เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว. ศึกษาธิการ แนะมาตรการแก้ปัญหาหนี้สินครู วิธีนี้ใช้กับตำรวจมาแล้ว ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ไม่ตาย ใช้ปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียง มี 20 ใส่ซอง 20 ไม่มีก็ช่วยล้างจาน
วันนี้ (14 กันยายน 2566) พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประชุมหารือในการมอบนโยบายให้กับผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ โดยช่วงหนึ่งได้พูดถึงเรื่องหนี้สินครู ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลจะเข้าไปแก้ไข เรื่องนี้ต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการให้ความรู้ ทั้งในส่วนภายในกระทรวงศึกษาธิการและจากวิทยากรภายนอก แนะนำครูให้รู้จักออม รู้จักใช้เงิน และนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงตน ปลูกฝังครูบรรจุใหม่ให้เห็นในจุดนี้
พล.ต.อ. เพิ่มพูน ได้กล่าวถึงสมัยที่ยังอยู่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่ามีปรัชญาในการแก้ปัญหาหนี้สินตำรวจคือ "ไม่เบี้ยว ไม่หนี ไม่มี ไม่จ่าย ไม่ตาย" พร้อมยกตัวอย่างเรื่องที่ตำรวจมักชอบฆ่าตัวตายเมื่อมีหนี้สิน ระบุว่า
![ข้าราชการ ข้าราชการ]()
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
"ผมบอกเสมอว่าอย่าตาย คุณตายไปแล้วจะเป็นอย่างไร คนอื่นเขาจะอยู่อย่างไร แล้วผมก็จะบอกเพื่อนร่วมงานว่า ถ้าเขาตาย คุณจะใส่ซองเท่าไร คุณมาให้เขาก่อนตายดีกว่าไหม คุณไปช่วยเพื่อนร่วมงานก่อนดีไหม คุณจะใส่ซอง 500 บาท คุณก็เอาไปให้เขา 500 บาท พูดหยาบ ๆ นะ เอามาให้ตอนนี้เลย ตายไปแล้วมันไม่ได้หรอก ก็ช่วยกัน มีหลายรายที่แก้ไขปัญหาแล้วก็มาบอกว่าอับจนด้วยปัญญาจริง ๆ ก็อยากฆ่าตัวตาย ผมว่าครูก็ไม่ต่างจากตำรวจที่อยากฆ่าตัวตาย แต่โชคดีหน่อยที่ครูไม่มีปืนอยู่ใกล้ตัว ก็เลยไม่ฆ่าตัวตาย ไม่ฆ่าตัวตายดีแล้ว แต่เราต้องช่วยกัน"
สำหรับกระบวนการในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู คือ ต้องศึกษาปัญหาต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เวลาจะไปสอนก็อาจให้ครูนั่งรวมรถด้วยกัน และอย่าลืมความพอเพียง พล.ต.อ. เพิ่มพูน กล่าวว่า ตนเข้าใจความเป็นหน้าเป็นตา เช่น คุณครูจะไปงานแต่งก็ต้องใส่ซองหลักร้อยบาท ตำรวจโชคดีหน่อย ใส่ 20 บาท ก็ได้ไม่เป็นไร เพราะฉะนั้นต้องพยายามแก้ค่านิยมเรื่องนี้ ให้อยู่แบบพอเพียง มี 20 ก็ใส่ 20 ไม่มีเงินก็ไม่เป็นไร ไปงานเขาก็ไปช่วยเขาล้างจานหรือร่วมทำอะไรก็เป็นเกียรติแล้ว
พล.ต.อ. เพิ่มพูน กล่าวอีกว่า ในเชิงนโยบายจะแบ่งการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูออกเป็นหมวดหมู่ คือ สีเขียว, สีเหลือง และสีแดง
- สีเขียว คือ ครูที่มีสภาพคล่อง
- สีเหลือง คือ ครูที่มีหนี้บ้างเล็กน้อย
- สีแดง คือ ครูที่เป็นหนี้เสีย อาจถูกฟ้องล้มละลาย
![เงิน เงิน]()
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
โดยหลังจากนี้ในส่วนของครูที่มีหนี้จำนวนมาก ต้องเข้าไปทำความเข้าใจกับเจ้าหนี้ ลดหย่อนหนี้ และอาจพักหนี้ให้กับครู รวมถึงเปิดโอกาสให้ครูได้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ที่เป็นภาระกับครูน้อยที่สุด
