ก.ล.ต. ลงโทษผู้บริหาร บิทคับ (Bitkub) กรณีซื้อเหรียญ KUB โดยรู้หรือครอบครองข้อมูลภายใน พร้อมสั่งให้ชดใช้ 8.5 ล้านบาท และห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล 12 เดือน
วันที่ 30 สิงหาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับการร้องเรียนให้ตรวจสอบกรณีมีเหตุสงสัยว่ามีบุคคลซื้อขายเหรียญ KUB โดยรู้หรือครอบครองข้อมูลภายในเกี่ยวกับเหตุการณ์ตามสารสนเทศดังกล่าว ผลการตรวจสอบพบว่า กลุ่มธนาคาร SCB และบริษัท BCGH ได้เริ่มเจรจาการซื้อขายหุ้นของบริษัท BO ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม 2564
และในระหว่างวันที่ 4 กันยายน - 2 พฤศจิกายน 2564 ก่อนการเปิดเผยข้อมูลภายในดังกล่าว นายสำเร็จ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) ของบริษัท BBT ได้มีพฤติกรรมการซื้อเหรียญ KUB จำนวนมากอย่างต่อเนื่อง เป็นจำนวน 61,107.66 เหรียญ มูลค่า 1,994,966.56 บาท ซึ่งต่างจากพฤติกรรมก่อนเกิดข้อมูลภายในดังกล่าว
การกระทำของนายสำเร็จเป็นความผิดฐานซื้อเหรียญ KUB โดยเป็นบุคคลซึ่งรู้หรือครอบครองข้อมูลภายในตามมาตรา 42(1) ประกอบมาตรา 43(1) ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 70 และมาตรา 72 แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561
คณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง (ค.ม.พ.) มีมติให้นำมาตรการลงโทษทางแพ่งมาใช้บังคับกับนายสำเร็จ โดยกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่ง ได้แก่ ค่าปรับทางแพ่ง ชดใช้เงินในจำนวนเท่ากับผลประโยชน์ที่ได้รับหรือพึงได้รับ และชดใช้ค่าใช้จ่ายของ ก.ล.ต. เนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,530,383 บาท รวมทั้งห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัลหรือผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นเวลา 12 เดือน
ทั้งนี้ เงินค่าปรับทางแพ่งและเงินค่าชดใช้คืนผลประโยชน์ที่ได้รับจากการกระทำความผิดเป็นรายได้แผ่นดินที่นำส่งกระทรวงการคลัง
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Bitkub
ขณะที่ นายสำเร็จ วจนะเสถียร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด (BBT) ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ตามที่ กลต. ได้กล่าวหาผมเรื่องการใช้ข้อมูลภายในสำหรับการซื้อเหรียญ KUB ของผมนั้น ผมอยากจะใช้ช่องทางนี้เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและความบริสุทธิ์ใจ ผมรู้กฎหมายเรื่อง Insider trading เป็นอย่างดีว่า เวลาผมทำโปรเจกต์ ผมก็จะซื้อ KUB ไม่ได้ ดังนั้นผมจะมีช่วงเวลาสั้น ๆ หลังโปรเจกต์เปิดตัว และยังไม่ได้เริ่มโปรเจกต์ใหม่ที่ผมจะลงทุนซื้อ KUB ได้
ก่อนหน้าช่วงเวลาดังกล่าว ผมอยากซื้อ KUB ในราคาที่ต่ำกว่า 30 บาท แต่ซื้อไม่ได้เนื่องด้วยผมทำโปรเจกต์ Morning Moon ก่อนหน้านี้ สุดท้ายผมรอโปรเจกต์ Morning Moon เปิดตัวเลยต้องซื้อ KUB ได้ที่ราคา 30-32 บาท เพราะหากไม่ซื้อภายในช่วงเวลาดังกล่าว ผมก็จะต้องเริ่มโปรเจกต์ใหม่ และจะทำให้ผมไม่สามารถซื้อ KUB ได้อีกนาน ส่วนเวลาก่อนหน้านี้ก็ซื้อเพื่อแลกเป็นค่าธรรมเนียมการเทรดใน Exchange ทันที ช่วงเวลาที่ ก.ล.ต. กล่าวโทษ ผมเป็นผู้บริหาร BBT ซึ่งเป็นคนละบริษัทกับ Exchange
