แบงค์ ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สส.กรุงเทพฯ พรรคก้าวไกล เปิด 2 ข้อสันนิษฐาน ทำไมคานสะพานก่อสร้างทางยกระดับลาดกระบังถล่ม จนมีคนบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายราย
วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 แบงค์ ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สส.กรุงเทพฯ พรรคก้าวไกล ได้มีการโพสต์เกี่ยวกับเหตุทำสะพานลาดกระบังถล่ม จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายราย (อ่านข่าวคลิก) โดยระบุว่า ทำไม สะพานลาดกระบัง-อ่อนนุช ถล่ม ? อธิบายโครงการก่อนนะครับว่า โครงการนี้เป็นสะพานรูปแบบ segmental box girder คือเป็นสะพานคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูป
ฐานรากเป็นระบบ barrette pile ฐานเหลี่ยม ไม่ใช่ bore pile ตัวฐานหล่อกับที่ แล้วช่วงตัวเสา ใช้การหล่อเสา precast เป็นชิ้นที่โรงงาน แล้วมาประกอบวางลงบนฐานที่หน้างาน วิธีการก่อสร้าง มีการอนุญาตให้ทำเป็นนั่งร้าน หรือจะใช้ launching truss ก็ได้ ซึ่งโครงการนี้เลือกใช้แบบ launching truss ซึ่งก็คืออุปกรณ์ติดตั้งคานแบบโครงเหล็กเลื่อน ส่วนของสะพานมี 2 ส่วน ใหญ่ ๆ คือ
1. เสา
2. คาน หรือตัวสะพาน
ภาพจาก JS100/ ร่มไทรลาดกระบัง126
สาเหตุของการถล่ม จากข้อมูลที่รับทราบตามข่าว ผมสันนิษฐานได้ 2 สาเหตุ
1. ตัวฐาน จากภาพไม่มีนั่งร้านรอบ ๆ เสาเลย สันนิษฐานว่า เป็นแบบหล่อเฉพาะฐานกับที่ ส่วนที่เหลือหล่อจากโรงงาน แล้วมาประกอบหน้างาน ซึ่งตรงนี้ต้องตรวจเช็กว่า การประกอบมีปัญหาหรือไม่
2. ปัญหาจากตัวคาน ที่ใช้วิธีการร้อยทำ ด้วย launching truss จาก VDO ตัวคานร่วงลงมาทั้งชิ้น และเมื่อร่วงลงมา ไม่มีการแตกตัวออก แปลว่า ไม่ได้อยู่ในขั้นตอนการร้อยสลิง คาดว่าตัวคานมีการร้อยครบ span แล้วจึงเกิดปัญหาตอนหลัง
ภาพจาก JS100/ ร่มไทรลาดกระบัง126
ผมจึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็น ช่วงจังหวะที่ผู้รับเหมากำลังเลื่อน truss ไป span ช่วงถัดไป ต่อแล้วเกิดการขัดข้อง ทำให้เกิดการร่วงลงมา แล้วคานที่ติดกันจึงร่วงตามลงมาด้วย คิดว่าตัว truss น่าจะมีปัญหาก่อน อีกข้อสังเกตคือ สแปนเสาถึงเสาทั่วไปจะมีความกว้างราว ๆ 30 เมตร แต่เสาของโครงการนี้ กว้างราว ๆ 36 เมตรได้ ซี่งยาวผิดปกติ ผมจึงสันนิษฐานเพิ่มเติมว่า launching truss อาจจะเก่า หรือมีการดัดแปลงหรือไม่ ? มีการตรวจเช็กสภาพหรือไม่นะครับ
ทั้งนี้ ถ้ามีข้อมูลมากกว่านี้ หรือมี vdo อีกหลายมุม จะทำให้สันนิษฐานได้ใกล้เคียงกว่าเดิม อนึ่ง การก่อสร้างแบบ Launching truss เป็นวิธีที่การก่อสร้างที่ดีนะครับ ประหยัดเวลา และใช้พื้นที่ก่อสร้างน้อย แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น อาจเกิดจากเหตุสุดวิสัย หรือความประมาท ซึ่งก็ต้องให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบกันก่อนครับ #สะพานถล่ม"
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ - Suphanat Minchaiynunt
ภาพจาก JS100/ ร่มไทรลาดกระบัง126
