หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน ภริยา อานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 18 ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว ครอบครัว "ปันยารชุน" ร่วมอาลัย
เรื่องราวความสำเร็จในชีวิต และหน้าที่การงานของ "อานันท์ ปันยารชุน" ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว และพ่อของลูกสาว 2 คน "นางนัดดา ไกรฤกษ์" และ "นางดารณี เจริญรัชต์ภาคย์" มีแรงผลักดันสำคัญอยู่เบื้องหลัง ซึ่งก็คือ หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน สตรีอันเป็นที่รัก ผู้อยู่เบื้องหลัง นับตั้งแต่ร่วมชีวิตคู่ สร้างครอบครัว และในวาระสุดท้าย
โดยล่าสุด (21 พฤศจิกายน 2566) มีรายงานว่า หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบในวัย 87 ปี 4 เดือน หลังจากติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสโลหิต เมื่อวันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน เวลา 8.20 น. ที่โรงพยาบาลสมิติเวชสุขุมวิท ได้จากไปอย่างสงบ ท่ามกลางการโอบกอดด้วยความรัก และความอบอุ่นของทุกคนในครอบครัว "ปันยารชุน"
ทั้งนี้ นายอานันท์ ปันยารชุน ได้กล่าวถึง หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน ภริยาอันเป็นที่รักว่า "ผมแต่งงานกับภรรยามา 66 ปีแล้ว ชีวิตคู่มีขึ้นมีลง ดีกัน ทะเลาะกัน มีความเห็นใจซึ่งกันและกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา พออายุมากขึ้น ยิ่งทำให้ผมเห็นชีวิตคนเรา มีภรรยาที่ดี มีลูกที่ดี เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด" และ "ความทรงจำที่ไม่มีวันลืมเลือน คือความสัมพันธ์ในครอบครัว"
ประวัติ หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน
หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน เป็นลื่อในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระปนัดดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีกรมพระจักรพรรดิพงษ์ และเป็นพระนัดดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์
ชื่อเดิมว่า หม่อมราชวงศ์สดศรีสุริยา จักรพันธุ์ ธิดาของพลโทหม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ (พระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ กับหม่อมหวน จักรพันธุ์ ณ อยุธยา) กับหม่อมเจ้าทิตยาทรงกลด รพีพัฒน์ (พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ กับหม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา) เกิดเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 มีพี่น้อง ร่วมบิดามารดา คือ หม่อมราชวงศ์กทลี สุนทรสิงคาล และ หม่อมราชวงศ์ตราจักร จักรพันธุ์
หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน สมรสกับ นายอานันท์ ปันยารชุน มีบุตรี 2 คน คือ
1. นางนัดดา ไกรฤกษ์ สมรสกับ นายไกรทิพย์ ไกรฤกษ์ (บุตรนายพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ อดีตเลขาธิการสำนักพระราชวัง กับ ท่านผู้หญิงกุณฑี ไกรฤกษ์)
2. นางดารณี เจริญรัชต์ภาคย์ สมรสกับ ดร.ชัชวิน เจริญรัชต์ภาคย์ (บุตรศาสตราจารย์ นาวาเอก ดร.เจริญ เจริญรัชต์ภาคย์ ร.น. อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม กับ ท่านผู้หญิงสดศรี เจริญรัชต์ภาคย์)
หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน เป็นกุลสตรีที่เพียบพร้อมด้วยความงามทั้งกายและใจ ทั้งกิริยามารยาท ที่นุ่มนวล มีเสน่ห์ ได้มีโอกาสเห็นโลกกว้างตั้งแต่เยาว์วัย โดยได้ติดตาม เมื่อท่านพ่อทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบกประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ที่ประเทศฝรั่งเศส นั้น จึงได้เรียนและพูดภาษาอังกฤษตั้งแต่เล็ก ทำให้มีความชำนิชำนาญในภาษานั้น อันเป็นคุณสมบัติติดตัวและเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตในฐานะภริยานักการทูตและผู้นำของประเทศ
ด้านการศึกษา หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน ให้ความสำคัญกับการศึกษามาก เริ่มต้นการศึกษาที่โรงเรียน มาแตร์ เดอี ณ กรุงเทพฯ, โรงเรียนอเมริกัน ณ กรุงปารีส และช่วยวัยรุ่นช่วงเวลาศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ในวิชาเลขานุการที่วิทยาลัยควีนส์ คอลเลจ ในกรุงลอนดอน ได้พบรักกับ นายอานันท์ ปันยารชุน หนุ่มนักศึกษาไทยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และได้สมรสปี พ.ศ. 2499 นับแต่นั้นมา
