พ่อชาวมาเลเซีย เทียบชัด ๆ หลักสูตรการเรียน ป.1 ในประเทศ เทียบกับอเมริกา ต่างกันราวฟ้ากับเหว ป.1 ต้องท่องสูตรคูนได้ถึงแม่ 6 ส่วนอเมริกาเด็กแค่วาดรูประบายสี เน้นการเสริมสร้างทัศนคติที่ดีมากกว่าเร่งรัดหลักสูตร
ภาพจาก Saif Suhairi
ในเรื่องของการศึกษา เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนก็คงเต็มที่ อยากให้ลูกได้เรียน ได้เล่น หรืออาจเป็นถึงอัจฉริยะ จึงพยายามให้ลูกได้เข้าโรงเรียนที่ดี ให้คนช่วยสอนการบ้าน จ้างคนมาติวเพิ่ม ซึ่งในทางหนึ่งก็อาจจะเป็นการสร้างความเครียดให้เด็กก็เป็นได้
ทั้งนี้ เว็บไซต์ Says ได้บอกเล่าเรื่องราวของคุณพ่อคุณแม่ท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นชาวมาเลเซีย และได้มีโอกาสย้ายไปตั้งรกรากอยู่ที่สหรัฐอเมริกา โดยที่ลูกของเขาอยู่ในชั้นเรียน ป.1 ที่อเมริกา ซึ่งเป็นชั้นเรียนของเด็กที่อายุ 6-7 ปี เทียบกันกับชั้นเรียน ป.1 ตามหลักสูตรการศึกษา Standard One ของมาเลเซีย
ภาพจาก Saif Suhairi
โดยภาพแรกนั้น เป็นภาพการบ้านของเด็กในชั้น ป.1 ของมาเลเซีย ที่ต้องท่องจำสูตรคูณให้ได้ถึงแม่ 6 และการบ้านวิชาคณิตศาสตร์นั้น เป็นการบูรณาการวิชาภาษามาเลย์กับวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งจะให้โจทย์วิชาคณิตศาสตร์มา 1 โจทย์ และคำมาทั้งหมด 3 คำ จากนั้นให้นักเรียนแต่งประโยคโดยใช้วิชาคณิตศาสตร์และคำที่กำหนดให้ (15+6=21, ริบบิ้นสีแดง, ริบบิ้นสีเหลือง, ทุกสิ่งทุกอย่าง) รวมถึงการเรียนบวกลบคูณหารเลข 2 หลัก แตกเลขออกมาแล้วได้เลขใหม่ ยากชนิดที่ผู้ใหญ่เองก็อาจจะมึน
อีกทั้งยังมีอีกภาพที่เป็นโจทย์เลข ป.1 ของมาเลเซีย ที่เขียนมาเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งนั่นเท่ากับว่า ณ จุดนั้น เด็กต้องอ่านภาษาอังกฤษเข้าใจแล้ว โดยโจทย์นั้นเป็นวิชาบัญชี จนพ่อยังบอกว่า "ป.1 ยังต้องมาเรียนวิชาบัญชี พอเหอะ"
ในขณะที่การบ้านที่สหรัฐอเมริกา การเรียน ป.1 คือหัดเขียนเลข 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 วาดรูป ระบายสีให้ตรงกรอบ ลากเส้นตามรอยปะเท่านั้น
ภาพจาก Saif Suhairi
ด้านคุณพ่ออธิบายเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ลูกของเขาใน ป.1 เรียนตอนนี้ เหมือนกับเด็กอนุบาลอายุ 4 ขวบเรียน มองดูแล้วเหมือนหลักสูตรไปช้ามาก แต่คุณพ่อก็ยังยืนยันว่าหลักสูตรของอเมริกาดีกว่า ซึ่งนักเรียนจริง ๆ จะไปเรียนกันเข้มข้นตอนมัธยมต้นและมัธยมปลาย และเหตุผลที่ชั้นเรียนประถมของอเมริกาไม่ได้เร่งรัดหลักสูตรอะไรมากมาย ก็เพราะต้องการให้เด็กได้เล่น ได้เรียนรู้ และสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนก่อน
