สามีอเมริกันฟ้องดิสนีย์เวิลด์ เหตุภรรยาหมอชาวไทยดับสลด หลังแพ้อาหารรุนแรง ทั้งที่ถามย้ำหลายครั้งว่ามีสารก่อภูมิแพ้หรือไม่
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Jeffrey Piccolo
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 เว็บไซต์นิวยอร์กโพสต์ รายงานว่า เจฟฟรีย์ พิคโคโล ชายชาวอเมริกัน ได้ดำเนินการยื่นฟ้องดิสนีย์เวิลด์ หลังจากภรรยาชาวไทย ที่ระบุชื่อว่า กนกพร อายุ 42 ปี ซึ่งเป็นแพทย์หญิงจากศูนย์การแพทย์แลนกอน ของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เกิดอาการแพ้อาหารอย่างรุนแรง จากการรับประทานอาหารที่ร้านอาหารของดิสนีย์ สปริงส์ จนเป็นเหตุให้ถึงแก่ชีวิตในที่สุด
ตามรายงานการฟ้องร้อง ระบุว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ปีที่ผ่านมา เจฟฟรีย์และภรรยา ได้ไปรับประทานอาหารที่ร้าน Raglan Road Irish Pub and Restaurant ของดิสนีย์ สปริงส์ ในสวนสนุกดิสนีย์เวิลด์ รัฐฟลอริดา โดยภรรยาของเขาได้แจ้งกับทางพนักงานเสิร์ฟแล้วเรื่องการแพ้อาหาร โดยย้ำหลายครั้งว่า เธอมีอาการแพ้ถั่วและผลิตภัณฑ์จากนมอย่างรุนแรง ซึ่งทางพนักงานก็ยืนยันว่า ทางร้านสามารถทำอาหารปลอดสารก่อภูมิแพ้ได้
เมนูอาหารที่สั่งไปในวันนั้น ประกอบไปด้วย หัวหอมทอด หอยเชลล์ บรอกโคลีและข้าวโพดชุบแป้งทอด ซึ่งเมื่อพนักงานนำมาเสิร์ฟ ทางกนกพรก็ถามย้ำอีกหลายครั้งว่า อาหารเหล่านั้นมีสารก่อภูมิแพ้หรือไม่ และทางพนักงานก็ยืนยันเช่นเดิมว่า เธอสามารถรับประทานได้ หลังจากรับประทานเสร็จ กนกพรได้เดินออกจากร้านอาหารไปแถวโซนช้อปปิ้ง แต่แล้วร่างกายก็เกิดความผิดปกติ มีอาการหายใจลำบากและล้มลง
กนกพรรู้ตัวว่ากำลังเกิดอาการแพ้อาหารอย่างรุนแรง เธอจึงหยิบยาแก้แพ้อีพิเพน (EpiPen) หรืออีพิเนฟรีนที่พกติดตัวฉีดเข้าร่างกายในทันที แต่อาการไม่ดีขึ้น ก่อนที่เธอจะได้รับการช่วยเหลือนำตัวส่งโรงพยาบาล แต่สุดท้ายก็ไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล โดยผลชันสูตรของทางแพทย์ระบุว่า สาเหตุการเสียชีวิตของเธอเกิดจากภาวะภูมิแพ้ เนื่องจากมีปริมาณนมและถั่วในร่างกายในระดับสูง
ตามคำร้องระบุว่า ทางดิสนีย์ได้โฆษณาสู่สาธารณชนอย่างชัดเจนว่า ที่ร้านอาหารในดิสนีย์ สปริงส์ ให้ความสำคัญสูงสุดสำหรับผู้แพ้อาหาร มีการดูแลควบคุมทั้งในเรื่องเมนูอาหาร การจ้าง และการฝึกอบรมพนักงานเสิร์ฟเป็นอย่างดี เกี่ยวกับนโยบายและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการแพ้อาหาร
ด้วยเหตุนี้ทางเจฟฟรีย์ จึงฟ้องร้องดำเนินการกับทางดิสนีย์ ตามข้อกำหนดทางกฎหมาย Wrongful Death Act ของรัฐฟลอริดา ฐานกระทำอันผิดกฎหมายจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต ทั้งยังส่งผลให้ครอบครัวได้รับความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานทางจิตใจ รวมทั้งการสูญเสียรายได้ และค่าใช้จ่ายงานศพ จึงเรียกร้องค่าเสียหายทั้งหมดเป็นเงินมากกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.8 ล้านบาท
