กรมชลประทาน แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา แนะ 11 จังหวัด เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น หลังเขื่อนเจ้าพระยาต้องเร่งระบายน้ำ เนื่องจากฝนตกหนัก-น้ำเหนือเพิ่ม
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมชลประทาน
วันที่ 20 กันยายน 2566 กรมชลประทาน ออกหนังสือ "ด่วนที่สุด" เรื่อง แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฉบับที่ 3 ถึง ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เนื่องจากอิทธิพลของร่องมรสุม พาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนัก
และจากการคาดการณ์โดยกรมชลประทาน ใน 1-3 วันข้างหน้า โดยในวันที่ 20 กันยายน 2566 ที่สถานี C2 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำไหลผ่าน ประมาณ 900-1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และคาดการณ์ปริมาณน้ำจากลำน้ำสาขามีปริมาณประมาณ 90-120 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำ ที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา มีปริมาณระหว่าง 990-1,320 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาท
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมชลประทาน
กรมชลประทานมีความจําเป็นต้องระบายนํ้าผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 700-1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ริมน้ำมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 0.60-0.80 เมตร บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณคลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และ ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา (แม่น้ำน้อย) โดยจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน หากมีปริมาณน้ำเหนือเพิ่มขึ้นที่จะส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยามากกว่า 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะแจ้งให้ทราบต่อไป
ทั้งนี้ กรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำและควบคุมปริมาณการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ให้อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวอย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน ได้แจ้งเตือน 11 จังหวัดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกาศประชาสัมพันธ์แจ้งเตือน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัท ห้างร้าน ที่ประกอบกิจการในแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร เป็นต้น รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย ขอให้เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
ทางด้าน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้อัปเดตเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ได้ประสาน 10 จังหวัด ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ รวมถึงกรุงเทพมหานคร เฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2566 เป็นต้นไป
โดยให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ พร้อมประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จุดเสี่ยงที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ให้เฝ้าระวังระดับน้ำและเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ รวมถึงแจ้งจังหวัดประสานท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบแนวคันกั้นน้ำ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย และเจ้าหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ และเตรียมความพร้อมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมชลประทาน
วันที่ 20 กันยายน 2566 กรมชลประทาน ออกหนังสือ "ด่วนที่สุด" เรื่อง แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฉบับที่ 3 ถึง ผู้อำนวยการสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เนื่องจากอิทธิพลของร่องมรสุม พาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนัก
และจากการคาดการณ์โดยกรมชลประทาน ใน 1-3 วันข้างหน้า โดยในวันที่ 20 กันยายน 2566 ที่สถานี C2 อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำไหลผ่าน ประมาณ 900-1,200 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และคาดการณ์ปริมาณน้ำจากลำน้ำสาขามีปริมาณประมาณ 90-120 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งทำให้ปริมาณน้ำ ที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา มีปริมาณระหว่าง 990-1,320 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาท
ภาพจาก เฟซบุ๊ก กรมชลประทาน
กรมชลประทานมีความจําเป็นต้องระบายนํ้าผ่านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ในอัตราระหว่าง 700-1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งจะส่งผลให้พื้นที่ริมน้ำมีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบันอีกประมาณ 0.60-0.80 เมตร บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำบริเวณคลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และ ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา (แม่น้ำน้อย) โดยจะไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชุมชน หากมีปริมาณน้ำเหนือเพิ่มขึ้นที่จะส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยามากกว่า 1,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะแจ้งให้ทราบต่อไป
ทั้งนี้ กรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำและควบคุมปริมาณการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ให้อยู่ในเกณฑ์ดังกล่าวอย่างเต็มศักยภาพ ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน ได้แจ้งเตือน 11 จังหวัดในลุ่มน้ำเจ้าพระยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกาศประชาสัมพันธ์แจ้งเตือน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บริษัท ห้างร้าน ที่ประกอบกิจการในแม่น้ำเจ้าพระยา อาทิ งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง แพร้านอาหาร เป็นต้น รวมทั้งประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำน้อย ขอให้เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
ทางด้าน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้อัปเดตเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ได้ประสาน 10 จังหวัด ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ รวมถึงกรุงเทพมหานคร เฝ้าระวังระดับน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2566 เป็นต้นไป
โดยให้จัดเจ้าหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ พร้อมประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา จุดเสี่ยงที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำ ให้เฝ้าระวังระดับน้ำและเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์น้ำ รวมถึงแจ้งจังหวัดประสานท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบแนวคันกั้นน้ำ จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย และเจ้าหน้าที่ติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์ และเตรียมความพร้อมปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย DDPM