อย่างไรก็ตาม หากมีนักเรียนประถมคนไหน เรียนรู้ได้ไวกว่าเพื่อนในชั้น ทางโรงเรียนก็จะเตรียมชั้นเรียนที่เข้มข้นขึ้นให้ และที่นี่มีโปรแกรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย สำหรับนักเรียนที่มีพื้นฐานการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไป
นอกจากนี้ เขายังบอกว่า ที่อเมริกา นักเรียนไม่ต้องเอาหนังสือกลับบ้าน ให้นักเรียนเก็บหนังสือไว้ตรงลิ้นชักใต้โต๊ะได้เลย และทางโรงเรียนจะแจกโน้ตบุ๊กให้นักเรียนคนละเครื่อง และให้เอาโน้ตบุ๊กกลับบ้าน และในนั้นจะมีไฟล์ที่เอาไว้ใช้ทำการบ้าน ส่วนใหญ่การเรียนที่โรงเรียนจะยังใช้กระดาษอยู่เลย
ในแต่ละชั้นเรียน จะมีนักเรียนแค่ห้องละ 20 มากที่สุด 25 คน และทุก ๆ ชั้นเรียนจะมีครู 1 คน ครูผู้ช่วย 1 คน ครูจะทำหน้าที่สอน ครูผู้ช่วยจะคอยประกบช่วยนักเรียนให้เข้าใจงานที่สั่ง แจกงาน บอกให้นักเรียนนั่งตัวตรง ๆ ทำตัวดี ๆ เพื่อให้ครูได้สอนอย่างเต็มที่และได้โฟกัสที่พัฒนาการของเด็ก
"พอรัฐบาลเปลี่ยนที นโยบายด้านการศึกษาก็เปลี่ยนตาม และไม่ใช่สิ่งที่ดีเลยนะ และสิ่งที่สำคัญในตอนนี้คือ เราควรที่จะสนับสนุนให้เกิดการเรียนการสอนแบบคิดวิเคราะห์ ไม่ใช่ยกเลิกการเรียนการสอนแบบนี้"
ภาพจาก Saif Suhairi
ในเรื่องของการศึกษา เชื่อว่าพ่อแม่ทุกคนก็คงเต็มที่ อยากให้ลูกได้เรียน ได้เล่น หรืออาจเป็นถึงอัจฉริยะ จึงพยายามให้ลูกได้เข้าโรงเรียนที่ดี ให้คนช่วยสอนการบ้าน จ้างคนมาติวเพิ่ม ซึ่งในทางหนึ่งก็อาจจะเป็นการสร้างความเครียดให้เด็กก็เป็นได้
ทั้งนี้ เว็บไซต์ Says ได้บอกเล่าเรื่องราวของคุณพ่อคุณแม่ท่านหนึ่ง ซึ่งเป็นชาวมาเลเซีย และได้มีโอกาสย้ายไปตั้งรกรากอยู่ที่สหรัฐอเมริกา โดยที่ลูกของเขาอยู่ในชั้นเรียน ป.1 ที่อเมริกา ซึ่งเป็นชั้นเรียนของเด็กที่อายุ 6-7 ปี เทียบกันกับชั้นเรียน ป.1 ตามหลักสูตรการศึกษา Standard One ของมาเลเซีย
ภาพจาก Saif Suhairi
โดยภาพแรกนั้น เป็นภาพการบ้านของเด็กในชั้น ป.1 ของมาเลเซีย ที่ต้องท่องจำสูตรคูณให้ได้ถึงแม่ 6 และการบ้านวิชาคณิตศาสตร์นั้น เป็นการบูรณาการวิชาภาษามาเลย์กับวิชาคณิตศาสตร์ ซึ่งจะให้โจทย์วิชาคณิตศาสตร์มา 1 โจทย์ และคำมาทั้งหมด 3 คำ จากนั้นให้นักเรียนแต่งประโยคโดยใช้วิชาคณิตศาสตร์และคำที่กำหนดให้ (15+6=21, ริบบิ้นสีแดง, ริบบิ้นสีเหลือง, ทุกสิ่งทุกอย่าง) รวมถึงการเรียนบวกลบคูณหารเลข 2 หลัก แตกเลขออกมาแล้วได้เลขใหม่ ยากชนิดที่ผู้ใหญ่เองก็อาจจะมึน