ภาพจาก เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ - Suphanat Minchaiynunt
ขอขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ - Suphanat Minchaiynunt
วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 แบงค์ ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สส.กรุงเทพฯ พรรคก้าวไกล ได้มีการโพสต์เกี่ยวกับเหตุทำสะพานลาดกระบังถล่ม จนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายราย (อ่านข่าวคลิก) โดยระบุว่า ทำไม สะพานลาดกระบัง-อ่อนนุช ถล่ม ? อธิบายโครงการก่อนนะครับว่า โครงการนี้เป็นสะพานรูปแบบ segmental box girder คือเป็นสะพานคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูป
ฐานรากเป็นระบบ barrette pile ฐานเหลี่ยม ไม่ใช่ bore pile ตัวฐานหล่อกับที่ แล้วช่วงตัวเสา ใช้การหล่อเสา precast เป็นชิ้นที่โรงงาน แล้วมาประกอบวางลงบนฐานที่หน้างาน วิธีการก่อสร้าง มีการอนุญาตให้ทำเป็นนั่งร้าน หรือจะใช้ launching truss ก็ได้ ซึ่งโครงการนี้เลือกใช้แบบ launching truss ซึ่งก็คืออุปกรณ์ติดตั้งคานแบบโครงเหล็กเลื่อน ส่วนของสะพานมี 2 ส่วน ใหญ่ ๆ คือ
1. เสา
2. คาน หรือตัวสะพาน
ภาพจาก JS100/ ร่มไทรลาดกระบัง126
สาเหตุของการถล่ม จากข้อมูลที่รับทราบตามข่าว ผมสันนิษฐานได้ 2 สาเหตุ
1. ตัวฐาน จากภาพไม่มีนั่งร้านรอบ ๆ เสาเลย สันนิษฐานว่า เป็นแบบหล่อเฉพาะฐานกับที่ ส่วนที่เหลือหล่อจากโรงงาน แล้วมาประกอบหน้างาน ซึ่งตรงนี้ต้องตรวจเช็กว่า การประกอบมีปัญหาหรือไม่
2. ปัญหาจากตัวคาน ที่ใช้วิธีการร้อยทำ ด้วย launching truss จาก VDO ตัวคานร่วงลงมาทั้งชิ้น และเมื่อร่วงลงมา ไม่มีการแตกตัวออก แปลว่า ไม่ได้อยู่ในขั้นตอนการร้อยสลิง คาดว่าตัวคานมีการร้อยครบ span แล้วจึงเกิดปัญหาตอนหลัง
ภาพจาก JS100/ ร่มไทรลาดกระบัง126
ผมจึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็น ช่วงจังหวะที่ผู้รับเหมากำลังเลื่อน truss ไป span ช่วงถัดไป ต่อแล้วเกิดการขัดข้อง ทำให้เกิดการร่วงลงมา แล้วคานที่ติดกันจึงร่วงตามลงมาด้วย คิดว่าตัว truss น่าจะมีปัญหาก่อน อีกข้อสังเกตคือ สแปนเสาถึงเสาทั่วไปจะมีความกว้างราว ๆ 30 เมตร แต่เสาของโครงการนี้ กว้างราว ๆ 36 เมตรได้ ซี่งยาวผิดปกติ ผมจึงสันนิษฐานเพิ่มเติมว่า launching truss อาจจะเก่า หรือมีการดัดแปลงหรือไม่ ? มีการตรวจเช็กสภาพหรือไม่นะครับ
ทั้งนี้ ถ้ามีข้อมูลมากกว่านี้ หรือมี vdo อีกหลายมุม จะทำให้สันนิษฐานได้ใกล้เคียงกว่าเดิม อนึ่ง การก่อสร้างแบบ Launching truss เป็นวิธีที่การก่อสร้างที่ดีนะครับ ประหยัดเวลา และใช้พื้นที่ก่อสร้างน้อย แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น อาจเกิดจากเหตุสุดวิสัย หรือความประมาท ซึ่งก็ต้องให้ผู้เกี่ยวข้องตรวจสอบกันก่อนครับ #สะพานถล่ม"
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ - Suphanat Minchaiynunt
ภาพจาก JS100/ ร่มไทรลาดกระบัง126
ภาพจาก เฟซบุ๊ก สรยุทธ สุทัศนะจินดา กรรมกรข่าว
ภาพจาก เฟซบุ๊ก ศุภณัฐ มีนชัยนันท์ - Suphanat Minchaiynunt