ไขปริศนาภาพไข่ประหลาดเต็มชายหาด อ.ธรณ์ เผยเป็นไข่ของหอยฝาเดียว แหล่งกำเหนิดอยู่ที่อเมริกาใต้ ไม่พบในเมืองไทย
ภาพจาก เฟซบุ๊ก สำรวจโลก
วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ผศ. ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงกรณีโลกออนไลน์แชร์ภาพไข่ประหลาดจำนวนหลายพันฟองบนชายหาด
โดยระบุข้อความว่า มีเพื่อนถามเรื่องไข่ประหลาดบนชายหาดที่ตอนนี้มีการแชร์กันเยอะ คำตอบคือไข่หอยครับ หอยดังกล่าวเป็นหอยฝาเดียวขนาดใหญ่ Adelomelon brasilianum หอยชนิดนี้ไม่พบในเมืองไทย อ่านชื่อวิทยาศาสตร์ก็คงพอทราบว่าเป็นหอยในอเมริกาใต้ (บราซิล อาร์เจนตินา ฯลฯ)
โดยระบุข้อความว่า มีเพื่อนถามเรื่องไข่ประหลาดบนชายหาดที่ตอนนี้มีการแชร์กันเยอะ คำตอบคือไข่หอยครับ หอยดังกล่าวเป็นหอยฝาเดียวขนาดใหญ่ Adelomelon brasilianum หอยชนิดนี้ไม่พบในเมืองไทย อ่านชื่อวิทยาศาสตร์ก็คงพอทราบว่าเป็นหอยในอเมริกาใต้ (บราซิล อาร์เจนตินา ฯลฯ)
หอยพวกนี้จะวางไข่ช่วงเดือนตุลาคม-พฤษภาคม ลักษณะเหมือนไข่ใส ๆ ข้างในมีน้ำหล่อเลี้ยงลูกหอย ไม่ใช่น้ำทะเลเปล่า ๆ แต่เป็นน้ำที่มีโปรตีน และเอนไซม์ช่วยเป็นอาหารทำให้หอยเติบโต หอยน้อยจะอยู่ข้างใน ใช้เวลาร่วม 2 เดือน จากนั้นแคปซูลไข่ก็จะแตก หอยน้อยคลานออกมาหลายตัวต่อ 1 ใบ ไข่พวกนี้วางไว้บนพื้น ไม่ยึดติดกับอะไร เมื่อเกิดพายุหรือคลื่นลมแรงจัด จะถูกพัดเข้ามาฝั่งเยอะแยะ
ภาพจาก เฟซบุ๊ก สำรวจโลก
แต่ปรากฏการณ์คลื่นลมแรงเกิดไม่บ่อย น้องหอยจึงไม่ค่อยตายหมู่ ยกเว้นบางจังหวะเท่านั้น สังเกตในภาพ จะเห็นหอยตัวน้อย ๆ อยู่ข้างใน ทะเลคือโลกแห่งความลึกลับ มีเรื่องอีกมากมายให้ค้นหาครับ