วิธีทำให้น้ำไหลแรง ด้วยขวดน้ำยาล้างจานเพียงขวดเดียว คนสงสัยไหลแรงได้ไง ก่อนมีคนมาเฉลยปริศนา มีหลากทฤษฎี แต่ค่อนข้างเรียกว่าไปในทิศทางเดียวกัน
หนึ่งในวิธีการที่ทำให้น้ำไหลจากก๊อกน้ำแรงขึ้น สิ่งที่คนทั่วไปทำก็คงหนีไม่พ้นการซื้อเครื่องปั๊มน้ำมาใช้ เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดแล้ว จ่ายเงินแล้วจบในทันที แต่คงมีน้อยคนที่รู้ว่า เรายังมีวิธีที่ทำให้น้ำไหลได้แรงโดยที่ไม่ต้องใช้เครื่องปั๊มน้ำ แค่ต้องใช้ทริกเล็กน้อย
วันที่ 28 มกราคม 2567 คุณ @Passornmail สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม มีการลงคลิปคอนเทนต์ "เหลื่อเชื่อ ทำแบบนี้น้ำพุ่งกระจาย" เป็นการสอนทริกการทำให้น้ำพุ่งออกจากก๊อกแรงขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาสามัญประจำบ้าน
สำหรับเทคนิค ในคลิปบอกให้เตรียมอุปกรณ์ดังนี้
1. ขวดเปล่า (ในคลิปเป็นขวดน้ำยาล้างจาน)
2. ท่อพีวีซีที่เหลือใช้
3. กาว
4. ข้อต่อ 3 ทาง
เมื่อได้อุปกรณ์ครบแล้ว ให้เอากาวทาตรงท่อแล้วเสียบเข้าไปในขวดเปล่า ลึกเกือบสุด อีกด้านให้เอาหัวเสียบกับข้อต่อ 3 ทาง ซึ่งตรงข้อต่อ 3 ทาง จะมี 2 มุมที่ยังว่างอยู่ มุมหนึ่งเอาท่อหัวมุมมาเสียบทำเป็นหัวก๊อก อีกมุมเอาไปเชื่อมเข้ากับท่อน้ำตัวหลักที่น้ำไหล โดยที่ไม่ต้องกลัวว่า ขวดจะหลุด เพราะขวดอยู่หน้าก๊อกเปิดน้ำ
เพียงเท่านี้ น้ำที่เปิดออกมาก็จะมีความดันที่แรงขึ้น พร้อมจับสังเกตได้ว่า ตอนที่เปิดน้ำนั้น จะมีน้ำส่วนหนึ่งไหลแยกเข้าไปในขวดด้วย
ชาวพันทิปสงสัย ทฤษฎีนี้เป็นไปได้ยังไง
อย่างไรก็ตาม มีชาวเน็ตสงสัยเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ จนไปตั้งกระทู้ในพันทิป ว่า "ทำไมแรงดันน้ำจึงเพิ่มขึ้นจากการติดตั้งแบบนี้" มันเป็นไปได้อย่างไร แล้วต้องคอยเอาอากาศที่ขังอยู่ในขวดออกไปไหมเมื่อมันเต็ม
ความคิดเห็นชาวเน็ต ก็ตีความทฤษฎีนี้ตามมุมมองของตัวเอง ยอมรับว่า น้ำดูแรงขึ้นจริง แต่สาเหตุมาจากการบีบปลายท่อน้ำให้น้ำออกน้อย ๆ จนน้ำไปขังอยู่ในขวดที่มีอากาศอยู่ พอน้ำไปดันอากาศในขวด อากาศในขวดก็จะดันน้ำกลับลงมาจนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม วิธีนี้จะใช้ไม่ได้ผลถ้าหากน้ำต้นทางมาเบา
นอกจากนี้ ทฤษฎีดังกล่าว อาจจะคล้ายกับปืนฉีดน้ำอัดลมหรือกระบอกฉีดน้ำ ถ้าใส่น้ำเกือบเต็ม มีช่องอาการเล็กน้อย แล้วปั๊มลมอัดไปมาก ๆ อากาศจะดันน้ำพุ่งได้ไกล
ทฤษฎีแอร์แว
