พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา โพสต์ถอด 3 บทเรียนแห่งความสำเร็จ พาการบินไทยพ้นสภาวะล้มละลาย ออกจากแผนฟื้นฟูภายในปี 2567 เร็วกว่ากำหนด
วันที่ 16 พฤษภาคม 2566 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีการโพสต์ข้อความระบุว่า "พี่น้องประชาชนชาวไทยที่รักครับ ผมมีเรื่องที่น่ายินดีเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการบินไทย ให้หลุดพ้นจากการล้มละลาย โดยมีความเป็นไปได้สูงมาก ว่าจะสามารถออกจากแผนฟื้นฟูกิจการได้ ภายในปี 2567 ซึ่งเร็วขึ้นกว่าที่กำหนดไว้เดิม ทั้งนี้ผมขอถอดบทเรียนแห่งความสำเร็จแบบย่อ ๆ ได้ ดังนี้
ภาพจาก KITTIKUN YOKSAP / Shutterstock.com
1. ปัญหาในอดีต : การบินไทยประสบปัญหาขาดทุนสะสมต่อเนื่อง มาตั้งแต่ปี 2554 เฉลี่ยปีละกว่า 7,000 ล้านบาท ทำให้ปี 2563 มีภาระหนี้สินกว่า 300,000 ล้านบาท และขาดสภาพคล่องกว่า 54,000 ล้านบาท
2. แนวทางแก้ปัญหา : ในการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ ผมได้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาการบินไทย เพื่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของการบินไทยอย่างใกล้ชิด
ภาพจาก PANUMAS PIX / Shutterstock.com
3. ผลการดำเนินงาน : คณะกรรมการดังกล่าว ได้รายงานในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (16 พฤษภาคม 2566) ถึงผลการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความคืบหน้าอย่างมาก
(1) ในปี 2565 การบินไทยมีผลประกอบการดีขึ้นกว่าปี 2564 โดยมีรายได้รวมเพิ่มขึ้นกว่า 341% ที่เป็นผลมาจากกิจกรรมขนส่งผู้โดยสาร-สินค้า คิดเป็นกำไรราว 11,207 ล้านบาท
(2) ในไตรมาสแรกปี 2566 มีรายได้จากการขนส่งผู้โดยสาร 32,106 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ภายหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย และรัฐบาลมีนโยบายประกาศเปิดประเทศ
(3) จากแผนปฏิรูปธุรกิจ ทำให้การบินไทยสามารถลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ เป็นจำนวน 64,400 ล้านบาท/ปี ซึ่งดีกว่าเป้าหมาย 58,000 ล้านบาท/ปี
ดังนั้น จึงเป็นผลงานที่ผมเห็นว่าเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคน ที่เราสามารถรักษาการบินไทย ให้คงสถานะ "สายการบินแห่งชาติ" รองรับภารกิจสำคัญ ๆ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติ เช่น การช่วยเหลือคนไทยและการช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมในต่างแดน โดยเฉพาะในยามวิกฤต ทั้งช่วงโควิดและสงครามในซูดานที่ผ่านมา เป็นต้น
ผมขอขอบคุณและชื่นชมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและบูรณาการกัน จนสามารถสร้างความมั่นใจได้ว่าการบินไทยของเรา จะสามารถออกจากแผนฟื้นฟูได้เร็วกว่ากำหนด และพร้อมรองรับภารกิจต่าง ๆ ของรัฐบาล โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ที่ขยายตัวอย่างมากในปีนี้ และปีต่อ ๆ ไปครับ"
ขอขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha
วันที่ 16 พฤษภาคม 2566 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีการโพสต์ข้อความระบุว่า "พี่น้องประชาชนชาวไทยที่รักครับ ผมมีเรื่องที่น่ายินดีเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการบินไทย ให้หลุดพ้นจากการล้มละลาย โดยมีความเป็นไปได้สูงมาก ว่าจะสามารถออกจากแผนฟื้นฟูกิจการได้ ภายในปี 2567 ซึ่งเร็วขึ้นกว่าที่กำหนดไว้เดิม ทั้งนี้ผมขอถอดบทเรียนแห่งความสำเร็จแบบย่อ ๆ ได้ ดังนี้
ภาพจาก KITTIKUN YOKSAP / Shutterstock.com
1. ปัญหาในอดีต : การบินไทยประสบปัญหาขาดทุนสะสมต่อเนื่อง มาตั้งแต่ปี 2554 เฉลี่ยปีละกว่า 7,000 ล้านบาท ทำให้ปี 2563 มีภาระหนี้สินกว่า 300,000 ล้านบาท และขาดสภาพคล่องกว่า 54,000 ล้านบาท
2. แนวทางแก้ปัญหา : ในการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการ ผมได้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินการแก้ไขปัญหาการบินไทย เพื่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสนับสนุนการแก้ไขปัญหาของการบินไทยอย่างใกล้ชิด
ภาพจาก PANUMAS PIX / Shutterstock.com
3. ผลการดำเนินงาน : คณะกรรมการดังกล่าว ได้รายงานในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ (16 พฤษภาคม 2566) ถึงผลการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความคืบหน้าอย่างมาก
(1) ในปี 2565 การบินไทยมีผลประกอบการดีขึ้นกว่าปี 2564 โดยมีรายได้รวมเพิ่มขึ้นกว่า 341% ที่เป็นผลมาจากกิจกรรมขนส่งผู้โดยสาร-สินค้า คิดเป็นกำไรราว 11,207 ล้านบาท
(2) ในไตรมาสแรกปี 2566 มีรายได้จากการขนส่งผู้โดยสาร 32,106 ล้านบาท ซึ่งเป็นการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ภายหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย และรัฐบาลมีนโยบายประกาศเปิดประเทศ
(3) จากแผนปฏิรูปธุรกิจ ทำให้การบินไทยสามารถลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ เป็นจำนวน 64,400 ล้านบาท/ปี ซึ่งดีกว่าเป้าหมาย 58,000 ล้านบาท/ปี
ดังนั้น จึงเป็นผลงานที่ผมเห็นว่าเป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคน ที่เราสามารถรักษาการบินไทย ให้คงสถานะ "สายการบินแห่งชาติ" รองรับภารกิจสำคัญ ๆ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติ เช่น การช่วยเหลือคนไทยและการช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมในต่างแดน โดยเฉพาะในยามวิกฤต ทั้งช่วงโควิดและสงครามในซูดานที่ผ่านมา เป็นต้น
ผมขอขอบคุณและชื่นชมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและบูรณาการกัน จนสามารถสร้างความมั่นใจได้ว่าการบินไทยของเรา จะสามารถออกจากแผนฟื้นฟูได้เร็วกว่ากำหนด และพร้อมรองรับภารกิจต่าง ๆ ของรัฐบาล โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทย ที่ขยายตัวอย่างมากในปีนี้ และปีต่อ ๆ ไปครับ"