ผลตรวจชี้ น้ำสีชมพูในคลองบางแพรก เกิดจากอะไร สะพรึงมีจุลินทรีย์จำนวนมาก เพราะไร้อากาศ สกปรกสูง เตือนห้ามใช้น้ำในคลองเด็ดขาด
จากกรณีปัญหาน้ำสีชมพู ในคลองบางแพรกบริเวณหลัง Big C สาขาติวานนท์ ซึ่งนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สั่งการให้ทีมปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว (DSS Team) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) พร้อมนักวิทยาศาสตร์ เข้าเก็บตัวอย่างและตรวจสอบคุณภาพน้ำนั้น
ล่าสุด (17 กุมภาพันธ์ 2567) เฟซบุ๊ก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวง อว. รายงานว่า นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวง อว. เปิดเผยว่า ผลการตรวจวิเคราะห์น้ำสีชมพูโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ กำลังขยาย 600 เท่า พบว่ามีจุลินทรีย์สีชมพูอยู่จำนวนมาก
สันนิษฐานว่าเป็นแบคทีเรียซัลเฟอร์สีม่วง (purple sulfur bacteria) ทำให้มองเห็นเป็นสีชมพู โดยแบคทีเรียซัลเฟอร์สีม่วงเป็นแบคทีเรียแบบไม่ใช้ออกซิเจน มักพบในสภาพแวดล้อมของน้ำที่มีการแบ่งชั้น รวมถึงน้ำพุร้อน และแหล่งน้ำนิ่ง ซึ่งน้ำในคลองบางแพรกมีสภาพเป็นน้ำนิ่งเช่นเดียวกัน
ดังนั้นเมื่อน้ำในคลองบางแพรกมีสภาพไร้อากาศ หรือมีความสกปรกสูง จึงเป็นสภาวะที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของแบคทีเรียซัลเฟอร์สีม่วง โดยจะใช้กรดอินทรีย์ในน้ำเสียและไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นอาหาร รวมทั้งใช้แสงแดดในการสังเคราะห์พลังงาน
สำหรับแนวทางแก้ไขออกซิเจนในคลองบางแพรกควรติดตั้งเครื่องเติมอากาศ หรือลดภาระความสกปรกในรูปของสารอินทรีย์ในคลองบางแพรก เช่น การควบคุมแหล่งกำเนิดน้ำเสียที่ทิ้งลงคลองฯ ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของกิจกรรมนั้นๆ และข้อแนะนำสำหรับประชาชน ห้ามนำน้ำในคลองดังกล่าวมาใช้อุปโภค บริโภค เด็ดขาด ให้ระวังการสัมผัสน้ำในคลอง หากมีการสัมผัส ให้รีบทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่ทันที
ซึ่งหลังจากนี้ วศ. จะร่วมประชุมกับหน่วยงานในพื้นที่ร่วมกันตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวง อว.
จากกรณีปัญหาน้ำสีชมพู ในคลองบางแพรกบริเวณหลัง Big C สาขาติวานนท์ ซึ่งนางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สั่งการให้ทีมปฏิบัติการเคลื่อนที่เร็ว (DSS Team) กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) พร้อมนักวิทยาศาสตร์ เข้าเก็บตัวอย่างและตรวจสอบคุณภาพน้ำนั้น
ล่าสุด (17 กุมภาพันธ์ 2567) เฟซบุ๊ก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวง อว. รายงานว่า นายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) กระทรวง อว. เปิดเผยว่า ผลการตรวจวิเคราะห์น้ำสีชมพูโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ กำลังขยาย 600 เท่า พบว่ามีจุลินทรีย์สีชมพูอยู่จำนวนมาก
สันนิษฐานว่าเป็นแบคทีเรียซัลเฟอร์สีม่วง (purple sulfur bacteria) ทำให้มองเห็นเป็นสีชมพู โดยแบคทีเรียซัลเฟอร์สีม่วงเป็นแบคทีเรียแบบไม่ใช้ออกซิเจน มักพบในสภาพแวดล้อมของน้ำที่มีการแบ่งชั้น รวมถึงน้ำพุร้อน และแหล่งน้ำนิ่ง ซึ่งน้ำในคลองบางแพรกมีสภาพเป็นน้ำนิ่งเช่นเดียวกัน
ดังนั้นเมื่อน้ำในคลองบางแพรกมีสภาพไร้อากาศ หรือมีความสกปรกสูง จึงเป็นสภาวะที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของแบคทีเรียซัลเฟอร์สีม่วง โดยจะใช้กรดอินทรีย์ในน้ำเสียและไฮโดรเจนซัลไฟด์เป็นอาหาร รวมทั้งใช้แสงแดดในการสังเคราะห์พลังงาน
สำหรับแนวทางแก้ไขออกซิเจนในคลองบางแพรกควรติดตั้งเครื่องเติมอากาศ หรือลดภาระความสกปรกในรูปของสารอินทรีย์ในคลองบางแพรก เช่น การควบคุมแหล่งกำเนิดน้ำเสียที่ทิ้งลงคลองฯ ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของกิจกรรมนั้นๆ และข้อแนะนำสำหรับประชาชน ห้ามนำน้ำในคลองดังกล่าวมาใช้อุปโภค บริโภค เด็ดขาด ให้ระวังการสัมผัสน้ำในคลอง หากมีการสัมผัส ให้รีบทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่ทันที
ซึ่งหลังจากนี้ วศ. จะร่วมประชุมกับหน่วยงานในพื้นที่ร่วมกันตรวจสอบ และปรับปรุงแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวง อว.