พิธา นั่งวินร่วมหารือภาคเอกชน ปมนโยบายขึ้นค่าแรง 450 บาท
ตอบข้อกังวลเรื่องเสียงโหวต ส.ว. แจงจัดตั้งรัฐบาลได้เมื่อไหร่
ภาพจาก LILLIAN SUWANRUMPHA / AFP
วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 เดลินิวส์ รายงานว่า นายพิธา
ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล
เข้าหารือผู้บริหารสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
โดยนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เข้ามาที่สำนักงาน ส.อ.ท.
พร้อมให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่ดักรอก่อนเข้าหารือ
ประเด็นความกังวลต่อการออกเสียงสนับสนุนเป็นนายกรัฐมนตรีของสมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. ที่ยังไม่ชัดเจน นายพิธา ระบุว่า ดูท่าทีวันนี้ยังไม่มีปัญหา หากมีการเจรจาจะอัปเดตให้สาธารณชนรับทราบ หาก ส.ว. มองว่าเป็นเรื่องของระบบมากกว่าเรื่องของบุคคล ต้องประคับประคองเพื่อหาทางออก ส่วน ส.ว. ที่ยังไม่ได้ตัดสินใจ แกนนำพรรคการก้าวไกลและพรรคร่วม พยายามเจรจาพูดคุยกันอยู่
ประเด็นความกังวลต่อการออกเสียงสนับสนุนเป็นนายกรัฐมนตรีของสมาชิกวุฒิสภา หรือ ส.ว. ที่ยังไม่ชัดเจน นายพิธา ระบุว่า ดูท่าทีวันนี้ยังไม่มีปัญหา หากมีการเจรจาจะอัปเดตให้สาธารณชนรับทราบ หาก ส.ว. มองว่าเป็นเรื่องของระบบมากกว่าเรื่องของบุคคล ต้องประคับประคองเพื่อหาทางออก ส่วน ส.ว. ที่ยังไม่ได้ตัดสินใจ แกนนำพรรคการก้าวไกลและพรรคร่วม พยายามเจรจาพูดคุยกันอยู่
นอกจากนี้ยังพร้อมรับฟัง 6 ข้อเสนอของภาคเอกชน ที่คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน หรือ กกร. นำเสนอไปก่อนหน้านี้ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายพรรคคือ เน้นบรรเทาทุกข์ เน้นความเท่าเทียม เน้นเรื่องความทันสมัย เป็นธรรม และต้องเป็นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมล้ำด้วย ซึ่งเชื่อว่าเมื่อนักธุรกิจได้รับฟังก็จะเห็นภาพที่ชัดเจน ในการเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงที่เศรษฐกิจโลกซบเซา
ปมขึ้นค่าแรง 450 บาท ชี้ไม่ใช่ครั้งแรก พร้อมรับฟังข้อเสนอจากเอกชน
แต่ในเรื่องของตัวเลขอัตราค่าจ้างนั้นก็เข้าใจว่า การขึ้นค่าแรงในลักษณะนี้ อาจจะกระชากไปนิดหนึ่ง แต่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกเพราะเคยเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์มาแล้ว แต่ทางคณะกรรมการเปลี่ยนผ่านกำลังไปศึกษาแพ็กเกจการขึ้นค่าแรงสมัยปี 2556 และจะมาอัปเดตรายละเอียดเรื่องการช่วยเหลือแรงงาน และภาคอุตสาหกรรมด้วย พร้อมพิจารณาเรื่องขีดความสามารถในการแข่งขัน
ขณะที่ ThaiPBS รายงานว่า นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การพูดคุยวันนี้เป็นการพบปะเพื่อสร้างความเข้าใจ และสร้างความเชื่อมั่น ในประเด็นค่าแรง, ค่าไฟ-ค่าน้ำ, การช่วยเหลือและผลักดันเอสเอ็มอี และการปฏิรูปกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการเดินหน้าเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นอีกมิติใหม่ ที่พรรคจัดตั้งรัฐบาล มีการเข้ามาเปิดมุมมองและแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน