ศาลยกฟ้อง ม.112 ปีเตอร์ พ่อค้าออนไลน์ ปมปราศรัยเทียบข้าราชการทำงานมานานก็ไม่ได้มียศเท่า พล.อ.อ. ฟูฟู - ชี้คนทั่วไปไม่รู้จัก และไม่รู้เป็นสุนัขทรงเลี้ยงของใคร ไม่ถือเป็นการดูหมิ่น
วันที่ 30 สิงหาคม 2566 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ศาลจังหวัดอุดรธานี พิพากษายกฟ้อง ปีเตอร์ พ่อค้าออนไลน์วัย 29 ปี ในคดีมาตรา 112 กรณีปราศรัยเรื่องการพระราชทานยศให้ ฟูฟู สุนัขทรงเลี้ยง และงบสถาบันกษัตริย์ ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2563 ศาลเห็นว่า ประชาชนทั่วไปที่ได้ฟังคำปราศรัยเรื่องฟูฟูไม่สามารถเข้าใจได้ในทันทีว่าจำเลยหมายถึงใคร และในเรื่องงบสถาบันกษัตริย์ จำเลยก็ไม่ได้เฉพาะเจาะจงถึงกษัตริย์องค์ใด ประกอบกับสิ่งที่จำเลยปราศรัยเป็นข้อมูลที่เผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว จึงไม่ถือว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ
ศาลแจ้งว่า คำพิพากษาคดีนี้มีความเห็นแย้งในสำนวน จากนั้นได้อ่านคำพิพากษามีใจความโดยสรุปว่า เห็นว่าข้อมูลที่จำเลยนำมาปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสียงนั้นเป็นข้อมูลที่ปรากฏโดยทั่วไปในอินเทอร์เน็ต ในกรณีการใช้งบประมาณของสถาบันพระมหากษัตริย์ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนกรณีเกี่ยวกับฟูฟูสุนัขทรงเลี้ยงนั้น เมื่อผู้ที่มีความสนใจค้นหาข้อมูลโดยพิมพ์คำว่า ฟูฟู ก็จะปรากฏภาพถ่าย รวมถึงหัวข้อข่าวในอินเทอร์เน็ต
โจทก์มีพยานปากอาจารย์มหาวิทยาลัยเบิกความว่า ที่พยานทราบว่าจำเลยปราศรัยถึงสุนัขทรงเลี้ยงของรัชกาลที่ 10 ก็เนื่องมาจากพยานเคยไปช่วยงานพระราชทานปริญญาและได้พบเห็นสุนัขทรงเลี้ยงสายพันธุ์พุดเดิ้ลที่ชื่อ คุณฟูฟู กับพยานโจทก์ปากนายทหารการข่าวก็เบิกความเช่นกันว่า เหตุที่พยานรู้จักคุณฟูฟูก็เนื่องมาจากรับราชการและต้องคอยติดตามข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอ จึงทำให้ทราบว่าคุณฟูฟูคือสุนัขทรงเลี้ยงของพระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบัน
ดังนั้น การที่จำเลยพูดปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสียงเกี่ยวกับพลอากาศเอก ฟูฟู โดยเปรียบเทียบกับข้าราชการทหารที่รับราชการมานาน แต่ไม่มียศเท่ากับพลอากาศเอก ฟูฟู และเรียกร้องให้สถาบันพระมหากษัตริย์ยกเลิกการแต่งตั้งยศให้สุนัขทรงเลี้ยง ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ประชาชนทั่วไปที่ได้ฟังทราบได้โดยชัดเจนว่า จำเลยหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งเป็นการเฉพาะ เพราะประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารการเมืองการปกครองก็อาจจะไม่ทราบว่า พลอากาศเอก ฟูฟู หมายถึงใคร และเป็นสุนัขทรงเลี้ยงของใคร หากต้องการทราบก็จำต้องค้นหาข้อมูลในภายหลัง
เห็นว่า ความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์นั้น คำว่า หมิ่นประมาท หมายถึง การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม ดูหมิ่น คือ การด้อยค่า สบประมาท ทั้งนี้ จะต้องระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความหรือถูกดูหมิ่นว่าเป็นใคร หรือต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ เมื่อการปราศรัยของจำเลยถึงพลอากาศเอก ฟูฟู ยังไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปทราบในทันทีว่าหมายถึงผู้ใด
ประกอบกับพยานโจทก์ปากตำรวจชุดสืบสวนก็ไม่สามารถระบุได้ว่า ถ้อยคำใดในคำปราศรัยเป็นการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน ทั้งยังเบิกความตอบทนายจำเลยว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ หมายความรวมถึง พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งมีเป็นจำนวนหลายพระองค์ พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบจึงยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่า จำเลยได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน พิพากษายกฟ้อง
ภาพจาก มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์
ภาพจาก มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