ชีวิตสมรส ผู้อยู่เบื้องหลังนายกรัฐมนตรี คนที่ 18
หลังจากเข้าพิธีสมรสกับ นายอานันท์ ปันยารชุน ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ประมาณ 8 ปี หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน ได้ติดตามสามีทำหน้าภริยาของเอกอัครราชทูตไทยประจำหลายสถานที่ อาทิ ประจำสหประชาชาติ แคนาดา สหรัฐอเมริกา และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และ ทำหน้าที่ภริยาปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ต่อมา ได้ทำหน้าที่ภริยานายกรัฐมนตรี นายอานันท์ ปันยารชุน สองสมัย (นายกฯ คนที่ 18 ของประเทศไทย)
นอกจากภรรยาอันเป็นที่รักของสามี และแม่ที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกสาวทั้งสองคนแล้ว หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน เป็นที่ประจักษ์ในผลงานและได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 (ภ.ป.ร.) ปี 2510 , ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) ปี 2534, ประถมมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) ปี 2534 และ มหาวิชรมงกุฎ (ม.ว.ม.) ในปี 2535
กำหนดการ พิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และพิธีสวดพระอภิธรรม
กำหนดการ พิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และพิธีสวดพระอภิธรรม บำเพ็ญกุศล หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน ม.ว.ม., ป.ช., ต.จ., ภ.ป.ร.๔ ณ ศาลาร้อยปีฯ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ในวันที่ 22 พฤศจิกายน - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2566
โดย วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 15.30 น. มีพิธีรดน้ำศพ จากนั้น 17.00 น. พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และ พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ในเวลา 18.00 น.
กำหนดการ วันพฤหัสบดีที่ 23 - วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ในเวลา 18.30 น. และตั้งแต่วันที่ 25-28 พฤศจิกายน 2566, วันที่ 3, 10, 17, 24 ธันวาคม 2566 สวดพระอภิธรรม ในเวลา 18.30 น.
เรื่องราวความสำเร็จในชีวิต และหน้าที่การงานของ "อานันท์ ปันยารชุน" ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัว และพ่อของลูกสาว 2 คน "นางนัดดา ไกรฤกษ์" และ "นางดารณี เจริญรัชต์ภาคย์" มีแรงผลักดันสำคัญอยู่เบื้องหลัง ซึ่งก็คือ หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน สตรีอันเป็นที่รัก ผู้อยู่เบื้องหลัง นับตั้งแต่ร่วมชีวิตคู่ สร้างครอบครัว และในวาระสุดท้าย
โดยล่าสุด (21 พฤศจิกายน 2566) มีรายงานว่า หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบในวัย 87 ปี 4 เดือน หลังจากติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสโลหิต เมื่อวันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน เวลา 8.20 น. ที่โรงพยาบาลสมิติเวชสุขุมวิท ได้จากไปอย่างสงบ ท่ามกลางการโอบกอดด้วยความรัก และความอบอุ่นของทุกคนในครอบครัว "ปันยารชุน"
ทั้งนี้ นายอานันท์ ปันยารชุน ได้กล่าวถึง หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน ภริยาอันเป็นที่รักว่า "ผมแต่งงานกับภรรยามา 66 ปีแล้ว ชีวิตคู่มีขึ้นมีลง ดีกัน ทะเลาะกัน มีความเห็นใจซึ่งกันและกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา พออายุมากขึ้น ยิ่งทำให้ผมเห็นชีวิตคนเรา มีภรรยาที่ดี มีลูกที่ดี เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด" และ "ความทรงจำที่ไม่มีวันลืมเลือน คือความสัมพันธ์ในครอบครัว"
ประวัติ หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน
หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน เป็นลื่อในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระปนัดดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมีกรมพระจักรพรรดิพงษ์ และเป็นพระนัดดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์