โดยล่าสุด ทางผู้จัดการร้านอาหารดังกล่าว (ไม่เปิดเผยชื่อ) ได้เผยกับรายงานของนิวยอร์กโพสต์ ระบุว่า พนักงานที่ร้านทุกคนได้รับการฝึกอบรมสำหรับการให้ความสำคัญต่อแพ้อาหารอย่างจริงจัง โดยทุกครั้งทางพนักงานจะต้องสื่อสารกับลูกค้าเพื่อหาทางเลือกอื่นแทนอาหารที่มีสารก่อภูมิแพ้ และหากไม่แน่ใจก็จะต้องตรวจสอบกับทางครัวอีกครั้ง
ทั้งนี้ หากลูกค้ารายใดแพ้อาหาร จะมีการบันทึกในระบบของทางร้านอย่างชัดเจน และเมนูใด ๆ ก็ตามที่จะเสิร์ฟไปที่โต๊ะของลูกค้ารายนั้น จะมีเครื่องหมายสัญลักษณ์กำกับไว้ อย่างไรก็ตาม มีบางเมนูที่ไม่สามารถปรับปรุงได้สำหรับคนแพ้อาหาร โดยเฉพาะเมนูทอด เนื่องจากแป้งสำหรับอาหารทอดส่วนใหญ่ทำจากนม เว้นแต่ลูกค้าจะขอเป็นพิเศษว่าเป็นมังสวิรัติ
อย่างไรก็ตามไม่มีการระบุแน่ชัดว่า เมนูของทอดที่ผู้เสียชีวิตสั่งไปกับทางร้านนั้นเป็นแบบวีแกนหรือไม่ โดยผู้จัดการร้าน กล่าวว่า "ฉันไม่รู้ว่าเธอสั่งแบบไหน ซึ่งเธอควรได้รับแบบวีแกน เช่นนั้นเธอก็จะปลอดภัย ส่วนอีกแบบมีส่วนผสมของนม"
ภายหลังจากประเด็นดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกมาในหน้าสื่อออนไลน์ของสหรัฐฯ ก็ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง หลายคนรู้สึกเสียใจและติดตามเรื่องราวการรฟ้องร้องในครั้งนี้ รวมทั้งแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ โดยแฟนดิสนิย์หลายคนยืนยันจากประสบการณ์ว่า ทางร้านอาหารในดิสนีย์ให้ความสำคัญกับผู้แพ้อาหารมากจริง ๆ แต่ในขณะเดียวกัน อีกส่วนก็กังวลว่า ตราบใดที่ไม่มีการแยกครัวสำหรับผู้แพ้อาหารอย่างจริงจัง ก็ไม่มีทางที่จะปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์
ขอบคุณข้อมูลจาก New York Post, New York Post
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Jeffrey Piccolo
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 เว็บไซต์นิวยอร์กโพสต์ รายงานว่า เจฟฟรีย์ พิคโคโล ชายชาวอเมริกัน ได้ดำเนินการยื่นฟ้องดิสนีย์เวิลด์ หลังจากภรรยาชาวไทย ที่ระบุชื่อว่า กนกพร อายุ 42 ปี ซึ่งเป็นแพทย์หญิงจากศูนย์การแพทย์แลนกอน ของมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เกิดอาการแพ้อาหารอย่างรุนแรง จากการรับประทานอาหารที่ร้านอาหารของดิสนีย์ สปริงส์ จนเป็นเหตุให้ถึงแก่ชีวิตในที่สุด
ตามรายงานการฟ้องร้อง ระบุว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม ปีที่ผ่านมา เจฟฟรีย์และภรรยา ได้ไปรับประทานอาหารที่ร้าน Raglan Road Irish Pub and Restaurant ของดิสนีย์ สปริงส์ ในสวนสนุกดิสนีย์เวิลด์ รัฐฟลอริดา โดยภรรยาของเขาได้แจ้งกับทางพนักงานเสิร์ฟแล้วเรื่องการแพ้อาหาร โดยย้ำหลายครั้งว่า เธอมีอาการแพ้ถั่วและผลิตภัณฑ์จากนมอย่างรุนแรง ซึ่งทางพนักงานก็ยืนยันว่า ทางร้านสามารถทำอาหารปลอดสารก่อภูมิแพ้ได้
เมนูอาหารที่สั่งไปในวันนั้น ประกอบไปด้วย หัวหอมทอด หอยเชลล์ บรอกโคลีและข้าวโพดชุบแป้งทอด ซึ่งเมื่อพนักงานนำมาเสิร์ฟ ทางกนกพรก็ถามย้ำอีกหลายครั้งว่า อาหารเหล่านั้นมีสารก่อภูมิแพ้หรือไม่ และทางพนักงานก็ยืนยันเช่นเดิมว่า เธอสามารถรับประทานได้ หลังจากรับประทานเสร็จ กนกพรได้เดินออกจากร้านอาหารไปแถวโซนช้อปปิ้ง แต่แล้วร่างกายก็เกิดความผิดปกติ มีอาการหายใจลำบากและล้มลง
