x close

นักวิจัยไทยสุดเจ๋ง ! ประดิษฐ์ถังปฏิกรณ์ชีวภาพแบบแนวนอน ช่วยคุมคุณภาพปริมาณสารออกฤทธิ์ในถั่งเช่า "คอร์ดี้ไทย"

"ถั่งเช่า" กินแล้ว "ไตวาย-ตายเร็ว" จริงหรือไม่ ? ในบทความนี้มีคำตอบ !
ถั่งเช่า

             "ถั่งเช่า" หรือ "หญ้าหนอน" ได้ชื่อว่าเป็นยาอายุวัฒนะที่ฮ่องเต้และเชื้อพระวงศ์ในราชวงศ์ถังใช้บำรุงร่างกายมากว่า 1,400 ปี แต่เพิ่งถูกบันทึกลงตำราแพทย์แผนจีนอย่างเป็นทางการเมื่อ 300 ปีมานี้เอง ซึ่งมีงานวิจัยกว่าร้อยฉบับที่ตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศเกี่ยวกับสรรพคุณต่าง ๆ ของถั่งเช่าที่ใช้ในการบำรุงร่างกาย ขณะที่ช่วงหนึ่งในประเทศไทยเกิดกรณีหนึ่งเกี่ยวกับถั่งเช่าว่ากินแล้ว "ไตวาย-ตายเร็ว" จนทำให้เกิดกระแสด้านลบเกี่ยวกับถั่งเช่าอย่างหนัก

           ซึ่งนักวิจัยไทยพบว่าปัญหาการใช้ถั่งเช่าจากอีกสายพันธุ์หนึ่งคือ ถั่งเช่าสีทอง เป็นตัวการสำคัญ (ตีพิมพ์ในวารสาร Research Square, 2022) เป็นสาเหตุหลักทำให้มีผลต่อไต ส่วนถั่งเช่าทิเบตที่ได้จากธรรมชาติโดยตรง อาจมีการปนเปื้อนโลหะหนัก จึงมีการศึกษาและวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อประดิษฐ์ถังปฏิกรณ์ชีวภาพแบบแนวนอน เพื่อช่วยคุมคุณภาพปริมาณสารออกฤทธิ์ในถั่งเช่า และลดการปนเปื้อนโลหะหนักที่เป็นสาเหตุของไตวาย

ถั่งเช่าคืออะไร ?

              ถั่งเช่า เป็นเชื้อราชนิดหนึ่งในไฟลัมแอสโคไมซีเทส (Ascomycetes) มีความใกล้เคียงกับเห็ดซึ่งเป็นเชื้อราที่จัดอยู่ในไฟลัมเบสิดิโอไมซีเทส (Basidiomycetes) ถั่งเช่าได้รับการกล่าวขานว่าเป็น "เห็ดทางการแพทย์แผนจีน" มาเป็นเวลานานแล้ว

              ถั่งเช่า เป็นปรสิตที่เจริญเติบโตอยู่ในตัวหนอนของผีเสื้อที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Hepialus armoricanus Oberthiir โดยหนอนชนิดนี้ในหน้าหนาวจะฝังตัวอยู่ใต้ดินของภูเขาหิมะ เมื่อน้ำแข็งละลายสปอร์ของเห็ดจะถูกพัดไปตกลงบนพื้นดิน จากนั้นหนอนจะกินสปอร์ของเห็ด เมื่อถึงฤดูร้อนสปอร์เหล่านี้จะเริ่มเจริญเติบโตเป็นเส้นใยดูดกินสารอาหารและแร่ธาตุจากตัวหนอน ก่อนที่หนอนเหล่านั้นจะค่อย ๆ ตายไปในที่สุด

ถั่งเช่า

            หนอนที่ตายแล้วจะมีสีเหลืองถึงน้ำตาล ส่วนหัวมีก้านรูปร่างเหมือนกระบอง มีสีน้ำตาลเข้มถึงดำยื่นออกมามีลักษณะคล้ายต้นพืชต้นเล็ก ๆ มีชื่อในภาษาทิเบตว่า "ยาทซ่า กันบุ" (Yartsa Gunbu) และภาษาจีนกลางเรียกว่า "ดองชองเซี๊ยะเช่า" (Dong Chong Xia Cao) ซึ่งมีความหมายว่า "ฤดูหนาวเป็นหนอนฤดูร้อนเป็นหญ้า" (winter worm, summer grass) หรือที่คนไทยเรียกว่า "หญ้าหนอน" ที่มาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว ซึ่งถั่งเช่าทิเบตที่มีอยู่ในท้องตลาดเองก็มีความหลากหลาย ได้แก่ ถั่งเช่าทิเบตจากธรรมชาติที่จำหน่ายเป็นตัว ๆ ถั่งเช่าทิเบตจากการเพาะเลี้ยงผ่านการอบแห้งและบดผง และ ถั่งเช่าทิเบตที่สกัดแล้ว

            สิ่งสำคัญที่เป็นปัจจัยสำคัญของความแตกต่างคือ สารออกฤทธิ์คอร์ไดซิปิน ที่เป็นตัวแปรของราคาในถั่งเช่าทิเบตและความปลอดภัยจากสารปนเปื้อนต่าง ๆ นั่นเอง

ถั่งเช่า

ถั่งเช่าทิเบต กับ ถั่งเช่าสีทอง แตกต่างกันอย่างไร ?

