เปิดประเด็น ทำไมคนต่างชาติไม่โพสต์เฟซบุ๊กถี่ ๆ แบบคนไทย พอโพสต์น้อยลงก็โดนถาม เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยโพสต์เลยนะ งานนี้เจอท็อปคอมเมนต์จัดเต็ม ทำเอาไปไม่ถูกเลย
ภาพจาก Wachiwit / Shutterstock.com
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 คุณ สมาชิกหมายเลข 7586139 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม มีการตั้งประเด็นที่น่าสนใจไว้ว่า ทำไมคนชาติอื่นไม่นิยมเล่นเฟซบุ๊กเหมือนกับคนไทย พร้อมกับเล่าว่า ตัวเองเคยเรียนอยู่ที่ต่างประเทศ มีเพื่อนชาวต่างชาติ 3 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้, ฮอนดูรัส และโคลอมเบีย
สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างคน 3 ชาตินี้กับคนไทยคือ พวกเขามีเฟซบุ๊ก แต่แทบไม่ได้โพสต์อะไรเลย เว้นแต่ว่ามีการแชร์ลิงก์ เช็กอิน หรือลงคลิปสั้นเท่านั้น ตรงข้ามกับคนไทย ที่จะมีการโพสต์เรื่องราวชีวิตตัวเองหรือดราม่าต่าง ๆ ที่อยู่ในสังคมลงไปด้วย ความถี่ในการโพสต์ต่างกันลิบลับ
สำหรับคนต่างชาติเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะไปเล่นอินสตาแกรมมากกว่าเฟซบุ๊ก ทำให้เจ้าของกระทู้ก็มีการลดการโพสต์เฟซบุ๊กลงไปด้วย จนทำให้ถูกคนไทยคนอื่นถามว่า "เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยโพสต์เลยนะ"
งานนี้ชาวเน็ตท็อปคอมเมนต์มาแนววิชาการจัด ๆ ถามกลับเจ้าของกระทู้ว่า เก็บตัวอย่างมาแล้วกี่คนถึงมาตั้งสมมติฐานเหมาคนทั้งประเทศ ตามหลักจริง ๆ ควรมีการถาม 400 คน ถึงมีความคลาดเคลื่อนอยู่ในระดับที่รับได้ ไม่ใช่สำรวจแค่รอบ ๆ ตัวเอาสะดวกตามประสาคนขี้เกียจ
คิดอะไรควรมีหลักการรองรับ ไม่ใช่นึกอะไรก็ตั้งโจทย์เลย เพราะการตั้งคำถามแบบนี้ มันไม่สามารถวิเคราะห์อะไรได้ คนเก็บข้อมูลมีอคติ เก็บข้อมูลไม่ทั่วถึงเอง
คนกลุ่มนี้ก็มี นาน ๆ ทีโพสต์ที เพราะมองว่าไม่สนุก สาระไม่ค่อยมี แล้วก็แปลกใจว่าทำไมคนอื่น ๆ ถึงชอบเล่นเฟซบุ๊กกัน แต่คนต่างชาติเล่นทวิตเตอร์มากกว่า ส่วนเด็ก ๆ ยุคปัจจุบันหันไปเล่น TikTok กันแล้ว บางคนก็มองว่า คนต่างชาติบางคนก็มองว่า ทำไมเราต้องเอาสิ่งที่เราทำมาประกาศให้คนอื่นรู้กันด้วย หวงแหนความเป็นส่วนตัว และป้องกันอันตรายถ้าเกิดมีคนคอยมาสอดส่องดูการกระทำของเราตลอดเวลา หากอยากคุยกับใคร ระบายความในใจ ก็ใช้วิธีคุยโดยตรงดีกว่าที่จะมาโพสต์ลอย ๆ และการโพสต์เวลาอารมณ์เสีย เมื่อย้อนมาอ่านจะกลายเป็นผลเสียมากกว่าผลดี