ชื่อเดิมว่า หม่อมราชวงศ์สดศรีสุริยา จักรพันธุ์ ธิดาของพลโทหม่อมเจ้าคัสตาวัส จักรพันธุ์ (พระโอรสในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ กับหม่อมหวน จักรพันธุ์ ณ อยุธยา) กับหม่อมเจ้าทิตยาทรงกลด รพีพัฒน์ (พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ กับหม่อมอ่อน รพีพัฒน์ ณ อยุธยา) เกิดเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2479 มีพี่น้อง ร่วมบิดามารดา คือ หม่อมราชวงศ์กทลี สุนทรสิงคาล และ หม่อมราชวงศ์ตราจักร จักรพันธุ์
หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน สมรสกับ นายอานันท์ ปันยารชุน มีบุตรี 2 คน คือ
1. นางนัดดา ไกรฤกษ์ สมรสกับ นายไกรทิพย์ ไกรฤกษ์ (บุตรนายพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ อดีตเลขาธิการสำนักพระราชวัง กับ ท่านผู้หญิงกุณฑี ไกรฤกษ์)
2. นางดารณี เจริญรัชต์ภาคย์ สมรสกับ ดร.ชัชวิน เจริญรัชต์ภาคย์ (บุตรศาสตราจารย์ นาวาเอก ดร.เจริญ เจริญรัชต์ภาคย์ ร.น. อดีตปลัดกระทรวงคมนาคม กับ ท่านผู้หญิงสดศรี เจริญรัชต์ภาคย์)
หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน เป็นกุลสตรีที่เพียบพร้อมด้วยความงามทั้งกายและใจ ทั้งกิริยามารยาท ที่นุ่มนวล มีเสน่ห์ ได้มีโอกาสเห็นโลกกว้างตั้งแต่เยาว์วัย โดยได้ติดตาม เมื่อท่านพ่อทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารบกประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส ที่ประเทศฝรั่งเศส นั้น จึงได้เรียนและพูดภาษาอังกฤษตั้งแต่เล็ก ทำให้มีความชำนิชำนาญในภาษานั้น อันเป็นคุณสมบัติติดตัวและเป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิตในฐานะภริยานักการทูตและผู้นำของประเทศ
ด้านการศึกษา หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน ให้ความสำคัญกับการศึกษามาก เริ่มต้นการศึกษาที่โรงเรียน มาแตร์ เดอี ณ กรุงเทพฯ, โรงเรียนอเมริกัน ณ กรุงปารีส และช่วยวัยรุ่นช่วงเวลาศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ในวิชาเลขานุการที่วิทยาลัยควีนส์ คอลเลจ ในกรุงลอนดอน ได้พบรักกับ นายอานันท์ ปันยารชุน หนุ่มนักศึกษาไทยจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และได้สมรสปี พ.ศ. 2499 นับแต่นั้นมา
ชีวิตสมรส ผู้อยู่เบื้องหลังนายกรัฐมนตรี คนที่ 18
หลังจากเข้าพิธีสมรสกับ นายอานันท์ ปันยารชุน ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ประมาณ 8 ปี หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน ได้ติดตามสามีทำหน้าภริยาของเอกอัครราชทูตไทยประจำหลายสถานที่ อาทิ ประจำสหประชาชาติ แคนาดา สหรัฐอเมริกา และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และ ทำหน้าที่ภริยาปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ต่อมา ได้ทำหน้าที่ภริยานายกรัฐมนตรี นายอานันท์ ปันยารชุน สองสมัย (นายกฯ คนที่ 18 ของประเทศไทย)
นอกจากภรรยาอันเป็นที่รักของสามี และแม่ที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกสาวทั้งสองคนแล้ว หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน เป็นที่ประจักษ์ในผลงานและได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 (ภ.ป.ร.) ปี 2510 , ตติยจุลจอมเกล้า (ต.จ.) ปี 2534, ประถมมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) ปี 2534 และ มหาวิชรมงกุฎ (ม.ว.ม.) ในปี 2535
กำหนดการ พิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และพิธีสวดพระอภิธรรม
กำหนดการ พิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และพิธีสวดพระอภิธรรม บำเพ็ญกุศล หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน ม.ว.ม., ป.ช., ต.จ., ภ.ป.ร.๔ ณ ศาลาร้อยปีฯ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ในวันที่ 22 พฤศจิกายน - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2566
โดย วันพุธที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 เวลา 15.30 น. มีพิธีรดน้ำศพ จากนั้น 17.00 น. พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และ พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ในเวลา 18.00 น.
กำหนดการ วันพฤหัสบดีที่ 23 - วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 พระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ในเวลา 18.30 น. และตั้งแต่วันที่ 25-28 พฤศจิกายน 2566, วันที่ 3, 10, 17, 24 ธันวาคม 2566 สวดพระอภิธรรม ในเวลา 18.30 น.