ชวนดูจันทรุปราคาเต็มดวง คืนวันลอยกระทง 8 พฤศจิกายน 2565
มองเห็นด้วยตาเปล่าทั่วฟ้าเมืองไทย ตั้งแต่เวลา 17.44 น. เป็นต้นไป
เผยช่วงที่เกิดคราสเต็มดวง ดวงจันทร์จะปรากฏเป็นสีแดงอิฐ นาน 57 นาที
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ชวนชมปรากฏการณ์จันทรุปราคาในคืนวันลอยกระทง เป็นปรากฏการณ์
"จันทรุปราคาเต็มดวง" เกิดขึ้นในช่วงเวลาประมาณ 15.02 - 20.56 น.
(ตามเวลาประเทศไทย) สังเกตได้จากหลายพื้นที่ทั่วโลก ได้แก่
ทวีปยุโรปตอนเหนือและตะวันออก ทวีปเอเชีย ทวีปออสเตรเลีย ทวีปอเมริกาเหนือ
บางส่วนของทวีปอเมริกาใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติก
มหาสมุทรอินเดีย ขั้วโลกเหนือ และบางส่วนของขั้วโลกใต้
สำหรับไทม์ไลน์ จันทรุปราคาคืนวันลอยกระทง ในประเทศไทย มีดังนี้
เวลา 17.44 - 18.41 น.
- ประเทศไทยจะเริ่มสังเกตการณ์ได้เมื่อดวงจันทร์จะโผล่พ้นขอบฟ้าทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นช่วงคราสเต็มดวงพอดี จะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงปรากฏเป็นสีแดงอิฐ รวมระยะเวลานาน 57 นาที
เวลา 18.42 - 19.49 น.
- จะเริ่มเห็นดวงจันทร์ปรากฏเว้าแหว่งบางส่วนและค่อย ๆ ออกจากเงามืดของโลก และสิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาแบบบางส่วนในเวลา 19.49 น.
เวลา 19.50 - 20.56 น.
- เปลี่ยนเป็นปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัวที่สังเกตได้ยาก เนื่องจากความสว่างของดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และสุดท้ายดวงจันทร์จะพ้นจากเงามัวของโลกเวลา 20.56 น. ถือว่าสิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาในครั้งนี้โดยสมบูรณ์
ทั้งนี้ ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงเหนือฟ้าเมืองไทยครั้งถัดไป จะเกิดขึ้นในอีก 3 ปีข้างหน้า คือวันที่ 8 กันยายน 2568
ผู้สังเกตบนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งไปเรื่อย ๆ จนดวงจันทร์เข้าไปอยู่ในเงามืดทั้งดวง และเริ่มมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งอีกครั้งหนึ่งเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ออกจากเงามืดของโลก
เงาของโลกที่ทอดไปในอวกาศแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่
- เงามัว (Penumbra Shadow) เป็นเงาส่วนนอกสุด เมื่อดวงจันทร์เข้ามาอยู่ในเงาส่วนนี้จะมีความสว่างลดลงเล็กน้อย
- เงามืด (Umbra Shadow) เป็นเงาที่มืดสนิท เมื่อดวงจันทร์เข้ามาอยู่ในเงาส่วนนี้จะทำให้เกิดส่วนมืดเว้าแหว่ง จึงแบ่งประเภทของปรากฏการณ์จันทรุปราคาได้ดังนี้
2. จันทรุปราคาบางส่วน (Partial Lunar Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเงามืดของโลกเพียงบางส่วน โดยจะมองเห็นดวงจันทร์มีลักษณะเว้าแหว่ง
3. จันทรุปราคาเงามัว (Penumbral Lunar Eclipse) เกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเข้าไปเงามัวของโลก โดยไม่ผ่านเงามืด เรายังคงมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวง แต่ความสว่างลดน้อยลง สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงค่อนข้างยาก
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, NARIT