ดังนั้นผมกล้าพูดได้ว่า ผมไม่รู้เรื่อง SCB Deal ใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าผมรู้ผมคงขาย WAN, SNT, BNB, Ethereum ซึ่งมีมูลค่ารวมประมาณ 4 ล้านบาทแล้ว และคงลงเงินกับ KUB ไปให้หมดไปแล้ว ซึ่งจำนวนเงินที่ผมลงทุนใน KUB ก็ใกล้เคียงกับเหรียญอื่น ๆ ที่ผมมีส่วนตัวแล้ว เป็นจำนวน 60,000 KUB ผมมองว่าจำนวนไม่ได้ผิดแปลก แต่เป็นความบังเอิญที่เป็นเวลาที่เค้าทำ Deal กันพอดี
การซื้อเหรียญ KUB ของผมมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนระยะยาว ดังจะเห็นได้ว่า หากผมซื้อเหรียญ KUB โดยมีเจตนาที่จะมุ่งหวังทำกำไรระยะสั้นแล้ว ผมคงเทขายเหรียญ KUB ทั้งหมดเพื่อทำกำไรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ผมยังไม่ได้ขายเหรียญ KUB ดังกล่าวเพื่อทำกำไรแต่อย่างใด
เรื่องราวทั้งหมดผมได้บอก ก.ล.ต. แล้วแต่ทาง ก.ล.ต. ก็ยังตัดสินลงโทษอยู่ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีหลักฐานชัดเจนว่าผมกระทำผิด ผมจึงจะขอต่อสู้ในกระบวนการทางกฎหมายต่อไป ผมขอยืนยันว่า ผมบริสุทธิ์ใจและยืนหยัดที่จะพัฒนาเทคโนโลยีของ Bitkub Chain ต่อไป เพื่อให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ดีและได้มาตรฐานเพื่อให้คนไทยได้ใช้งานอย่างแพร่หลาย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
วันที่ 30 สิงหาคม 2565 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้รับการร้องเรียนให้ตรวจสอบกรณีมีเหตุสงสัยว่ามีบุคคลซื้อขายเหรียญ KUB โดยรู้หรือครอบครองข้อมูลภายในเกี่ยวกับเหตุการณ์ตามสารสนเทศดังกล่าว ผลการตรวจสอบพบว่า กลุ่มธนาคาร SCB และบริษัท BCGH ได้เริ่มเจรจาการซื้อขายหุ้นของบริษัท BO ตั้งแต่ช่วงเดือนสิงหาคม 2564
และในระหว่างวันที่ 4 กันยายน - 2 พฤศจิกายน 2564 ก่อนการเปิดเผยข้อมูลภายในดังกล่าว นายสำเร็จ ดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี (CTO) ของบริษัท BBT ได้มีพฤติกรรมการซื้อเหรียญ KUB จำนวนมากอย่างต่อเนื่อง เป็นจำนวน 61,107.66 เหรียญ มูลค่า 1,994,966.56 บาท ซึ่งต่างจากพฤติกรรมก่อนเกิดข้อมูลภายในดังกล่าว
การกระทำของนายสำเร็จเป็นความผิดฐานซื้อเหรียญ KUB โดยเป็นบุคคลซึ่งรู้หรือครอบครองข้อมูลภายในตามมาตรา 42(1) ประกอบมาตรา 43(1) ซึ่งมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 70 และมาตรา 72 แห่งพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561
คณะกรรมการพิจารณามาตรการลงโทษทางแพ่ง (ค.ม.พ.) มีมติให้นำมาตรการลงโทษทางแพ่งมาใช้บังคับกับนายสำเร็จ โดยกำหนดมาตรการลงโทษทางแพ่ง ได้แก่ ค่าปรับทางแพ่ง ชดใช้เงินในจำนวนเท่ากับผลประโยชน์ที่ได้รับหรือพึงได้รับ และชดใช้ค่าใช้จ่ายของ ก.ล.ต. เนื่องจากการตรวจสอบการกระทำความผิด รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,530,383 บาท รวมทั้งห้ามเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของผู้เสนอขายโทเคนดิจิทัลหรือผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เป็นเวลา 12 เดือน
