ทายาทเศรษฐี ไม่พอใจรับมรดกเกือบพันล้านมาฟรี ๆ ภาษีก็ไม่ต้องเสีย เตรียมหาคนแปลกหน้า 50 คน มาช่วยคิด จะแจกจ่ายเงินนี้ยังไง
รายงานเผยว่า มาร์ลีน เองเกลฮอร์น เป็นลูกหลานของ ฟรีดริช เองเกลฮอร์น ผู้ก่อตั้ง BASF บริษัทเคมีและเภสัชกรรมสัญชาติเยอรมัน และในตอนที่ เทราเดิล เอนเกลฮอร์น-เวเคียตโต คุณย่าของมาร์ลีนเสียชีวิตเมื่อเดือนกันยายน 2565 เธอก็ได้รับเงินมรดกจำนวนมหาศาล
อย่างไรก็ตาม เธอรู้สึกว่าความร่ำรวยมั่งคั่งและอำนาจที่ได้รับมานั้น เป็นสิ่งที่เธอได้สืบทอดมาเฉย ๆ ทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรเลย เงินทองเหล่านี้ถูกสั่งสมมาตั้งแต่ก่อนที่เธอจะเกิด โดยฝีมือของคนอื่น ๆ ที่ทำงาน ในขณะที่ครอบครัวของเธอสามารถสืบทอดความเป็นเจ้าของ และเก็บเกี่ยวผลพวงจากแรงงานนั้น แถมทางรัฐบาลเองก็ไม่ได้เรียกเก็บภาษีมรดกหรือภาษีจากความมั่งคั่งใด ๆ เธอจึงตัดสินใจที่จะแบ่งปันทรัพย์สมบัติเหล่านี้ออกไป โดยขอให้พลเมืองชาวออสเตรียเข้ามามีส่วนร่วม
ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา มาร์ลีนได้สุ่มเลือกคนจำนวน 10,000 คน และเชิญชวนให้พวกเขาตอบแบบสำรวจ ซึ่งในบรรดาคนที่ตอบแบบสำรวจมาแล้ว เธอจะคัดเลือกให้เหลือเพียง 50 คน จากภูมิหลังที่แตกต่างกัน เพื่อมาหารือร่วมกันว่าเธอควรจะแจกจ่ายเงินเหล่านี้ออกไปอย่างไร
แนวคิดดังกล่าวเป็นหนทางการต่อสู้ของทายาทเศรษฐีผู้นี้ ต่อสิ่งที่เธอคิดว่าไม่เป็นธรรม เธอเชื่อว่าทายาทเศรษฐีส่วนมากแทบไม่ได้คืนความร่ำรวยของพวกเขากลับสู่สังคม อีกทั้งยังได้รับประโยชน์จากสิทธิพิเศษทางภาษี ดังนั้นหากนักการเมืองไม่ทำงานและแจกจ่ายเงินเหล่านี้ต่อ เธอก็ต้องการที่จะแจกจ่ายความมั่งคั่งที่มีด้วยตัวเธอเอง
ส่วนเหตุผลที่เธอเลือกจะคัดเลือกคนอื่น ๆ มาช่วยกันตัดสินใจว่าจะแจกจ่ายเงินอย่างไร แทนที่จะบริจาคเงินเหล่านั้นด้วยตัวเอง เพราะเธอมองว่ามันเป็นการมอบอำนาจให้เธอ ทั้งที่เธอไม่ควรมีอำนาจนั้นนั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก CBS NEWS, Indy100
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Millionaires for Humanity
วันที่ 12 มกราคม 2567 เว็บไซต์ซีบีเอสนิวส์ รายงานว่า มาร์ลีน เองเกลฮอร์น มหาเศรษฐีชาวออสเตรีย วัย 31 ปี ซึ่งได้รับสืบทอดมรดกกว่า 25 ล้านยูโร (ราว 969 ล้านบาท) จากผู้เป็นย่า กำลังหาหนทางต่อสู้กับความไม่เท่าเทียมด้านความมั่งคั่งในสังคมตามแนวทางของตัวเอง โดยจะอนุญาตให้คนแปลกหน้าจำนวน 50 คน มาเป็นผู้ตัดสินว่าเธอควรจะทำอย่างไรในการแจกจ่ายเงินมรดกก้อนนี้ รายงานเผยว่า มาร์ลีน เองเกลฮอร์น เป็นลูกหลานของ ฟรีดริช เองเกลฮอร์น ผู้ก่อตั้ง BASF บริษัทเคมีและเภสัชกรรมสัญชาติเยอรมัน และในตอนที่ เทราเดิล เอนเกลฮอร์น-เวเคียตโต คุณย่าของมาร์ลีนเสียชีวิตเมื่อเดือนกันยายน 2565 เธอก็ได้รับเงินมรดกจำนวนมหาศาล