อีกหนึ่งความเห็น นำข้อมูลจาก มูลนิธิอุทกพัฒน์ในพระบรมราชูปถัมป์ ยกทฤษฎีแอร์แว เป็นอุปกรณ์ที่ต่อหลังเครื่องสูบน้ำ โดยท่อน้ำนี้จะมีท่อแนวดิ่งปิดเอาไว้ 2 ท่อ เหมือนกับขวดน้ำในคลิปดังกล่าว
ผลการทดสอบ ระบุว่า แอร์แวไม่ได้เพิ่มแรงดันน้ำ แต่ช่วยให้เครื่องสูบน้ำทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยดักอากาศที่มากับน้ำเก็บไว้ในท่อน้ำปิด (อากาศไปแวะ) ทำให้มวลน้ำขาออกมีปริมาณต่อหน่วยเวลามากขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อความดันจากเครื่องสูบน้ำไม่คงที่ ช่วงที่แรงดันสูงแรงดันที่สูงนี้จะดันอากาศในท่อหดตัว เมื่อแรงดันจากเครื่องสูบน้ำต่ำ อากาศในท่อขยายตัวดันน้ำขาออกช่วยดันให้น้ำไปได้ไกลขึ้น และช่วยรักษาแรงดันน้ำปลายทางให้คงที่
บางคอมเมนต์ก็เสริมข้อมูลเพิ่มเติมว่า เทคนิคนี้สามารถช่วยส่งน้ำไปไกลขึ้นและสูงขึ้นได้ แต่ถ้าเอามาลงตุ่มอาจจะไม่มีประโยชน์เท่าไร มันจะแรงแค่ช่วงแรก สักพักก็แรงเท่าแรงดันน้ำปกติ
หลักการเพิ่มแรงดัน 2 ด้าน
อีกหนึ่งทฤษฎีที่ยกมาคือ หลักการเพิ่มแรงดัน 2 ด้าน โดยปกติน้ำที่ไหลออกมาจากต้นทางจะมีแรงดันสูง แต่เมื่ออยู่ปลายสายกลับมีแรงที่ลดลงเนื่องจากเจอกับแรงต้านทานสูง ทำให้น้ำออกมาไม่แรง ดังนั้นต้องสร้างแรงดันเพิ่มจากการเติมขวดดังในคลิป เพื่อให้ตรงปลายสายมีแรงดันสู้กับแรงต้านทานได้
ถ้าอยากได้แรงดันสูงมาก ก็เพิ่มกระบอกน้ำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทว่าต่อให้ใหญ่แค่ไหน แรงดันก็จะไม่มีทางสูงไปกว่าต้นทาง เพราะถ้ามากกว่าจะทำให้น้ำไหลย้อนกลับ
หลักการแอร์แซมเบอร์
ยังมีความเห็นจากคนที่ระบุว่า ตัวเองเรียนในด้านก่อสร้าง ให้ความเห็นว่า ระบบนี้เรียกว่า แอร์แซมเบอร์ มันไม่ช่วยให้น้ำแรง แต่ช่วยลดแรงกระแทกของน้ำที่สร้างความเสียหายต่อข้อต่อและวาล์ว ให้ลองสังเกตดู เวลาเปิดน้ำแล้วมีแรงกระแทกแรงกระชากตึง ๆ ซึ่งแรงนี้จะทำให้ชิ้นส่วนต่าง ๆ เสียหาย รั่วซึม ถ้าติดตั้งขวดแบบนี้จะเป็นเหมือนโครถ เวลามีแรงกระแทกมันจะไปอัดกระแทกลมส่วนนี้แทน
หลักการขวดเหมือนสปริง
คอมเมนต์นี้อธิบายว่า ให้คิดว่าอากาศที่บีบอัดในขวดเหมือนสปริง ตอนปิดน้ำ แรงดันน้ำในท่อจะไปอัดสปริงให้หดลง พอเปิดน้ำใช้ แรงดันน้ำในท่อจะตกลง สปริงที่บีบตัวอยู่ก็จะส่งแรงผลักน้ำกลับมา (ไม่แรงกว่าแรงดันน้ำที่มีในตอนแรก) กระทั่งเปิดใช้สักพัก สปริงมันก็ยืดตัวหมดแรงส่ง แล้วแรงดันน้ำก็จะน้อยลงเหมือนเดิม ทางแก้ถ้าอยากได้แรงดันคงที่นาน ๆ ขึ้น ต้องต่อหลายขวดแบบขนาด