อีกทั้งยังมีอีกภาพที่เป็นโจทย์เลข ป.1 ของมาเลเซีย ที่เขียนมาเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งนั่นเท่ากับว่า ณ จุดนั้น เด็กต้องอ่านภาษาอังกฤษเข้าใจแล้ว โดยโจทย์นั้นเป็นวิชาบัญชี จนพ่อยังบอกว่า "ป.1 ยังต้องมาเรียนวิชาบัญชี พอเหอะ"
ในขณะที่การบ้านที่สหรัฐอเมริกา การเรียน ป.1 คือหัดเขียนเลข 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 วาดรูป ระบายสีให้ตรงกรอบ ลากเส้นตามรอยปะเท่านั้น
ภาพจาก Saif Suhairi
ด้านคุณพ่ออธิบายเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ลูกของเขาใน ป.1 เรียนตอนนี้ เหมือนกับเด็กอนุบาลอายุ 4 ขวบเรียน มองดูแล้วเหมือนหลักสูตรไปช้ามาก แต่คุณพ่อก็ยังยืนยันว่าหลักสูตรของอเมริกาดีกว่า ซึ่งนักเรียนจริง ๆ จะไปเรียนกันเข้มข้นตอนมัธยมต้นและมัธยมปลาย และเหตุผลที่ชั้นเรียนประถมของอเมริกาไม่ได้เร่งรัดหลักสูตรอะไรมากมาย ก็เพราะต้องการให้เด็กได้เล่น ได้เรียนรู้ และสร้างทัศนคติที่ดีต่อการเรียนก่อน
อย่างไรก็ตาม หากมีนักเรียนประถมคนไหน เรียนรู้ได้ไวกว่าเพื่อนในชั้น ทางโรงเรียนก็จะเตรียมชั้นเรียนที่เข้มข้นขึ้นให้ และที่นี่มีโปรแกรมการเรียนการสอนที่หลากหลาย สำหรับนักเรียนที่มีพื้นฐานการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไป
นอกจากนี้ เขายังบอกว่า ที่อเมริกา นักเรียนไม่ต้องเอาหนังสือกลับบ้าน ให้นักเรียนเก็บหนังสือไว้ตรงลิ้นชักใต้โต๊ะได้เลย และทางโรงเรียนจะแจกโน้ตบุ๊กให้นักเรียนคนละเครื่อง และให้เอาโน้ตบุ๊กกลับบ้าน และในนั้นจะมีไฟล์ที่เอาไว้ใช้ทำการบ้าน ส่วนใหญ่การเรียนที่โรงเรียนจะยังใช้กระดาษอยู่เลย
ในแต่ละชั้นเรียน จะมีนักเรียนแค่ห้องละ 20 มากที่สุด 25 คน และทุก ๆ ชั้นเรียนจะมีครู 1 คน ครูผู้ช่วย 1 คน ครูจะทำหน้าที่สอน ครูผู้ช่วยจะคอยประกบช่วยนักเรียนให้เข้าใจงานที่สั่ง แจกงาน บอกให้นักเรียนนั่งตัวตรง ๆ ทำตัวดี ๆ เพื่อให้ครูได้สอนอย่างเต็มที่และได้โฟกัสที่พัฒนาการของเด็ก
"พอรัฐบาลเปลี่ยนที นโยบายด้านการศึกษาก็เปลี่ยนตาม และไม่ใช่สิ่งที่ดีเลยนะ และสิ่งที่สำคัญในตอนนี้คือ เราควรที่จะสนับสนุนให้เกิดการเรียนการสอนแบบคิดวิเคราะห์ ไม่ใช่ยกเลิกการเรียนการสอนแบบนี้"