กนกพรรู้ตัวว่ากำลังเกิดอาการแพ้อาหารอย่างรุนแรง เธอจึงหยิบยาแก้แพ้อีพิเพน (EpiPen) หรืออีพิเนฟรีนที่พกติดตัวฉีดเข้าร่างกายในทันที แต่อาการไม่ดีขึ้น ก่อนที่เธอจะได้รับการช่วยเหลือนำตัวส่งโรงพยาบาล แต่สุดท้ายก็ไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล โดยผลชันสูตรของทางแพทย์ระบุว่า สาเหตุการเสียชีวิตของเธอเกิดจากภาวะภูมิแพ้ เนื่องจากมีปริมาณนมและถั่วในร่างกายในระดับสูง
ตามคำร้องระบุว่า ทางดิสนีย์ได้โฆษณาสู่สาธารณชนอย่างชัดเจนว่า ที่ร้านอาหารในดิสนีย์ สปริงส์ ให้ความสำคัญสูงสุดสำหรับผู้แพ้อาหาร มีการดูแลควบคุมทั้งในเรื่องเมนูอาหาร การจ้าง และการฝึกอบรมพนักงานเสิร์ฟเป็นอย่างดี เกี่ยวกับนโยบายและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการแพ้อาหาร
ด้วยเหตุนี้ทางเจฟฟรีย์ จึงฟ้องร้องดำเนินการกับทางดิสนีย์ ตามข้อกำหนดทางกฎหมาย Wrongful Death Act ของรัฐฟลอริดา ฐานกระทำอันผิดกฎหมายจนเป็นเหตุให้เสียชีวิต ทั้งยังส่งผลให้ครอบครัวได้รับความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมานทางจิตใจ รวมทั้งการสูญเสียรายได้ และค่าใช้จ่ายงานศพ จึงเรียกร้องค่าเสียหายทั้งหมดเป็นเงินมากกว่า 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 1.8 ล้านบาท
โดยล่าสุด ทางผู้จัดการร้านอาหารดังกล่าว (ไม่เปิดเผยชื่อ) ได้เผยกับรายงานของนิวยอร์กโพสต์ ระบุว่า พนักงานที่ร้านทุกคนได้รับการฝึกอบรมสำหรับการให้ความสำคัญต่อแพ้อาหารอย่างจริงจัง โดยทุกครั้งทางพนักงานจะต้องสื่อสารกับลูกค้าเพื่อหาทางเลือกอื่นแทนอาหารที่มีสารก่อภูมิแพ้ และหากไม่แน่ใจก็จะต้องตรวจสอบกับทางครัวอีกครั้ง
ทั้งนี้ หากลูกค้ารายใดแพ้อาหาร จะมีการบันทึกในระบบของทางร้านอย่างชัดเจน และเมนูใด ๆ ก็ตามที่จะเสิร์ฟไปที่โต๊ะของลูกค้ารายนั้น จะมีเครื่องหมายสัญลักษณ์กำกับไว้ อย่างไรก็ตาม มีบางเมนูที่ไม่สามารถปรับปรุงได้สำหรับคนแพ้อาหาร โดยเฉพาะเมนูทอด เนื่องจากแป้งสำหรับอาหารทอดส่วนใหญ่ทำจากนม เว้นแต่ลูกค้าจะขอเป็นพิเศษว่าเป็นมังสวิรัติ
อย่างไรก็ตามไม่มีการระบุแน่ชัดว่า เมนูของทอดที่ผู้เสียชีวิตสั่งไปกับทางร้านนั้นเป็นแบบวีแกนหรือไม่ โดยผู้จัดการร้าน กล่าวว่า "ฉันไม่รู้ว่าเธอสั่งแบบไหน ซึ่งเธอควรได้รับแบบวีแกน เช่นนั้นเธอก็จะปลอดภัย ส่วนอีกแบบมีส่วนผสมของนม"
ภายหลังจากประเด็นดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกมาในหน้าสื่อออนไลน์ของสหรัฐฯ ก็ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง หลายคนรู้สึกเสียใจและติดตามเรื่องราวการรฟ้องร้องในครั้งนี้ รวมทั้งแสดงความคิดเห็นวิพากษ์วิจารณ์ โดยแฟนดิสนิย์หลายคนยืนยันจากประสบการณ์ว่า ทางร้านอาหารในดิสนีย์ให้ความสำคัญกับผู้แพ้อาหารมากจริง ๆ แต่ในขณะเดียวกัน อีกส่วนก็กังวลว่า ตราบใดที่ไม่มีการแยกครัวสำหรับผู้แพ้อาหารอย่างจริงจัง ก็ไม่มีทางที่จะปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์
ติดตามอ่าน ข่าวต่างประเทศ ที่น่าสนใจได้ที่นี่
ขอบคุณข้อมูลจาก New York Post, New York Post