คนต่างชาติจำนวนมาก เวลาว่างอาจจะไม่ได้ออนไลน์ในโซเชียลมีเดียตลอด และมักจะมีงานอดิเรกให้ทำ เช่นการออกกำลังกาย ไปยิม ทำอาหาร เดินเล่นนอกบ้าน หรือบางครั้งก็เล่นเกม หรือต่างชาติบางคน จะไม่โพสต์ในหน้าเฟซบุ๊กมากมาย แต่จะโพสต์อัปเดตตลอดในกลุ่มที่ตนเองมีความสนใจ พูดคุยกันยับ ๆ ในกลุ่มทั้งที่หน้าเฟซบุ๊กโล่งมาก
นอกจากนี้ แพลตฟอร์มอย่าง X, Snapchat หรือกระทั่ง Instagram ก็เป็นที่นิยมในหมู่คนต่างชาติมากกว่าคนไทยอยู่เยอะ
เฟซบุ๊กถือเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เข้ามาในไทยตั้งแต่แรก ๆ และตีตลาดคนไทยกระจาย คนไทยเวลาไปไหน ทำอะไร บางครั้งก็อยากให้คนอื่นรู้ บางครั้งก็แสดงออกถึงความรักกับคนรอบตัว คนในครอบครัว แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จ ความผิดพลาด และก้าวต่าง ๆ ในชีวิต ก็เลยใช้เฟซบุ๊กกันจนชิน
ในขณะเดียวกัน บางคนก็โพสต์ทั้งวันเพราะขายของ หรือบางคนที่เล่นเฟซบุ๊กมาก ๆ แต่ไม่โพสต์อะไร อาจจะมีไว้ติดตามข่าวเฉย ๆ ก็มี
ภาพจาก Wachiwit / Shutterstock.com
หนึ่งในแพลตฟอร์มโซเชียลเน็ตเวิร์กที่คนไทยนิยมใช้ติดต่อสื่อสารกันมากที่สุดเป็นลำดับต้น ๆ ย่อมหนีไม่พ้นเฟซบุ๊ก เห็นได้จากเวลาใครที่เพิ่งรู้จักกัน มักจะมีการขอเฟซบุ๊กกันด้วย แม้กระทั่งการสมัครงาน บางบริษัทก็มีการตรวจสอบเฟซบุ๊กของผู้สมัครเพื่อเช็กทัศนคติต่าง ๆ ก่อนตัดสินใจรับเข้าทำงาน
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 คุณ สมาชิกหมายเลข 7586139 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม มีการตั้งประเด็นที่น่าสนใจไว้ว่า ทำไมคนชาติอื่นไม่นิยมเล่นเฟซบุ๊กเหมือนกับคนไทย พร้อมกับเล่าว่า ตัวเองเคยเรียนอยู่ที่ต่างประเทศ มีเพื่อนชาวต่างชาติ 3 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้, ฮอนดูรัส และโคลอมเบีย
สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างคน 3 ชาตินี้กับคนไทยคือ พวกเขามีเฟซบุ๊ก แต่แทบไม่ได้โพสต์อะไรเลย เว้นแต่ว่ามีการแชร์ลิงก์ เช็กอิน หรือลงคลิปสั้นเท่านั้น ตรงข้ามกับคนไทย ที่จะมีการโพสต์เรื่องราวชีวิตตัวเองหรือดราม่าต่าง ๆ ที่อยู่ในสังคมลงไปด้วย ความถี่ในการโพสต์ต่างกันลิบลับ
สำหรับคนต่างชาติเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะไปเล่นอินสตาแกรมมากกว่าเฟซบุ๊ก ทำให้เจ้าของกระทู้ก็มีการลดการโพสต์เฟซบุ๊กลงไปด้วย จนทำให้ถูกคนไทยคนอื่นถามว่า "เดี๋ยวนี้ไม่ค่อยโพสต์เลยนะ"
ท็อปคอมเมนต์จัดเต็ม เก็บตัวอย่างกี่คนถึงมาเหมารวมทั้งประเทศ
งานนี้ชาวเน็ตท็อปคอมเมนต์มาแนววิชาการจัด ๆ ถามกลับเจ้าของกระทู้ว่า เก็บตัวอย่างมาแล้วกี่คนถึงมาตั้งสมมติฐานเหมาคนทั้งประเทศ ตามหลักจริง ๆ ควรมีการถาม 400 คน ถึงมีความคลาดเคลื่อนอยู่ในระดับที่รับได้ ไม่ใช่สำรวจแค่รอบ ๆ ตัวเอาสะดวกตามประสาคนขี้เกียจ
คิดอะไรควรมีหลักการรองรับ ไม่ใช่นึกอะไรก็ตั้งโจทย์เลย เพราะการตั้งคำถามแบบนี้ มันไม่สามารถวิเคราะห์อะไรได้ คนเก็บข้อมูลมีอคติ เก็บข้อมูลไม่ทั่วถึงเอง
อย่างไรก็ตาม ความเห็นอื่น ๆ ก็มีอีกหลากหลายแนว เช่น
1. คนต่างชาติไม่โพสต์เฟซบุ๊ก มองเป็นเรื่องไร้สาระ - หวงแหนความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัย
คนกลุ่มนี้ก็มี นาน ๆ ทีโพสต์ที เพราะมองว่าไม่สนุก สาระไม่ค่อยมี แล้วก็แปลกใจว่าทำไมคนอื่น ๆ ถึงชอบเล่นเฟซบุ๊กกัน แต่คนต่างชาติเล่นทวิตเตอร์มากกว่า ส่วนเด็ก ๆ ยุคปัจจุบันหันไปเล่น TikTok กันแล้ว บางคนก็มองว่า คนต่างชาติบางคนก็มองว่า ทำไมเราต้องเอาสิ่งที่เราทำมาประกาศให้คนอื่นรู้กันด้วย หวงแหนความเป็นส่วนตัว และป้องกันอันตรายถ้าเกิดมีคนคอยมาสอดส่องดูการกระทำของเราตลอดเวลา หากอยากคุยกับใคร ระบายความในใจ ก็ใช้วิธีคุยโดยตรงดีกว่าที่จะมาโพสต์ลอย ๆ และการโพสต์เวลาอารมณ์เสีย เมื่อย้อนมาอ่านจะกลายเป็นผลเสียมากกว่าผลดี
2. คนต่างชาติไม่ได้ใช้เวลาอยู่กับอินเทอร์เน็ตทั้งวัน - ใช้แพลตฟอร์มอื่น ๆ
คนต่างชาติจำนวนมาก เวลาว่างอาจจะไม่ได้ออนไลน์ในโซเชียลมีเดียตลอด และมักจะมีงานอดิเรกให้ทำ เช่นการออกกำลังกาย ไปยิม ทำอาหาร เดินเล่นนอกบ้าน หรือบางครั้งก็เล่นเกม หรือต่างชาติบางคน จะไม่โพสต์ในหน้าเฟซบุ๊กมากมาย แต่จะโพสต์อัปเดตตลอดในกลุ่มที่ตนเองมีความสนใจ พูดคุยกันยับ ๆ ในกลุ่มทั้งที่หน้าเฟซบุ๊กโล่งมาก
นอกจากนี้ แพลตฟอร์มอย่าง X, Snapchat หรือกระทั่ง Instagram ก็เป็นที่นิยมในหมู่คนต่างชาติมากกว่าคนไทยอยู่เยอะ
3. มาจากลักษณะนิสัยของคนไทยเอง ที่ทำให้ติดเฟซบุ๊กเยอะกว่าต่างชาติ
เฟซบุ๊กถือเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เข้ามาในไทยตั้งแต่แรก ๆ และตีตลาดคนไทยกระจาย คนไทยเวลาไปไหน ทำอะไร บางครั้งก็อยากให้คนอื่นรู้ บางครั้งก็แสดงออกถึงความรักกับคนรอบตัว คนในครอบครัว แสดงให้เห็นถึงความสำเร็จ ความผิดพลาด และก้าวต่าง ๆ ในชีวิต ก็เลยใช้เฟซบุ๊กกันจนชิน
ในขณะเดียวกัน บางคนก็โพสต์ทั้งวันเพราะขายของ หรือบางคนที่เล่นเฟซบุ๊กมาก ๆ แต่ไม่โพสต์อะไร อาจจะมีไว้ติดตามข่าวเฉย ๆ ก็มี