นำระดับสูงของสหรัฐ เป็นรองแค่ประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี นอกจากนี้เธอยังเป็นนักวิจารณ์รัฐบาลจีนมายาวนาน เมื่อปี 2534 สองปีหลังจากรัฐบาลจีนปราบปรามผู้ประท้วงอย่างหนักในจัตุรัสเทียนอันเหมิน เพโลซีในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้เดินทางไปยังสถานที่ชุมนุมและเปิดป้ายเพื่อระลึกถึงผู้เสียชีวิต จึงก่อให้เกิดการความโกรธแค้นจากรัฐบาลจีน
ขอบคุณข้อมูลจาก bbc, washingtonpost
ภาพจาก HANDOUT / Taiwan's Ministry of Foreign Affairs (MOFA) / AFP
เป็นประเด็นที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจใกล้ชิด กรณี แนนซี เพโลซี (Nancy Pelosi) ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ เดินทางไปเยือนไต้หวัน ซึ่งนับเป็นครั้งประวัติศาสตร์ ที่มีนักการเมืองอาวุโสที่สุดของสหรัฐฯ ไปเยือนไต้หวัน ในรอบ 25 ปี ในขณะที่ทางการจีนได้แสดงความไม่พอใจอย่างรุนแรง ถือว่าเป็นการรุกล้ำอำนาจอธิปไตยของตน และมีการข่มขู่ทางการทหารออกมาก่อนหน้านี้ แต่ในที่สุดเครื่องบินกองทัพอากาศสหรัฐฯ เที่ยวบิน SPAR19 ของเพโลซี ก็ลงจอดยังกรุงไทเป ของไต้หวัน เมื่อคืนวันที่ 2 สิงหาคม ที่ผ่านมา
วันที่ 3 สิงหาคม 2565 สำนักข่าวบีบีซี เผยว่า ทางการจีนได้ออกประกาศประณามการเดินทางของเพโลซี ว่า "เป็นการกระทำที่อันตรายมาก" และชี้ว่า "กำลังเล่นกับไฟ ผู้ที่เล่นกับไฟจะพินาศเพราะไฟนั้น"
ในขณะที่สื่อทางการของจีนรายงานว่า ภายหลังจากเครื่องบินของเพโลซีลงจอด เครื่องบินทางทหารของจีนมากกว่า 20 ลำ ได้บินข้ามช่องแคบไต้หวัน เข้าสู่เขตป้องกันภัยทางอากาศของไต้หวัน
ท่ามกลางความตึงเครียดที่ทวีความรุนแรงขึ้น เครื่องบินทางการทหารของจีน ได้ออกเดินทางไปไกลถึงเส้นกลาง ซึ่งเป็นเส้นแบ่งอย่างไม่เป็นทางการ ที่แยกระหว่างน่านน้ำจีนและไต้หวัน นอกจากนี้ กระทรวงกลาโหมของจีนได้ประกาศการซ้อมรบขนาดใหญ่ในพื้นที่รอบไต้หวัน โดยจะดำเนินการซ้อมรบแบบใช้กระสุนจริงในอากาศ รวมทั้งในทะเลรอบ ๆ ไต้หวัน ในช่วงปลายสัปดาห์นี้ รวมทั้งเตือนเรือและเครื่องบินไม่ให้เข้าไปในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
ในขณะที่ทางด้านเปโลซี กล่าวว่า การมาเยือนไต้หวันของเธอเป็นเกียรติแก่ความมุ่งมั่นแน่วแน่ของสหรัฐอเมริกาในการสนับสนุน "ประชาธิปไตยที่สดใสของไต้หวัน" และไม่ขัดแย้งกับนโยบายของสหรัฐฯ ในคำแถลงของเธอ ระบุว่า "ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของอเมริกากับชาวไต้หวัน 23 ล้านคน มีความสำคัญมากกว่าที่เคย เนื่องจากโลกกำลังเผชิญกับทางเลือกระหว่างระบอบเผด็จการและประชาธิปไตย"
ภาพจาก SAM YEH / AFP
"ประชาธิปไตยที่แข็งแกร่งของไต้หวัน... กำลังถูกคุกคาม เมื่อเผชิญกับการรุกรานของพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CCP) การเยือนของคณะผู้แทนรัฐสภาของเรา ควรถูกมองว่าเป็นคำแถลงที่แน่ชัดว่า อเมริกายืนหยัดเคียงข้างไต้หวัน พันธมิตรประชาธิปไตยของเรา เพื่อปกป้องตนเองและเสรีภาพของตน" เพโลซี กล่าว
ตามรายงานของสื่อไต้หวัน ระบุคาดว่า เพโลซีจะพักค้างคืน และพบปะสมาชิกสภานิติบัญญัติไต้หวันในวันนี้ (3 สิหาคม) รวมไปถึงไช่ อิง-เหวิน ประธานาธิบดีของไต้หวัน
ทางด้าน โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา กล่าวก่อนหน้านี้ว่า ทางกองทัพสหรัฐฯ ประเมินว่า การเดินทางของเพโลซี "ไม่ใช่ความคิดที่ดี" แต่ภายหลังจากที่เครื่องบินของเพโลซีลงจอดยังไต้หวัน ทางด้าน จอห์น เคอร์บี โฆษกด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ ได้ออกแถลงการณ์ กล่าวว่า การเดินทางครั้งนี้สอดคล้องกับนโยบายที่สหรัฐฯ มีมาช้านานต่อจีน และไม่ละเมิดอธิปไตยของประเทศ
"ไม่มีเหตุผลใดที่การมาเยือนครั้งนี้จะกลายเป็นเหตุการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดวิกฤตหรือความขัดแย้ง" เคอร์บี กล่าว พร้อมทั้งตอบโต้ท่าทีรุนแรงจากจีน ระบุว่า "สหรัฐฯ จะไม่ถูกข่มขู่"
รายงานเผยว่า จีนใช้แรงกดดันจากนานาประเทศต่อประเทศอื่น ๆ ให้ยอมรับหลักการ "จีนเดียว" ในขณะที่ทั่วโลกมีเพียง 15 ประเทศ ที่มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการกับไต้หวัน สำหรับนโยบายของสหรัฐฯ ที่มีมาช้านานคือ การให้การยอมรับรัฐบาลจีน แต่ยังรักษาความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่ง "อย่างไม่เป็นทางการ" กับไต้หวันไว้ด้วย ซึ่งรวมถึงการขายอาวุธให้ไต้หวันเพื่อป้องกันตัว
สำหรับเพโลซี ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกา ถือเป็นผู้นำระดับสูงของสหรัฐ เป็นรองแค่ประธานาธิบดี และรองประธานาธิบดี นอกจากนี้เธอยังเป็นนักวิจารณ์รัฐบาลจีนมายาวนาน เมื่อปี 2534 สองปีหลังจากรัฐบาลจีนปราบปรามผู้ประท้วงอย่างหนักในจัตุรัสเทียนอันเหมิน เพโลซีในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้เดินทางไปยังสถานที่ชุมนุมและเปิดป้ายเพื่อระลึกถึงผู้เสียชีวิต จึงก่อให้เกิดการความโกรธแค้นจากรัฐบาลจีน
ติดตามอ่าน ข่าวต่างประเทศ ที่น่าสนใจได้ที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก bbc, washingtonpost