นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ฟาดเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ราดยางมะตอยทำลานทับโคนต้นไม้ แบบนี้ต้นไม้ไม่ตายหมดหรือ ตั้งกฎห้ามชาวบ้านตัด ตัวเองทำต้นไม้ตายเอง ล่าสุดแจงแล้ว คืออะไร
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 เฟซบุ๊ก Vanchai Tantivitayapitak ของนายวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ปี 2554 และอดีตบรรณาธิการบริหารนิตยสารสารคดี มีการโพสต์ภาพสถานที่แห่งหนึ่ง มีการราดยางมะตอยหน้าบ้านพัก ทำเป็นที่จอดรถ โดยไม่ได้สนใจเลยว่า ตรงนั้นมีต้นไม้อยู่หลายต้น หากยังเป็นอยู่แบบนี้ ต้นไม้คงตายแน่นอน มีเหตุผล 2 ข้อ คือ
1. ยางมะตอยจะปิดผิวดินไม่ให้น้ำซึมลงดิน (ต้นไม้จะไม่ได้รับน้ำ)
2. ปิดรัดโคนต้นไม้ไว้ไม่ให้สามารถเติบโตและขยายต้นได้
สถานที่ดังกล่าว อยู่ในพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์ป่าทางภาคเหนือ ตนจึงอยากถามว่า ทำไมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบถึงจัดการดูแลเรื่องนี้แบบไม่มีความรู้ครั้งแล้วครั้งเล่า ขณะเดียวกันในเชิงกฎหมาย ต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หากชาวบ้านลักลอบตัดไม้ โทษจำคุก ทั้งที่เป็นการทำลายต้นไม้เหมือนกัน
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แจงแล้ว จะแก้ไขโดยด่วน
ต่อมา เฟซบุ๊ก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จ.เชียงใหม่ ออกมาโพสต์ชี้แจงเรื่องการเทลานทับโคนต้นไม้ว่า
1. ปัจจุบันขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการราดยางไพร์มโคท เป็นชั้นยางกันน้ำกันซึมลงผิวจราจร ซึ่งจะมีชั้นหินคลุก และดินลูกรังหนาชั้นละประมาณ 15-20 เซนติเมตร
2. ทางเขตฯ เชียงดาว ได้แจ้งให้ผู้รับเหมาแก้ไขในวันพรุ่งนี้โดยด่วน ซึ่งจะมีการแก้ไขโดยการขุดรอบ ๆ โคนต้นไม้ออกห่างโคนต้นไม้ประมาณ 1 เมตร เพื่อเปิดบริเวณรอบ ๆ โคนต้นไม้เพื่อให้ต้นไม้หายใจและต้นไม้จะได้เจริญเติบโตในวันข้างหน้าต่อไป
นอกจากนี้ ทางเราต้องกราบขออภัยในความผิดพลาดครั้งนี้ และจะแก้ไขให้ดีที่สุดโดยด่วน ไม่ให้มีเหตุการณ์แบบนี้อีก และขอบคุณทุกท่านอย่างสูงที่กรุณาแนะนำมา
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566 เฟซบุ๊ก Vanchai Tantivitayapitak ของนายวันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ นักเขียนรางวัลศรีบูรพา ปี 2554 และอดีตบรรณาธิการบริหารนิตยสารสารคดี มีการโพสต์ภาพสถานที่แห่งหนึ่ง มีการราดยางมะตอยหน้าบ้านพัก ทำเป็นที่จอดรถ โดยไม่ได้สนใจเลยว่า ตรงนั้นมีต้นไม้อยู่หลายต้น หากยังเป็นอยู่แบบนี้ ต้นไม้คงตายแน่นอน มีเหตุผล 2 ข้อ คือ
1. ยางมะตอยจะปิดผิวดินไม่ให้น้ำซึมลงดิน (ต้นไม้จะไม่ได้รับน้ำ)
2. ปิดรัดโคนต้นไม้ไว้ไม่ให้สามารถเติบโตและขยายต้นได้
สถานที่ดังกล่าว อยู่ในพื้นที่รักษาพันธุ์สัตว์ป่าทางภาคเหนือ ตนจึงอยากถามว่า ทำไมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบถึงจัดการดูแลเรื่องนี้แบบไม่มีความรู้ครั้งแล้วครั้งเล่า ขณะเดียวกันในเชิงกฎหมาย ต้นไม้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า หากชาวบ้านลักลอบตัดไม้ โทษจำคุก ทั้งที่เป็นการทำลายต้นไม้เหมือนกัน
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แจงแล้ว จะแก้ไขโดยด่วน
ต่อมา เฟซบุ๊ก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จ.เชียงใหม่ ออกมาโพสต์ชี้แจงเรื่องการเทลานทับโคนต้นไม้ว่า
1. ปัจจุบันขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนการราดยางไพร์มโคท เป็นชั้นยางกันน้ำกันซึมลงผิวจราจร ซึ่งจะมีชั้นหินคลุก และดินลูกรังหนาชั้นละประมาณ 15-20 เซนติเมตร
2. ทางเขตฯ เชียงดาว ได้แจ้งให้ผู้รับเหมาแก้ไขในวันพรุ่งนี้โดยด่วน ซึ่งจะมีการแก้ไขโดยการขุดรอบ ๆ โคนต้นไม้ออกห่างโคนต้นไม้ประมาณ 1 เมตร เพื่อเปิดบริเวณรอบ ๆ โคนต้นไม้เพื่อให้ต้นไม้หายใจและต้นไม้จะได้เจริญเติบโตในวันข้างหน้าต่อไป
นอกจากนี้ ทางเราต้องกราบขออภัยในความผิดพลาดครั้งนี้ และจะแก้ไขให้ดีที่สุดโดยด่วน ไม่ให้มีเหตุการณ์แบบนี้อีก และขอบคุณทุกท่านอย่างสูงที่กรุณาแนะนำมา