            ถั่งเช่าทิเบต กับ ถั่งเช่าสีทอง นับได้ว่าเป็นตระกูลพี่น้องกัน โดยถั่งเช่าทิเบต มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Ophiocordyceps sinensis ส่วนถั่งเช่าสีทอง มีชื่อว่า Cordyceps militaris

            ถั่งเช่าทิเบต ถือว่าเป็นถั่งเช่าที่มีการบริโภคและมีการศึกษาทางด้านความปลอดภัย รวมถึงศักยภาพในการใช้ในทางการแพทย์แผนจีนมายาวนานกว่าถั่งเช่าสีทองหลายทศวรรษ แต่เนื่องจากความหายากของถั่งเช่าทิเบตที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะถั่งเช่าทิเบตที่มีสารคอร์ไดซิปิน และถั่งเช่าทิเบตที่ปลอดภัยจากโลหะหนัก ทำให้ถั่งเช่าสีทองนั้นถูกพัฒนาขึ้นมาใช้ทดแทนเมื่อสิบกว่าปีที่ผ่านมานี้เอง

            ซึ่งถั่งเช่าสีทองนั้นเพาะเลี้ยงได้ง่ายกว่า สารออกฤทธิ์นำของถั่งเช่าทิเบต คือ อะดีโนซีน (adenosine) ส่วนถั่งเช่าสีทอง คือ คอร์ไดซิปิน (cordycepin) ถึงแม้ว่าถั่งเช่าสีทองจะสร้างสารคอร์ไดซิปินได้สูง แต่ในอดีตที่ผ่านมาก็ยังไม่มีงานวิจัยรับรองผลกระทบทางลบต่อร่างกาย ซึ่งต่างกับถั่งเช่าทิเบตที่มีงานวิจัยรับรอง

            เมื่อต้นปี พ.ศ. 2565 ทีมวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ตรวจพบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลัน จำนวน 11 คน บริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของถั่งเช่าสีทองทั้งในรูปแบบแคปซูล ชา หรือกาแฟ พบว่าผู้ป่วยมีค่าการทำงานของไตที่ลดลง ทางคณะผู้วิจัยจึงแนะนำให้เลี่ยงการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของถั่งเช่าสีทอง ซึ่งปัจจัยที่ส่งให้เกิดผลทางลบนั้นอาจจะเป็นสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ก็เป็นได้

            หากมองในภาพรวมแล้วการบริโภค ถั่งเช่าทิเบตยังถือว่ามีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคสูงกว่ามาก แต่สิ่งสำคัญคือ ถั่งเช่าทิเบตนั้นต้องมีสารออกฤทธิ์ทั้งอะดีโนซีน และคอร์ไดซิปินที่เหมาะสมต่อร่างกาย และสำคัญยิ่งกว่านั้นคือ ต้องปลอดภัยจากโลหะหนักปนเปื้อน เพราะไม่ว่าถั่งเช่าจะมีสารออกฤทธิ์ที่ดีเพียงใด แต่ถ้าพบโลหะหนักเกินค่ามาตรฐานนั้นก็ส่งผลลบต่อร่างกายอยู่ดี

ถั่งเช่า

นักวิจัยแก้ปัญหาการปนเปื้อนโลหะหนัก ด้วยถังปฏิกรณ์ชีวภาพแบบแนวนอน (Horizontal Bioreactor)

              ปัจจุบันเมื่อวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าขึ้น มีงานวิจัยตรวจพบว่าถั่งเช่าจากธรรมชาติในหลาย ๆ พื้นที่ รวมไปถึงถั่งเช่าที่เพาะเลี้ยงโดยไม่ได้คัดกรองวัตถุดิบให้ดีนั้น มีการปนเปื้อนจากโลหะหนักโดยเฉพาะสารหนู ตะกั่ว ทองแดง และแคดเมียม หากรับประทานถั่งเช่าที่มีโลหะหนักปนเปื้อนเป็นเวลานานสามารถส่งผลให้ไตวายได้ ทีมนักวิจัยซึ่งนำโดยศาสตราจารย์ ดร.มณจันทร์ เมฆธน ผู้ทรงคุณวุฒิคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิจัยและพัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงถั่งเช่า โดยมีการเพาะเลี้ยงถั่งเช่าในถังปฏิกรณ์ชีวภาพแบบแนวนอน (Horizontal Bioreactor) เพื่อแก้ปัญหาถั่งเช่าปนเปื้อนโลหะหนัก รวมทั้งคุมคุณภาพปริมาณสารออกฤทธิ์

              ภายในห้องเพาะเลี้ยงมีการควบคุมอุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียส ซึ่งจะช่วยควบคุมคุณภาพปริมาณสารออกฤทธิ์ให้เหมาะสม และปลอดภัยจากโลหะหนัก

              นอกจากนี้ ยังมีการควบคุมคุณภาพด้วยการสเตอริไลเซชั่น (Sterilization) เพื่อการทำลายเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนที่อาจส่งผลร้ายได้ จึงทำให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ถึงความปลอดภัย รวมทั้งมีการตรวจค่าโลหะหนัก และตรวจจุลินทรีย์ปนเปื้อนจาก ALS ทุกล็อตการผลิต เพื่อให้มั่นใจว่ามีการปนเปื้อนโลหะหนักน้อยที่สุด ไม่เกินมาตรฐาน อ.ย.

