ค่าไฟเดือนมกราคม - เมษายน 2567 เตรียมขึ้นอีกรอบ จาก 3.99 บาท เป็น 4.68 บาท มีการรับฟัง 3 ทางเลือกและเลือกทางที่จ่ายน้อยที่สุดแล้ว
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ช่อง 3 รายงานว่า ในการประชุมครั้งที่ 53/2566 (ครั้งที่ 881) ของ กกพ. มีมติเห็นชอบให้มีการปรับค่าเอฟทีขายปลีก สำหรับเรียกเก็บในงวดเดือนมกราคม - เมษายน 2567 ซึ่งจะทำให้ค่าไฟเพิ่มขึ้น
การพิจารณาค่าเอฟทีในงวดเดือนมกราคม - เมษายน นั้น ทาง กกพ. ได้มีการคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าและขณะเดียวกัน ต้องไม่กระทบต่อศักยภาพความมั่นคงในการบริหารพลังงานของ กฟผ. โดนเป็นการปรับเพื่อให้สะท้อนค่าเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น และคืนต้นทุนบางส่วนที่ กฟผ. รับภาระไว้ เพื่อให้ กฟผ. มีสภาพคล่องในการดำเนินงานและชำระคืนเงินกู้เท่าที่จำเป็น
ก่อนหน้านี้ มีการรับฟังความคิดเห็นและมี 3 ทางเลือกคือ จ่ายคืนภาระต้นทุนค้างทั้งหมด จะทำให้ค่าไฟขยับไปที่ 5.95 บาท/หน่วย, จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 1 ปี (แบ่งจ่าย 3 งวด) จะทำให้ค่าไฟขยับไปที่ 4.93 บาท/หน่วย และจ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 2 ปี (แบ่งจ่าย 6 งวด) จะทำให้ค่าไฟขยับไปที่ 4.68 บาท/หน่วย
ด้านนายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า อัตราค่าไฟใหม่ที่เสนอมานั้นเป็นไปตามหน้าที่ของ กกพ. แต่ตนเชื่อว่าฝ่ายนโยบายจะไม่เลือกแนวทางที่ประกาศออกมาอย่างแน่นอน และต้องไปปรับลดต้นทุนต่าง ๆ เช่น การจัดสรรก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และไม่ควรมีกลุ่มผลประโยชน์ใดได้ประโยชน์มากกว่าประชาชน แนวทางการจ่ายหนี้ของ กฟผ. จึงต้องรอดูการตัดสินใจราคาสุดท้ายของฝ่ายนโยบาย จะเคาะออกมาเท่าไร
วันที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ช่อง 3 รายงานว่า ในการประชุมครั้งที่ 53/2566 (ครั้งที่ 881) ของ กกพ. มีมติเห็นชอบให้มีการปรับค่าเอฟทีขายปลีก สำหรับเรียกเก็บในงวดเดือนมกราคม - เมษายน 2567 ซึ่งจะทำให้ค่าไฟเพิ่มขึ้น
ค่าไฟฟ้าเดือนกันยายน - ธันวาคม อยู่ที่ 3.99 บาท/หน่วย ในเดือนมกราคม - เมษายน 2567 ค่าไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.68 บาท/หน่วย โดยแยกเป็นค่าไฟฐาน 3.78 บาท/หน่วย และค่าเอฟที 89.55 สตางค์/หน่วย ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม จะเริ่มเก็บในช่วงเดือนมกราคม - เมษายน 2567
ก่อนหน้านี้ มีการรับฟังความคิดเห็นและมี 3 ทางเลือกคือ จ่ายคืนภาระต้นทุนค้างทั้งหมด จะทำให้ค่าไฟขยับไปที่ 5.95 บาท/หน่วย, จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 1 ปี (แบ่งจ่าย 3 งวด) จะทำให้ค่าไฟขยับไปที่ 4.93 บาท/หน่วย และจ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 2 ปี (แบ่งจ่าย 6 งวด) จะทำให้ค่าไฟขยับไปที่ 4.68 บาท/หน่วย
ด้านนายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า อัตราค่าไฟใหม่ที่เสนอมานั้นเป็นไปตามหน้าที่ของ กกพ. แต่ตนเชื่อว่าฝ่ายนโยบายจะไม่เลือกแนวทางที่ประกาศออกมาอย่างแน่นอน และต้องไปปรับลดต้นทุนต่าง ๆ เช่น การจัดสรรก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย และไม่ควรมีกลุ่มผลประโยชน์ใดได้ประโยชน์มากกว่าประชาชน แนวทางการจ่ายหนี้ของ กฟผ. จึงต้องรอดูการตัดสินใจราคาสุดท้ายของฝ่ายนโยบาย จะเคาะออกมาเท่าไร