อย่างไรก็ตาม เธอรู้สึกว่าความร่ำรวยมั่งคั่งและอำนาจที่ได้รับมานั้น เป็นสิ่งที่เธอได้สืบทอดมาเฉย ๆ ทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรเลย เงินทองเหล่านี้ถูกสั่งสมมาตั้งแต่ก่อนที่เธอจะเกิด โดยฝีมือของคนอื่น ๆ ที่ทำงาน ในขณะที่ครอบครัวของเธอสามารถสืบทอดความเป็นเจ้าของ และเก็บเกี่ยวผลพวงจากแรงงานนั้น แถมทางรัฐบาลเองก็ไม่ได้เรียกเก็บภาษีมรดกหรือภาษีจากความมั่งคั่งใด ๆ เธอจึงตัดสินใจที่จะแบ่งปันทรัพย์สมบัติเหล่านี้ออกไป โดยขอให้พลเมืองชาวออสเตรียเข้ามามีส่วนร่วม
ในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา มาร์ลีนได้สุ่มเลือกคนจำนวน 10,000 คน และเชิญชวนให้พวกเขาตอบแบบสำรวจ ซึ่งในบรรดาคนที่ตอบแบบสำรวจมาแล้ว เธอจะคัดเลือกให้เหลือเพียง 50 คน จากภูมิหลังที่แตกต่างกัน เพื่อมาหารือร่วมกันว่าเธอควรจะแจกจ่ายเงินเหล่านี้ออกไปอย่างไร
ภาพจาก FABRICE COFFRINI / AFP
โดยผู้ที่ได้รับคัดเลือกจะต้องมาประชุมร่วมกันในวันสุดสัปดาห์ 6
ครั้ง ระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน
เพื่อร่วมกันคิดว่ามาร์ลีนจะใช้ทรัพย์สินเหล่านี้สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างไร
ซึ่งแต่ละคนจะได้รับเงิน 1,200 ยูโร (ราว 46,000 บาท)
ในทุกสุดสัปดาห์ที่เข้าร่วม เป็นเงินชดเชยค่าเดินทางและที่พัก
รวมถึงจะมีบริการดูแลเด็กให้สำหรับคนที่ต้องการด้วย
แนวคิดดังกล่าวเป็นหนทางการต่อสู้ของทายาทเศรษฐีผู้นี้ ต่อสิ่งที่เธอคิดว่าไม่เป็นธรรม เธอเชื่อว่าทายาทเศรษฐีส่วนมากแทบไม่ได้คืนความร่ำรวยของพวกเขากลับสู่สังคม อีกทั้งยังได้รับประโยชน์จากสิทธิพิเศษทางภาษี ดังนั้นหากนักการเมืองไม่ทำงานและแจกจ่ายเงินเหล่านี้ต่อ เธอก็ต้องการที่จะแจกจ่ายความมั่งคั่งที่มีด้วยตัวเธอเอง
ส่วนเหตุผลที่เธอเลือกจะคัดเลือกคนอื่น ๆ มาช่วยกันตัดสินใจว่าจะแจกจ่ายเงินอย่างไร แทนที่จะบริจาคเงินเหล่านั้นด้วยตัวเอง เพราะเธอมองว่ามันเป็นการมอบอำนาจให้เธอ ทั้งที่เธอไม่ควรมีอำนาจนั้นนั่นเอง
ติดตามอ่าน ข่าวต่างประเทศ ที่น่าสนใจได้ที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก CBS NEWS, Indy100