ทั้งนี้ เงินค่าปรับทางแพ่งและเงินค่าชดใช้คืนผลประโยชน์ที่ได้รับจากการกระทำความผิดเป็นรายได้แผ่นดินที่นำส่งกระทรวงการคลัง
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Bitkub
ขณะที่ นายสำเร็จ วจนะเสถียร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท บิทคับ บล็อคเชน เทคโนโลยี จำกัด (BBT) ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า ตามที่ กลต. ได้กล่าวหาผมเรื่องการใช้ข้อมูลภายในสำหรับการซื้อเหรียญ KUB ของผมนั้น ผมอยากจะใช้ช่องทางนี้เพื่อชี้แจงข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นและความบริสุทธิ์ใจ ผมรู้กฎหมายเรื่อง Insider trading เป็นอย่างดีว่า เวลาผมทำโปรเจกต์ ผมก็จะซื้อ KUB ไม่ได้ ดังนั้นผมจะมีช่วงเวลาสั้น ๆ หลังโปรเจกต์เปิดตัว และยังไม่ได้เริ่มโปรเจกต์ใหม่ที่ผมจะลงทุนซื้อ KUB ได้
ก่อนหน้าช่วงเวลาดังกล่าว ผมอยากซื้อ KUB ในราคาที่ต่ำกว่า 30 บาท แต่ซื้อไม่ได้เนื่องด้วยผมทำโปรเจกต์ Morning Moon ก่อนหน้านี้ สุดท้ายผมรอโปรเจกต์ Morning Moon เปิดตัวเลยต้องซื้อ KUB ได้ที่ราคา 30-32 บาท เพราะหากไม่ซื้อภายในช่วงเวลาดังกล่าว ผมก็จะต้องเริ่มโปรเจกต์ใหม่ และจะทำให้ผมไม่สามารถซื้อ KUB ได้อีกนาน ส่วนเวลาก่อนหน้านี้ก็ซื้อเพื่อแลกเป็นค่าธรรมเนียมการเทรดใน Exchange ทันที ช่วงเวลาที่ ก.ล.ต. กล่าวโทษ ผมเป็นผู้บริหาร BBT ซึ่งเป็นคนละบริษัทกับ Exchange
ดังนั้นผมกล้าพูดได้ว่า ผมไม่รู้เรื่อง SCB Deal ใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าผมรู้ผมคงขาย WAN, SNT, BNB, Ethereum ซึ่งมีมูลค่ารวมประมาณ 4 ล้านบาทแล้ว และคงลงเงินกับ KUB ไปให้หมดไปแล้ว ซึ่งจำนวนเงินที่ผมลงทุนใน KUB ก็ใกล้เคียงกับเหรียญอื่น ๆ ที่ผมมีส่วนตัวแล้ว เป็นจำนวน 60,000 KUB ผมมองว่าจำนวนไม่ได้ผิดแปลก แต่เป็นความบังเอิญที่เป็นเวลาที่เค้าทำ Deal กันพอดี
การซื้อเหรียญ KUB ของผมมีวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนระยะยาว ดังจะเห็นได้ว่า หากผมซื้อเหรียญ KUB โดยมีเจตนาที่จะมุ่งหวังทำกำไรระยะสั้นแล้ว ผมคงเทขายเหรียญ KUB ทั้งหมดเพื่อทำกำไรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่จากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ผมยังไม่ได้ขายเหรียญ KUB ดังกล่าวเพื่อทำกำไรแต่อย่างใด
เรื่องราวทั้งหมดผมได้บอก ก.ล.ต. แล้วแต่ทาง ก.ล.ต. ก็ยังตัดสินลงโทษอยู่ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีหลักฐานชัดเจนว่าผมกระทำผิด ผมจึงจะขอต่อสู้ในกระบวนการทางกฎหมายต่อไป ผมขอยืนยันว่า ผมบริสุทธิ์ใจและยืนหยัดที่จะพัฒนาเทคโนโลยีของ Bitkub Chain ต่อไป เพื่อให้ประเทศไทยมีเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ดีและได้มาตรฐานเพื่อให้คนไทยได้ใช้งานอย่างแพร่หลาย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์