x close

ทิชชู 1 บาท ใช้เช็ดก้นไม่ได้ เข้าใจผิดกันเป็นวงกว้าง พร้อมสอนวิธีดูเลขด้านหลัง


           ทิชชู 1 บาท ใช้เช็ดก้นไม่ได้ ไม่เป็นความจริง จริง ๆ มันคือกระดาษทิชชูที่ผลิตขึ้นมาเพื่อเป็นกระดาษชำระตามมาตรฐานของจีนอยู่แล้ว พร้อมสอนวิธีดูยังไง อันไหนเช็ดก้นได้ อันไหนเช็ดก้นไม่ได้

ทิชชู
ภาพจาก Freer / Shutterstock.com

           ในตอนนี้บนโลกออนไลน์ กำลังมีประเด็นที่ส่งต่อกันเป็นวงกว้าง กับการที่มีข่าวว่าทิชชู 1 บาท ที่มักจะจัดโปรโมชั่นตามแอปพลิเคชันออนไลน์ ไม่สามารถใช้เช็ดก้นหรือใช้กับร่างกายได้ เพราะอ้างว่ากระดาษทิชชู 1 บาทนั้น ทำมาจากกระดาษที่ใช้แล้ว เอามาผ่านกระบวนการต่าง ๆ ควรใช้แค่เช็ดโต๊ะอย่างเดียว
    
           อย่างไรก็ตาม ทิชชู 1 บาท จะมีเลขที่ระบุด้านหลังถึงมาตรฐานของสินค้า ทั้ง GB/T 20808 และ GB/T 20810 ซึ่งตัวเลข 2 ตัวเลขนี้ เป็นรหัสมาตรฐาน (Standard ID) เพื่อระบุว่ากระดาษทิชชูนั้นเป็นกระดาษทิชชูประเภทใด และมีจุดประสงค์การใช้งาน รวมทั้งผลิตมาจากอะไรอีกด้วย

ทิชชู

วิธีดู กระดาษทิชชู 1 บาท และรหัสด้านหลัง ทุกอย่างใช้กับร่างกายได้หมด


           ทั้งนี้ หากพลิกด้านหลังทิชชู 1 บาท จะพบกับรหัสมาตรฐาน (Standard ID) ที่แตกต่างกัน ซึ่งจากเว็บไซต์ chinesestandard.net ได้ออกมาระบุ ดังนี้

           1. หากพบว่าทิชชูนั้นมีรหัส GB/T20810 คือ กระดาษชำระ (Toilet tissue paper) ซึ่งลักษณะเทียบเท่ากับกระดาษทิชชูแบบม้วนที่ใช้เช็ดก้นตามห้องน้ำ

           2. หากพบว่าทิชชูนั้นมีรหัส GB/T20808 คือ กระดาษอเนกประสงค์ ที่สามารถใช้ได้ในงานครัวเพื่อเช็ดคราบน้ำ คราบน้ำมัน รวมทั้งยังจัดให้สามารถจัดให้เป็นกระดาษที่ใช้เช็ดหน้า (facial tissue) เช็ดปาก (paper napkins) และมีคุณสมบัติคล้ายผ้าเช็ดหน้าอีกด้วย โดยที่กระดาษประเภทนี้ จะใช้วัตถุดิบที่มีลักษณะเป็นไฟเบอร์และไม่มีสารพิษตกค้าง อาทิ เยื่อไม้ หญ้า เยื่อไผ่ แต่จะไม่มีการใช้กระดาษรีไซเคิล กระดาษพิมพ์ รวมถึงวัสดุไฟเบอร์รีไซเคิลอื่น ๆ ในกระดาษประเภทนี้

           ด้านเพจ รีไซเคิลเดย์ Recycle Day Thailand ได้ยืนยันว่า กระดาษทุกชนิดสามารถเอามารีไซเคิลได้ หากไม่มีการปนเปื้อนสิ่งสกปรก โดนวิธีการรีไซเคิลนั้น จะเอาเยื่อกระดาษมาบดย่อย แล้วนำไปทำความสะอาดหลายขั้นตอน ผ่านความร้อน 200 องศา เพื่อดูดเอาหมึกที่ปนในเยื่อกระดาษออก

           กระดาษทิชชูในปัจจุบันส่วนใหญ่ มักเป็นกระดาษรีไซเคิลที่ผ่านกระบวนการแล้ว โดยตัวเยื่อกระดาษนั้นอาจจะมาจากกระดาษที่ใช้กันตามสำนักงาน กระดาษนิตยสาร หนังสือ มาผ่านกระบวนการและการฟอกสี และกรรมวิธีต่าง ๆ ก็จะกลายมาเป็นกระดาษทิชชูตามห้องน้ำ หรือถ้าไม่ผ่านกระบวนการฟอกสี กลายเป็นสีตุ่น ๆ น้ำตาล หรือหากผ่านการย้อมเป็นสีชมพูเพื่อให้ดูน่าใช้ขึ้น ก็จะกลายเป็นกระดาษเช็ดปากที่วางตามโต๊ะอาหาร หรือถ้าทำให้บางก็จะกลายเป็นกระดาษทิชชูม้วนใหญ่ที่เห็นตามห้าง สรุปคือ กระดาษทุกชนิดสามารถใช้เช็ดตามร่างกายได้หมด แต่ขึ้นอยู่กับความหนา ความสามารถในการย่อยสลาย และวัสดุที่ใช้เท่านั้น 

           ส่วนเหตุผลที่กระดาษทิชชูส่วนใหญ่ทำมาจากกระดาษรีไซเคิล ก็เพราะทิชชูส่วนมากจะใช้แล้วทิ้ง ป้องกันการโค่นต้นไม้เพื่อเอาไปผลิตกระดาษทิชชู

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
ทิชชู 1 บาท ใช้เช็ดก้นไม่ได้ เข้าใจผิดกันเป็นวงกว้าง พร้อมสอนวิธีดูเลขด้านหลัง อัปเดตล่าสุด 13 กันยายน 2566 เวลา 10:37:25 61,786 อ่าน
TOP