สุดสะพรึง ! เปิดภาพเรียลไทม์ซูเปอร์ไต้ฝุ่น มาวาร์ ใหญ่สุดในรอบปี 2566

 
        ซูเปอร์ไต้ฝุ่น มาวาร์ กำลังแรงเท่าเฮอริเคนระดับ 5 ใหญ่สุดในรอบปี มุ่งหน้าถล่มฟิลิปปินส์ จับตากระทบไทยอย่างไรบ้าง



        วันที่ 27 พฤษภาคม 2566 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ซูเปอร์ไต้ฝุ่นมาวาร์ ที่มีกำลังลมแรงเทียบเท่ากับเฮอริเคนระดับ 5 ซึ่งเป็นพายุที่รุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2566 นี้ กำลังเคลื่อนตัวมุ่งหน้าสู่ประเทศฟิลิปปินส์ หลังจากพัดถล่มเกาะกวม ด้วยความเร็วลม 241 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยพายุดังกล่าวนับเป็นพายุที่รุนแรงที่สุดที่ถล่มเกาะกวมในรอบหลายสิบปี

        ศูนย์เตือนภัยไต้ฝุ่นรายงานว่า ซูเปอร์ไต้ฝุ่นมาวาร์ ดังกล่าวมีกำลังลมสูงสุดอยู่ที่ 297 กิโลเมตร ซึ่งนักพยากรณ์อากาศเตือนว่าซูเปอร์ไต้ฝุ่นลูกน่าอาจทวีกำลังแรงขึ้นอีกเมื่อเคลื่อนตัวผ่านมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ไปยังฟิลิปปินส์และไต้หวัน ช่วงเช้าที่ผ่านมา

        ล่าสุดเมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (28 พฤษภาคม 2566) พายุดังกล่าวมีศูนย์กลางในมหาสมุทรแปซิฟิกห่างจาก เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ 695 กิโลเมตร ซึ่งคาดว่าจะเข้าใกล้ในคืนวันศุกร์ หรือเช้าวันเสาร์ นี้  

       ขณะที่ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้อัพเดตสถานการณ์พายุไต้ฝุ่น "มาวาร์ (MAWAR)" บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ว่า พายุดังกล่าวกำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตก ตะวันตกเฉียงเหนือ (ห่างจากเกาะลูซอล ประเทศฟิลิปินส์ ประมาณ 1,300 กิโลเมตร) คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้บริเวณหัวเกาะลูซอล ประเทศฟิลิปินส์ และเคลื่อนที่โค้งกลับไปทางทิศเหนือ ราววันที่ 28 -30 พฤษภาคม 2566 พายุนี้ไม่มีผลกระทบโดยตรงกับประเทศไทย แต่จะดึงดูดให้มรสุมมีกำลังแรงขึ้น

        วันที่ 28-30 พฤษภาคม 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมประเทศเวียดนามตอนล่างจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยลงสู่อ่าวมะตะบัน ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นโดยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

         ส่วนในช่วงวันที่ 31 พฤษภาคม - 3 มิถุนายน 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้บริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูง ประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร



เรื่องที่คุณอาจสนใจ
สุดสะพรึง ! เปิดภาพเรียลไทม์ซูเปอร์ไต้ฝุ่น มาวาร์ ใหญ่สุดในรอบปี 2566 โพสต์เมื่อ 28 พฤษภาคม 2566 เวลา 21:11:51 61,493 อ่าน
TOP
x close