ถั่งเช่า

             ล่าสุด มีการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ BIOMEDICAL RESEARCH ในหัวข้อ Cordyceps More Than Edible Mushroom-A Rich Source of Diverse Bioactive Metabolites with Huge Medicinal Benefits โดย WA. Elkhateeb and Daba GM  ตีพิมพ์เมื่อ 21 พ.ค. 2022 vol 3(5): 566-574 ได้กล่าวสรุปถึงสรรพคุณของถั่งเช่าทิเบตไว้หลากหลายประการ และได้ยกตัวอย่างถั่งเช่าคอร์ดี้ไทย เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่มีสารออกฤทธิ์ที่เหมาะสมต่อร่างกายและผลิตในโซนเอเชีย

             กล่าวโดยสรุปว่า หากจะรับประทานถั่งเช่าจำเป็นต้องเลือกรับประทานถั่งเช่าที่มีสารออกฤทธิ์ที่เหมาะสมต่อร่างกาย รวมทั้งมีการตรวจค่าโลหะหนักและตรวจจุลินทรีย์ปนเปื้อนจาก ALS ทุกล็อตการผลิต เพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีการปนเปื้อนและไม่ส่งผลลบต่อร่างกาย

อ้างอิงจาก :

1. Yuan, Qianghua, et al. "Extraction, structure and pharmacological effects of the polysaccharides from Cordyceps sinensis: A review." Journal of Functional Foods 89 (2022): 104909.

2. Liu, Wu, et al. "Mechanism of Cordyceps sinensis and its Extracts in the Treatment of Diabetic Kidney Disease: A Review." Frontiers in Pharmacology (2022): 1793.

3. Savioli, Fellipe Pinheiro, et al. "Effects of cordyceps sinensis supplementation during 12 weeks in amateur marathoners: A randomized, double-blind placebo-controlled trial." Journal of Herbal Medicine 34 (2022): 100570.

4. Zuo, Hua-Li, et al. "Quality evaluation of natural Cordyceps sinensis from different collecting places in China by the contents of nucleosides and heavy metals." Analytical Methods 5.20 (2013): 5450-5456.

5. Zhou, Li, et al. "Bioaccessibility and risk assessment of heavy metals, and analysis of arsenic speciation in Cordyceps sinensis." Chinese medicine 13.1 (2018): 1-8.

6. Chiu C-P, Hwang T-L, Chan Y, El-Shazly M, Wu T-Y, Lo I-W, al e: Research and development of Cordyceps in Taiwan. Food Science and Human Wellness 2016, 5(4):177-185.

7. Tangkiatkumjai, Mayuree, et al. "Acute kidney injury related to Cordyceps militaris: A case series." Research Square (2022). doi.org/10.21203/rs.3.rs-1420916/v1

8. Yu, Xinmin. "Analysis on Effect of Jinshuibao Capsule Combined Treatment on Newly Diagnosed Pulmonary Tuberculosis." Advanced Emergency Medicine 5.3 (2018).

9. Zhang, Cheng-Qiu, et al. "Jinshuibao capsule combined losartan potassium intervened early renal damage of hypertension patients of yin and yang deficiency: a clinical research." Zhongguo Zhong xi yi jie he za zhi Zhongguo Zhongxiyi Jiehe Zazhi= Chinese Journal of Integrated Traditional and Western Medicine 33.6 (2013): 731-735.

10. Zhang, Hong Wei, et al. "Cordyceps sinensis (a traditional Chinese medicine) for treating chronic kidney disease." Cochrane Database of Systematic Reviews 12 (2014).

11. Liu, Wu, et al. "Mechanism of Cordyceps sinensis and its Extracts in the Treatment of Diabetic Kidney Disease: A Review." Frontiers in Pharmacology (2022): 1793.

12. Mishra, R. N., and Yogesh Upadhyay. "Cordicepssinensis: the Chinese Rasayan-current research scenario." Int. J. Res. Pharm. Biomed. Sci 2 (2011): 1503-1519.

13. Elkhateeb, Waill A., and G. M. Daba. "Cordyceps More Than Edible Mushroom-A Rich Source of Diverse Bioactive Metabolites with Huge Medicinal Benefits." (2022)., 3(5) : 566-574
 

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
นักวิจัยไทยสุดเจ๋ง ! ประดิษฐ์ถังปฏิกรณ์ชีวภาพแบบแนวนอน ช่วยคุมคุณภาพปริมาณสารออกฤทธิ์ในถั่งเช่า "คอร์ดี้ไทย" อัปเดตล่าสุด 15 สิงหาคม 2565 เวลา 13:17:35 3,621 อ่าน
TOP