วันที่ 30 สิงหาคม 2566 ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน รายงานว่า ศาลจังหวัดอุดรธานี พิพากษายกฟ้อง ปีเตอร์ พ่อค้าออนไลน์วัย 29 ปี ในคดีมาตรา 112 กรณีปราศรัยเรื่องการพระราชทานยศให้ ฟูฟู สุนัขทรงเลี้ยง และงบสถาบันกษัตริย์ ในการชุมนุมเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2563 ศาลเห็นว่า ประชาชนทั่วไปที่ได้ฟังคำปราศรัยเรื่องฟูฟูไม่สามารถเข้าใจได้ในทันทีว่าจำเลยหมายถึงใคร และในเรื่องงบสถาบันกษัตริย์ จำเลยก็ไม่ได้เฉพาะเจาะจงถึงกษัตริย์องค์ใด ประกอบกับสิ่งที่จำเลยปราศรัยเป็นข้อมูลที่เผยแพร่ในอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว จึงไม่ถือว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทกษัตริย์ฯ
ศาลแจ้งว่า คำพิพากษาคดีนี้มีความเห็นแย้งในสำนวน จากนั้นได้อ่านคำพิพากษามีใจความโดยสรุปว่า เห็นว่าข้อมูลที่จำเลยนำมาปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสียงนั้นเป็นข้อมูลที่ปรากฏโดยทั่วไปในอินเทอร์เน็ต ในกรณีการใช้งบประมาณของสถาบันพระมหากษัตริย์ก็เป็นเรื่องที่รัฐบาลจัดสรรงบประมาณให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนกรณีเกี่ยวกับฟูฟูสุนัขทรงเลี้ยงนั้น เมื่อผู้ที่มีความสนใจค้นหาข้อมูลโดยพิมพ์คำว่า ฟูฟู ก็จะปรากฏภาพถ่าย รวมถึงหัวข้อข่าวในอินเทอร์เน็ต
โจทก์มีพยานปากอาจารย์มหาวิทยาลัยเบิกความว่า ที่พยานทราบว่าจำเลยปราศรัยถึงสุนัขทรงเลี้ยงของรัชกาลที่ 10 ก็เนื่องมาจากพยานเคยไปช่วยงานพระราชทานปริญญาและได้พบเห็นสุนัขทรงเลี้ยงสายพันธุ์พุดเดิ้ลที่ชื่อ คุณฟูฟู กับพยานโจทก์ปากนายทหารการข่าวก็เบิกความเช่นกันว่า เหตุที่พยานรู้จักคุณฟูฟูก็เนื่องมาจากรับราชการและต้องคอยติดตามข้อมูลข่าวสารอยู่เสมอ จึงทำให้ทราบว่าคุณฟูฟูคือสุนัขทรงเลี้ยงของพระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบัน
ดังนั้น การที่จำเลยพูดปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสียงเกี่ยวกับพลอากาศเอก ฟูฟู โดยเปรียบเทียบกับข้าราชการทหารที่รับราชการมานาน แต่ไม่มียศเท่ากับพลอากาศเอก ฟูฟู และเรียกร้องให้สถาบันพระมหากษัตริย์ยกเลิกการแต่งตั้งยศให้สุนัขทรงเลี้ยง ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ประชาชนทั่วไปที่ได้ฟังทราบได้โดยชัดเจนว่า จำเลยหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งเป็นการเฉพาะ เพราะประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ติดตามข่าวสารการเมืองการปกครองก็อาจจะไม่ทราบว่า พลอากาศเอก ฟูฟู หมายถึงใคร และเป็นสุนัขทรงเลี้ยงของใคร หากต้องการทราบก็จำต้องค้นหาข้อมูลในภายหลัง
เห็นว่า ความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์นั้น คำว่า หมิ่นประมาท หมายถึง การใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม ดูหมิ่น คือ การด้อยค่า สบประมาท ทั้งนี้ จะต้องระบุถึงตัวบุคคลผู้ถูกใส่ความหรือถูกดูหมิ่นว่าเป็นใคร หรือต้องได้ความว่าหมายถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ เมื่อการปราศรัยของจำเลยถึงพลอากาศเอก ฟูฟู ยังไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปทราบในทันทีว่าหมายถึงผู้ใด
ประกอบกับพยานโจทก์ปากตำรวจชุดสืบสวนก็ไม่สามารถระบุได้ว่า ถ้อยคำใดในคำปราศรัยเป็นการดูหมิ่นหรือหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์องค์ปัจจุบัน ทั้งยังเบิกความตอบทนายจำเลยว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ หมายความรวมถึง พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งมีเป็นจำนวนหลายพระองค์ พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบจึงยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่า จำเลยได้หมิ่นประมาท ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์รัชกาลปัจจุบัน พิพากษายกฟ้อง
ภาพจาก มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์
ภาพจาก มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม ในพระบรมราชูปถัมภ์
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน