ไวรัลใช้น้ำยาล้างจานราดใส่ปลาเป็น ๆ ทำให้สดก่อนนำส่งขาย ชี้ ขนาดต่างประเทศยังล้างจานโดยไม่ล้างฟองก็ไม่เป็นอะไร เพราะเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ด้านอาจารย์เจษฎา ชี้แจง เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
วันที่ 31 มกราคม 2567 เรื่องเล่าเช้านี้ รายงานว่า ตอนนี้ในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กกำลังมีดราม่าการใช้น้ำยาล้างจานราดไปที่ปลาตัวเป็น ๆ เพื่อทำให้ปลาสดและไม่น็อกน้ำ ก่อนที่จะนำส่งขายตามตลาดต่อไป
ทั้งนี้ คนทำยืนยันว่า การใช้น้ำยาล้างจานไม่มีผลเสีย เพราะเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ อย่างเราใช้น้ำยาล้างจานในการล้างจาน เอามากินข้าวต่อก็ไม่มีปัญหาอะไร ส่วนต่างประเทศก็ล้างจานเป็นฟอง แต่ไม่ล้างน้ำ ก็ไม่มีปัญหาอะไรเช่นกัน
อ.เจษฎา ชี้แจง น้ำยาล้างจานคือสารเคมี
เฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ของนายเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการโพสต์ถึงเรื่องดังกล่าวว่า
น้ำยาล้างจาน แม้จะมีหลายสูตรผสม แต่ก็เป็นสารเคมีที่ใช้ทำครัวเรือน โดยองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีคุณสมบัติลดแรงตึงผิว ทำให้คราบไขมันคราบสกปรกหลุดออกจากจานชามได้ง่ายขึ้น และไม่ได้จัดว่าเป็นอาหารสำหรับการบริโภคแต่อย่างไร แม้จะเรียกว่าเป็นแบบ food grade ก็ตาม (ซึ่งหมายถึงใช้กับภาชนะใส่อาหารได้ แต่ไม่ได้แปลว่า ให้เอามากินโดยตรง)
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
การเผลอกินน้ำยาล้างจานเข้าไปโดยตรง ซึ่งมักจะมีข่าวเกิดกับเด็กเล็ก ๆ นั้นนับว่าเป็นเรื่องอันตราย เพราะสารเคมีในน้ำยาจะทำให้เกิดความระคายเคืองสูง ทั้งจากการที่มันเป็นสารซักล้างและความที่มันมีค่า pH เป็นด่าง ทำให้ระบบทางเดินอาหารเกิดการระคายเคือง เกิดอาการปวดท้องคลื่นไส้อาเจียนได้ โดยขึ้นอยู่กับปริมาณของสารที่กินเข้าไป และความเข้มข้นของสูตรน้ำยาที่ใช้ด้วย
แม้ว่าบางคนจะอ้างเรื่องที่ในต่างประเทศมีคนใช้น้ำยาล้างจานกัน "แบบล้างแล้วไม่ล้างน้ำเปล่าออก" นำไปคว่ำตากแห้งเลยก็ตาม แต่ในด้านของบริษัทผู้ผลิตนั้น ก็จะมีการระบุเตือนว่า จริง ๆ แล้วควรจะล้างด้วยน้ำเปล่าออกให้หมด ไม่ควรทิ้งให้เป็นคราบไว้ ซึ่งอาจมีผลต่อร่างกายได้
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
ดังนั้น การนำเอาน้ำยาล้างจานไปผสมกับน้ำที่ใช้แช่ปลานั้น แม้จะมีไม่มาก (ขึ้นกับปริมาณและความเข้มข้นของน้ำยาที่ใส่ลงไป) ก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรกระทำ ไม่ใช่แนวปฏิบัติที่ถูกต้องในการใช้น้ำยา และน้ำยาเองก็ไม่ได้แค่เคลือบผิวของตัวปลา แต่จะสามารถเข้าปากปลาไปอยู่ในร่างกายของปลาได้ด้วย
ส่วนเรื่องที่บอกว่าทำให้เกิดฟองน้ำยาขึ้น แล้วจะกักอากาศไว้ได้นั้น ก็ไม่น่าจะได้มากอย่างที่คิดกัน น่าจะเป็นความเชื่อตามกันมากกว่า .. การใช้เครื่องปั๊มอากาศลงไปในน้ำ น่าจะได้ประโยชน์ตรงไปตรงมามากกว่าครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก เรื่องเล่าเช้านี้
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
วันที่ 31 มกราคม 2567 เรื่องเล่าเช้านี้ รายงานว่า ตอนนี้ในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กกำลังมีดราม่าการใช้น้ำยาล้างจานราดไปที่ปลาตัวเป็น ๆ เพื่อทำให้ปลาสดและไม่น็อกน้ำ ก่อนที่จะนำส่งขายตามตลาดต่อไป
ทั้งนี้ คนทำยืนยันว่า การใช้น้ำยาล้างจานไม่มีผลเสีย เพราะเป็นสารสกัดจากธรรมชาติ อย่างเราใช้น้ำยาล้างจานในการล้างจาน เอามากินข้าวต่อก็ไม่มีปัญหาอะไร ส่วนต่างประเทศก็ล้างจานเป็นฟอง แต่ไม่ล้างน้ำ ก็ไม่มีปัญหาอะไรเช่นกัน
อ.เจษฎา ชี้แจง น้ำยาล้างจานคือสารเคมี
เฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ของนายเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการโพสต์ถึงเรื่องดังกล่าวว่า
น้ำยาล้างจาน แม้จะมีหลายสูตรผสม แต่ก็เป็นสารเคมีที่ใช้ทำครัวเรือน โดยองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีคุณสมบัติลดแรงตึงผิว ทำให้คราบไขมันคราบสกปรกหลุดออกจากจานชามได้ง่ายขึ้น และไม่ได้จัดว่าเป็นอาหารสำหรับการบริโภคแต่อย่างไร แม้จะเรียกว่าเป็นแบบ food grade ก็ตาม (ซึ่งหมายถึงใช้กับภาชนะใส่อาหารได้ แต่ไม่ได้แปลว่า ให้เอามากินโดยตรง)
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
การเผลอกินน้ำยาล้างจานเข้าไปโดยตรง ซึ่งมักจะมีข่าวเกิดกับเด็กเล็ก ๆ นั้นนับว่าเป็นเรื่องอันตราย เพราะสารเคมีในน้ำยาจะทำให้เกิดความระคายเคืองสูง ทั้งจากการที่มันเป็นสารซักล้างและความที่มันมีค่า pH เป็นด่าง ทำให้ระบบทางเดินอาหารเกิดการระคายเคือง เกิดอาการปวดท้องคลื่นไส้อาเจียนได้ โดยขึ้นอยู่กับปริมาณของสารที่กินเข้าไป และความเข้มข้นของสูตรน้ำยาที่ใช้ด้วย
แม้ว่าบางคนจะอ้างเรื่องที่ในต่างประเทศมีคนใช้น้ำยาล้างจานกัน "แบบล้างแล้วไม่ล้างน้ำเปล่าออก" นำไปคว่ำตากแห้งเลยก็ตาม แต่ในด้านของบริษัทผู้ผลิตนั้น ก็จะมีการระบุเตือนว่า จริง ๆ แล้วควรจะล้างด้วยน้ำเปล่าออกให้หมด ไม่ควรทิ้งให้เป็นคราบไว้ ซึ่งอาจมีผลต่อร่างกายได้
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
ดังนั้น การนำเอาน้ำยาล้างจานไปผสมกับน้ำที่ใช้แช่ปลานั้น แม้จะมีไม่มาก (ขึ้นกับปริมาณและความเข้มข้นของน้ำยาที่ใส่ลงไป) ก็ไม่ใช่สิ่งที่ควรกระทำ ไม่ใช่แนวปฏิบัติที่ถูกต้องในการใช้น้ำยา และน้ำยาเองก็ไม่ได้แค่เคลือบผิวของตัวปลา แต่จะสามารถเข้าปากปลาไปอยู่ในร่างกายของปลาได้ด้วย
ส่วนเรื่องที่บอกว่าทำให้เกิดฟองน้ำยาขึ้น แล้วจะกักอากาศไว้ได้นั้น ก็ไม่น่าจะได้มากอย่างที่คิดกัน น่าจะเป็นความเชื่อตามกันมากกว่า .. การใช้เครื่องปั๊มอากาศลงไปในน้ำ น่าจะได้ประโยชน์ตรงไปตรงมามากกว่าครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก เรื่องเล่าเช้านี้