อย่างไรก็ตาม บางคนก็บอกว่า ทฤษฎีเหล่านี้ไม่มีจริง เพราะถ้าหากมีจริงคงทำกันไปทั้งโลกแล้ว และธุรกิจเครื่องปั๊มน้ำคงไม่ขายดีอย่างแน่นอน
หนึ่งในวิธีการที่ทำให้น้ำไหลจากก๊อกน้ำแรงขึ้น สิ่งที่คนทั่วไปทำก็คงหนีไม่พ้นการซื้อเครื่องปั๊มน้ำมาใช้ เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดแล้ว จ่ายเงินแล้วจบในทันที แต่คงมีน้อยคนที่รู้ว่า เรายังมีวิธีที่ทำให้น้ำไหลได้แรงโดยที่ไม่ต้องใช้เครื่องปั๊มน้ำ แค่ต้องใช้ทริกเล็กน้อย
วันที่ 28 มกราคม 2567 คุณ @Passornmail สมาชิกเว็บไซต์ยูทูบดอทคอม มีการลงคลิปคอนเทนต์ "เหลื่อเชื่อ ทำแบบนี้น้ำพุ่งกระจาย" เป็นการสอนทริกการทำให้น้ำพุ่งออกจากก๊อกแรงขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาสามัญประจำบ้าน
สำหรับเทคนิค ในคลิปบอกให้เตรียมอุปกรณ์ดังนี้
1. ขวดเปล่า (ในคลิปเป็นขวดน้ำยาล้างจาน)
2. ท่อพีวีซีที่เหลือใช้
3. กาว
4. ข้อต่อ 3 ทาง
เมื่อได้อุปกรณ์ครบแล้ว ให้เอากาวทาตรงท่อแล้วเสียบเข้าไปในขวดเปล่า ลึกเกือบสุด อีกด้านให้เอาหัวเสียบกับข้อต่อ 3 ทาง ซึ่งตรงข้อต่อ 3 ทาง จะมี 2 มุมที่ยังว่างอยู่ มุมหนึ่งเอาท่อหัวมุมมาเสียบทำเป็นหัวก๊อก อีกมุมเอาไปเชื่อมเข้ากับท่อน้ำตัวหลักที่น้ำไหล โดยที่ไม่ต้องกลัวว่า ขวดจะหลุด เพราะขวดอยู่หน้าก๊อกเปิดน้ำ
เพียงเท่านี้ น้ำที่เปิดออกมาก็จะมีความดันที่แรงขึ้น พร้อมจับสังเกตได้ว่า ตอนที่เปิดน้ำนั้น จะมีน้ำส่วนหนึ่งไหลแยกเข้าไปในขวดด้วย
ชาวพันทิปสงสัย ทฤษฎีนี้เป็นไปได้ยังไง

อย่างไรก็ตาม มีชาวเน็ตสงสัยเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ จนไปตั้งกระทู้ในพันทิป ว่า "ทำไมแรงดันน้ำจึงเพิ่มขึ้นจากการติดตั้งแบบนี้" มันเป็นไปได้อย่างไร แล้วต้องคอยเอาอากาศที่ขังอยู่ในขวดออกไปไหมเมื่อมันเต็ม
ความคิดเห็นชาวเน็ต ก็ตีความทฤษฎีนี้ตามมุมมองของตัวเอง ยอมรับว่า น้ำดูแรงขึ้นจริง แต่สาเหตุมาจากการบีบปลายท่อน้ำให้น้ำออกน้อย ๆ จนน้ำไปขังอยู่ในขวดที่มีอากาศอยู่ พอน้ำไปดันอากาศในขวด อากาศในขวดก็จะดันน้ำกลับลงมาจนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม วิธีนี้จะใช้ไม่ได้ผลถ้าหากน้ำต้นทางมาเบา
นอกจากนี้ ทฤษฎีดังกล่าว อาจจะคล้ายกับปืนฉีดน้ำอัดลมหรือกระบอกฉีดน้ำ ถ้าใส่น้ำเกือบเต็ม มีช่องอาการเล็กน้อย แล้วปั๊มลมอัดไปมาก ๆ อากาศจะดันน้ำพุ่งได้ไกล