สำหรับในเชิงนโยบาย รัฐบาลจะมีการเจรจากับสถาบันการเงินต่าง ๆ ให้ช่วยดูแลเรื่องปัญหาหนี้สินครู และอาจมีนโยบายพักหนี้ ลดเงินต้น ลดดอกเบี้ย ให้ครูชำระหนี้สินได้ง่ายขึ้นต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก ศธ.360 องศา
วันนี้ (14 กันยายน 2566) พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ประชุมหารือในการมอบนโยบายให้กับผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ โดยช่วงหนึ่งได้พูดถึงเรื่องหนี้สินครู ซึ่งถือเป็นหนึ่งในปัญหาใหญ่ที่รัฐบาลจะเข้าไปแก้ไข เรื่องนี้ต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการให้ความรู้ ทั้งในส่วนภายในกระทรวงศึกษาธิการและจากวิทยากรภายนอก แนะนำครูให้รู้จักออม รู้จักใช้เงิน และนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงตน ปลูกฝังครูบรรจุใหม่ให้เห็นในจุดนี้
พล.ต.อ. เพิ่มพูน ได้กล่าวถึงสมัยที่ยังอยู่ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่ามีปรัชญาในการแก้ปัญหาหนี้สินตำรวจคือ "ไม่เบี้ยว ไม่หนี ไม่มี ไม่จ่าย ไม่ตาย" พร้อมยกตัวอย่างเรื่องที่ตำรวจมักชอบฆ่าตัวตายเมื่อมีหนี้สิน ระบุว่า

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
"ผมบอกเสมอว่าอย่าตาย คุณตายไปแล้วจะเป็นอย่างไร คนอื่นเขาจะอยู่อย่างไร แล้วผมก็จะบอกเพื่อนร่วมงานว่า ถ้าเขาตาย คุณจะใส่ซองเท่าไร คุณมาให้เขาก่อนตายดีกว่าไหม คุณไปช่วยเพื่อนร่วมงานก่อนดีไหม คุณจะใส่ซอง 500 บาท คุณก็เอาไปให้เขา 500 บาท พูดหยาบ ๆ นะ เอามาให้ตอนนี้เลย ตายไปแล้วมันไม่ได้หรอก ก็ช่วยกัน มีหลายรายที่แก้ไขปัญหาแล้วก็มาบอกว่าอับจนด้วยปัญญาจริง ๆ ก็อยากฆ่าตัวตาย ผมว่าครูก็ไม่ต่างจากตำรวจที่อยากฆ่าตัวตาย แต่โชคดีหน่อยที่ครูไม่มีปืนอยู่ใกล้ตัว ก็เลยไม่ฆ่าตัวตาย ไม่ฆ่าตัวตายดีแล้ว แต่เราต้องช่วยกัน"
สำหรับกระบวนการในการแก้ไขปัญหาหนี้สินครู คือ ต้องศึกษาปัญหาต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เวลาจะไปสอนก็อาจให้ครูนั่งรวมรถด้วยกัน และอย่าลืมความพอเพียง พล.ต.อ. เพิ่มพูน กล่าวว่า ตนเข้าใจความเป็นหน้าเป็นตา เช่น คุณครูจะไปงานแต่งก็ต้องใส่ซองหลักร้อยบาท ตำรวจโชคดีหน่อย ใส่ 20 บาท ก็ได้ไม่เป็นไร เพราะฉะนั้นต้องพยายามแก้ค่านิยมเรื่องนี้ ให้อยู่แบบพอเพียง มี 20 ก็ใส่ 20 ไม่มีเงินก็ไม่เป็นไร ไปงานเขาก็ไปช่วยเขาล้างจานหรือร่วมทำอะไรก็เป็นเกียรติแล้ว
พล.ต.อ. เพิ่มพูน กล่าวอีกว่า ในเชิงนโยบายจะแบ่งการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูออกเป็นหมวดหมู่ คือ สีเขียว, สีเหลือง และสีแดง
- สีเขียว คือ ครูที่มีสภาพคล่อง
- สีเหลือง คือ ครูที่มีหนี้บ้างเล็กน้อย
- สีแดง คือ ครูที่เป็นหนี้เสีย อาจถูกฟ้องล้มละลาย

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
โดยหลังจากนี้ในส่วนของครูที่มีหนี้จำนวนมาก ต้องเข้าไปทำความเข้าใจกับเจ้าหนี้ ลดหย่อนหนี้ และอาจพักหนี้ให้กับครู รวมถึงเปิดโอกาสให้ครูได้เข้าถึงแหล่งเงินกู้ที่เป็นภาระกับครูน้อยที่สุด
สำหรับในเชิงนโยบาย รัฐบาลจะมีการเจรจากับสถาบันการเงินต่าง ๆ ให้ช่วยดูแลเรื่องปัญหาหนี้สินครู และอาจมีนโยบายพักหนี้ ลดเงินต้น ลดดอกเบี้ย ให้ครูชำระหนี้สินได้ง่ายขึ้นต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก ศธ.360 องศา