โลกออนไลน์แชร์คลิปโพสต์หาคนไปนอนโรงแรม จ่ายคืนละ 2,000
หรือเดือนละ 3 หมื่น ด้านตำรวจเตือนระวังโดนหลอก หลงเชื่อระวังเสียเงินหนัก
วันที่ 17 เมษายน 2566 ตำรวจไซเบอร์
เตือนภัยมิจฉาชีพรับสมัครผู้ทดสอบการนอนโรงแรม อ้างแค่นอนหลับก็มีรายได้
จากกรณีที่ผ่านมามีผู้เสียหายหลายรายถูกมิจฉาชีพชักชวนหลอกลวงให้ทำงาน
หรือทำภารกิจออนไลน์เพื่อหารายได้เสริม ผ่านการโฆษณาตามเฟซบุ๊ก, TikTok
และอินสตาแกรม ลงคลิปสั้น ๆ ชักชวนรับสมัครผู้ทดสอบการนอนโรงแรม
ระบุว่าได้ผลตอบแทนสูงกว่า 30,000 บาทต่อเดือน
หรืออ้างว่าจะได้ค่าจ้างจากการนอนหลับจริงกว่า 2,000 บาทต่อคืน
รวมถึงจะได้รับสวัสดิการ ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ฟรี
เมื่อผู้เสียหายสนใจ มิจฉาชีพจะให้ทดสอบแสดงความเห็น หรือรีวิวโรงแรมต่าง ๆ ก่อนที่จะได้รับงานทดสอบการนอนที่โรงแรมจริง เพื่อประเมินว่าผู้เสียหายมีความสามารถเพียงพอหรือไม่ หากผู้เสียหายแสดงความเห็นเสร็จแล้วจะได้รับเงินจริง 50 บาทต่องาน จากนั้นจะให้เข้ากลุ่มในแอปฯ Telegram แจ้งว่ามีงานภารกิจเสริมให้ทำ หลอกลวงให้ลงทุนเทรดหุ้น อ้างว่าจะได้รับกำไรมากกว่านี้
เมื่อผู้เสียหายสนใจ มิจฉาชีพจะให้ทดสอบแสดงความเห็น หรือรีวิวโรงแรมต่าง ๆ ก่อนที่จะได้รับงานทดสอบการนอนที่โรงแรมจริง เพื่อประเมินว่าผู้เสียหายมีความสามารถเพียงพอหรือไม่ หากผู้เสียหายแสดงความเห็นเสร็จแล้วจะได้รับเงินจริง 50 บาทต่องาน จากนั้นจะให้เข้ากลุ่มในแอปฯ Telegram แจ้งว่ามีงานภารกิจเสริมให้ทำ หลอกลวงให้ลงทุนเทรดหุ้น อ้างว่าจะได้รับกำไรมากกว่านี้
กระทั่งผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินไปร่วมลงทุน โดยในครั้งแรกที่ลงทุนด้วยจำนวนที่ไม่มากจะได้รับกำไรจากการลงทุนกลับคืนมาจริง จากนั้นมิจฉาชีพก็จะหลอกให้โอนเงินมาลงทุนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนไม่สามารถถอนเงินออกมาได้อ้างเหตุผลต่าง ๆ ผู้เสียหายเชื่อว่าถูกหลอกลวงจึงมาแจ้งความผ่านระบบรับแจ้งความออนไลน์ให้ดำเนินคดีกับมิจฉาชีพตามกฎหมายต่อไป
1. เมื่อพบคำเชิญชวนให้ทำงานออนไลน์ ผ่านทางข้อความสั้น (SMS) หรือประกาศ โฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก, อินสตาแกรม, TikTok อย่าเข้าไปติดต่อสมัครทำงานเป็นอันขาด มักจะมีการแอบอ้างสัญลักษณ์ของหน่วยงาน หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องมาเพิ่มความน่าเชื่อถือ
2. หลีกเลี่ยงข้อเสนอที่ฟังดูดี หรือมีผลตอบแทนสูง ทำง่าย มีขั้นตอนไม่ซับซ้อน
3. หากต้องการจะทำงานจริง ๆ ให้ปรึกษาสายด่วนของตำรวจไซเบอร์ ที่หมายเลข 1441 หรือ 08-1866-3000 เพื่อปรึกษา สอบถามว่างานดังกล่าวเข้าข่ายหลอกลวงเป็นมิจฉาชีพหรือไม่
4. หากพบว่ามีการให้โอนเงินมัดจำ หรือเงินลงทุน หรือสำรองเงินใด ๆ ก่อน สันนิษฐานได้ทันทีว่ากำลังโดนมิจฉาชีพหลอกลวง อย่าโอนเงินไปเด็ดขาด
5. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทางการเงินใด ๆ มิจฉาชีพมักให้เหยื่อส่งหลักฐาน ข้อมูลส่วนบุคคล อ้างว่าใช้ในการสมัครงาน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
6. ระมัดระวังการโอนผ่านบัญชีของบุคคลธรรมดา โดยควรตรวจสอบหมายเลขบัญชีธนาคาร หรือชื่อนามสกุลเจ้าของบัญชี ก่อนโอนเงินทุกครั้งว่ามีประวัติไม่ดีหรือไม่ ผ่าน www.blacklistseller.com หรือ www.chaladohn.com เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.สอท. - CCIB