ทฤษฎีแอร์แว

ผลการทดสอบ ระบุว่า แอร์แวไม่ได้เพิ่มแรงดันน้ำ แต่ช่วยให้เครื่องสูบน้ำทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยดักอากาศที่มากับน้ำเก็บไว้ในท่อน้ำปิด (อากาศไปแวะ) ทำให้มวลน้ำขาออกมีปริมาณต่อหน่วยเวลามากขึ้น ขณะเดียวกันเมื่อความดันจากเครื่องสูบน้ำไม่คงที่ ช่วงที่แรงดันสูงแรงดันที่สูงนี้จะดันอากาศในท่อหดตัว เมื่อแรงดันจากเครื่องสูบน้ำต่ำ อากาศในท่อขยายตัวดันน้ำขาออกช่วยดันให้น้ำไปได้ไกลขึ้น และช่วยรักษาแรงดันน้ำปลายทางให้คงที่
บางคอมเมนต์ก็เสริมข้อมูลเพิ่มเติมว่า เทคนิคนี้สามารถช่วยส่งน้ำไปไกลขึ้นและสูงขึ้นได้ แต่ถ้าเอามาลงตุ่มอาจจะไม่มีประโยชน์เท่าไร มันจะแรงแค่ช่วงแรก สักพักก็แรงเท่าแรงดันน้ำปกติ
หลักการเพิ่มแรงดัน 2 ด้าน
อีกหนึ่งทฤษฎีที่ยกมาคือ หลักการเพิ่มแรงดัน 2 ด้าน โดยปกติน้ำที่ไหลออกมาจากต้นทางจะมีแรงดันสูง แต่เมื่ออยู่ปลายสายกลับมีแรงที่ลดลงเนื่องจากเจอกับแรงต้านทานสูง ทำให้น้ำออกมาไม่แรง ดังนั้นต้องสร้างแรงดันเพิ่มจากการเติมขวดดังในคลิป เพื่อให้ตรงปลายสายมีแรงดันสู้กับแรงต้านทานได้
ถ้าอยากได้แรงดันสูงมาก ก็เพิ่มกระบอกน้ำให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทว่าต่อให้ใหญ่แค่ไหน แรงดันก็จะไม่มีทางสูงไปกว่าต้นทาง เพราะถ้ามากกว่าจะทำให้น้ำไหลย้อนกลับ
หลักการแอร์แซมเบอร์

ยังมีความเห็นจากคนที่ระบุว่า ตัวเองเรียนในด้านก่อสร้าง ให้ความเห็นว่า ระบบนี้เรียกว่า แอร์แซมเบอร์ มันไม่ช่วยให้น้ำแรง แต่ช่วยลดแรงกระแทกของน้ำที่สร้างความเสียหายต่อข้อต่อและวาล์ว ให้ลองสังเกตดู เวลาเปิดน้ำแล้วมีแรงกระแทกแรงกระชากตึง ๆ ซึ่งแรงนี้จะทำให้ชิ้นส่วนต่าง ๆ เสียหาย รั่วซึม ถ้าติดตั้งขวดแบบนี้จะเป็นเหมือนโครถ เวลามีแรงกระแทกมันจะไปอัดกระแทกลมส่วนนี้แทน
หลักการขวดเหมือนสปริง
คอมเมนต์นี้อธิบายว่า ให้คิดว่าอากาศที่บีบอัดในขวดเหมือนสปริง ตอนปิดน้ำ แรงดันน้ำในท่อจะไปอัดสปริงให้หดลง พอเปิดน้ำใช้ แรงดันน้ำในท่อจะตกลง สปริงที่บีบตัวอยู่ก็จะส่งแรงผลักน้ำกลับมา (ไม่แรงกว่าแรงดันน้ำที่มีในตอนแรก) กระทั่งเปิดใช้สักพัก สปริงมันก็ยืดตัวหมดแรงส่ง แล้วแรงดันน้ำก็จะน้อยลงเหมือนเดิม ทางแก้ถ้าอยากได้แรงดันคงที่นาน ๆ ขึ้น ต้องต่อหลายขวดแบบขนาด
อย่างไรก็ตาม บางคนก็บอกว่า ทฤษฎีเหล่านี้ไม่มีจริง เพราะถ้าหากมีจริงคงทำกันไปทั้งโลกแล้ว และธุรกิจเครื่องปั๊มน้ำคงไม่ขายดีอย่างแน่นอน