สภากาชาด ตอบแล้ว เหตุใดคิดค่าบริการเลือดถุงละ 2,100 บาท ทั้งที่ได้รับบริจาคมาฟรี ความจริงมันมีขั้นตอนและค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ในแง่กระบวนการต่าง ๆ
ล่าสุด วันที่ 3 ธันวาคม 2566 เฟซบุ๊ก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มีการโพสต์ชี้แจงว่า สภากาชาดไทย ไม่ได้จำหน่ายโลหิตบริจาค แต่มีการคิดค่าบริการตามต้นทุนที่ใช้จ่ายในการจัดเตรียมโลหิตให้มีคุณภาพ และปลอดภัยสูงสุดตามมาตรฐานกฎหมายสากล มีการกำหนดค่าบริการโลหิตให้โรงพยาบาลเป็นอัตราเดียวกันทั้งรัฐและเอกชน ใช้อัตราค่าบริการจากกรมบัญชีกลาง และมีค่าบริการที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในกระบวนการดังนี้
1. ค่าเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ในการรับบริจาคโลหิต เช่น
ถุงบรรจุโลหิต หลอดเก็บตัวอย่าง น้ำยาตรวจค่าความเข้มข้นเลือด
น้ำยาตรวจหมู่เลือด เป็นต้น
2. ค่าใช้จ่ายในการผลิตส่วนประกอบโลหิต ในการปั่นแยกให้เป็นส่วนประกอบชนิดต่าง ๆ เช่น เม็ดเลือดแดงเข้มข้น พลาสมา เกล็ดเลือด เป็นต้น
3. ค่าใช้จ่ายในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ค่าตรวจหมู่เลือดเอบีโอ ค่าตรวจหมู่เลือดระบบอาร์เอช ค่าตรวจกรองแอนติบอดี้ ฯลฯ
4. ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาส่วนประกอบของโลหิตชนิดต่าง ๆ และการขนส่ง เช่น ตู้เย็นเก็บเม็ดเลือดแดง 1-6 องศาเซลเซียส, ตู้เก็บเกล็ดเลือด 20-24 องศาเซลเซียส ต้องเขย่าตลอดเวลา, ตู้แช่แข็งพลาสมา -20 องศาเซลเซียส
5. ค่าใช้จ่ายในการควบคุมคุณภาพ ตามระบบ ไอเอสโอ และจีเอ็มพี ที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายด้านอาคาร รถออกหน่วยเคลื่อนที่ เครื่องมือ ครุภัณฑ์ บุคลากรสาธารณูปโภค ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ รวมแล้วจะสูงกว่าต้นทุนค่าใช้จ่ายเรียกเก็บ ส่วนต่างตรงนี้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติจะรับผิดชอบทั้งหมด และมีงบประมาณจากรัฐบาลมาช่วยเหลือ
จากกรณีโลกออนไลน์ ได้มีประเด็นเรื่องการใช้เลือดจากสภากาชาด อาทิ บางคนที่ไปบริจาคเลือดประจำ หรือมีรถรับบริจาคเลือดมาตามโรงเรียน ห้าง โรงงาน แต่เมื่อถึงเวลาที่คน ๆ นั้นต้องการใช้เลือด กลับไม่มีเลือดให้ หรือบางคนก็บอกว่า สภากาชาดเปิดรับบริจาคเลือดฟรี แต่เมื่อต้องการใช้เลือดโรงพยาบาลรัฐคิดค่าบริการถุงละ 2,100 บาท ทำให้มีการถกเถียงจำนวนมากว่าที่มาที่ไปของเรื่องนี้เป็นอย่างไรกันแน่
ล่าสุด วันที่ 3 ธันวาคม 2566 เฟซบุ๊ก ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มีการโพสต์ชี้แจงว่า สภากาชาดไทย ไม่ได้จำหน่ายโลหิตบริจาค แต่มีการคิดค่าบริการตามต้นทุนที่ใช้จ่ายในการจัดเตรียมโลหิตให้มีคุณภาพ และปลอดภัยสูงสุดตามมาตรฐานกฎหมายสากล มีการกำหนดค่าบริการโลหิตให้โรงพยาบาลเป็นอัตราเดียวกันทั้งรัฐและเอกชน ใช้อัตราค่าบริการจากกรมบัญชีกลาง และมีค่าบริการที่เกิดจากค่าใช้จ่ายในกระบวนการดังนี้
2. ค่าใช้จ่ายในการผลิตส่วนประกอบโลหิต ในการปั่นแยกให้เป็นส่วนประกอบชนิดต่าง ๆ เช่น เม็ดเลือดแดงเข้มข้น พลาสมา เกล็ดเลือด เป็นต้น
3. ค่าใช้จ่ายในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ค่าตรวจหมู่เลือดเอบีโอ ค่าตรวจหมู่เลือดระบบอาร์เอช ค่าตรวจกรองแอนติบอดี้ ฯลฯ
4. ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาส่วนประกอบของโลหิตชนิดต่าง ๆ และการขนส่ง เช่น ตู้เย็นเก็บเม็ดเลือดแดง 1-6 องศาเซลเซียส, ตู้เก็บเกล็ดเลือด 20-24 องศาเซลเซียส ต้องเขย่าตลอดเวลา, ตู้แช่แข็งพลาสมา -20 องศาเซลเซียส
5. ค่าใช้จ่ายในการควบคุมคุณภาพ ตามระบบ ไอเอสโอ และจีเอ็มพี ที่เกี่ยวข้อง
นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายด้านอาคาร รถออกหน่วยเคลื่อนที่ เครื่องมือ ครุภัณฑ์ บุคลากรสาธารณูปโภค ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และอื่น ๆ รวมแล้วจะสูงกว่าต้นทุนค่าใช้จ่ายเรียกเก็บ ส่วนต่างตรงนี้ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติจะรับผิดชอบทั้งหมด และมีงบประมาณจากรัฐบาลมาช่วยเหลือ