หนุ่มเผยประสบการณ์ จากคนไม่มีทุนในชีวิต ได้เงินไปโรงเรียนวันละ 5 บาท ต้องกู้ กยศ. สู่การเก็บเงินในวัย 30 ปี แบบเงินต่อเงิน ในวันนี้มีครบทั้งพอร์ตหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร ได้ปันผลปีละ 40,000 บาท ทำได้ไง บอกหมดที่นี่
ตอนที่เขาเรียนโรงเรียนประถมศึกษานั้น ตนได้เงินไปเรียนแค่วัน 2-3 บาท ถ้าวันไหนได้ 5 บาทถือว่าได้เยอะมาก บ้านกับโรงเรียนห่างกันประมาณ 1 กม. ตอนเรียนก็เดินไปเรียน แต่พอโตขึ้นก็ได้จักรยานเก่า ๆ ของญาติมาใช้ขี่ไปเรียน เมื่อเรียนชั้นมัธยมต้น ตนก็เรียนที่โรงเรียนประจำตำบลที่อยู่ห่างจากบ้านประมาณ 4-5 กม. ตอนนั้นตนยังปั่นจักรยานไปเรียนทั้ง ๆ ที่เพื่อนขี่มอเตอร์ไซค์ไปโรงเรียนกัน ตอนนั้นที่บ้านตนมีมอเตอร์ไซค์เก่า ๆ 1 คัน แต่ตนอายที่จะขี่ไปเรียน จึงให้พ่อเก็บไว้ใช้ บางวันก็ขี่มอเตอร์ไซค์ไปเรียนแต่ตนไม่กล้าที่จะจอดในโรงเรียน ต้องจอดไว้บ้านเพื่อนแล้วเดินไป เงินไปโรงเรียนยังได้ 5 บาท ข้าวกลางวันตนก็ห่อไปกิน หากวันไหนไม่มีกับข้าวก็จะซื้อขนมปังยาวที่ใส่กับไอศกรีม กินกับนมเย็นเพื่อประทังความหิว
เมื่อเรียน ปวช. ตนก็กู้เงิน กยศ. ได้เงินเดือนละ 1,500 บาท อยู่หอพักกับเพื่อน 2 คน เสียค่าหอ 500 บาท เหลือเงินใช้เดือนละ 1,000 บาท ต้องใช้วันละ 33 บาท กินข้าวราดแกงร้านประจำถุงละ 10 บาท บางครั้งซื้อมาแบ่งกิน 2 มื้อ และต้องมีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปติดห้องไว้ตลอด บางครั้งแบ่งต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ห่อ 2 ครั้งก็มี
เมื่อมาเรียนมหาวิทยาลัย ตนได้เงิน กยศ. เพิ่มเป็น 4,000 บาท แม้เงินจะเพิ่มขึ้นแต่ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้นมา ตนพอมีเงินกินข้าวแกงในมหาวิทยาลัย บริหารเงินในงบ 4,000 บาทให้รอดในแต่ละเดือน เงินซื้อคอมพิวเตอร์ก็ต้องเก็บเงินซื้อเครื่องมือสองเอง ซึ่งที่ได้คือคอมพิวเตอร์เก่า ๆ ที่พอใช้พิมพ์งานได้เท่านั้น
เมื่อตนทำงาน ตนมีรายได้ ก็มีรายจ่ายเหมือนกัน ทั้งเพื่อตัวเองเช่น ผ่อนรถ กินใช้ ค่าใช้จ่ายทั่วไป หรือเงินใช้จ่ายเพื่อครอบครัว ให้พ่อแม่ ส่งน้องเรียน ซึ่งชีวิตที่ผ่านมานั้น ได้สอนให้ตนรู้จักวางแผนการเงิน และบริหารเงินเพื่อความอยู่รอด กว่าจะเริ่มมีเงินเก็บคือตอนอายุ 30 ปี
วิธีการเก็บเงินนั้น ตนแบ่งเงินเดือน 10% เข้าบัญชีออมทรัพย์แบบปลอดภาษี 24 เดือน เพื่อให้มีเงินฝากแต่ละเดือนเท่า ๆ กัน ไม่จำเป็นก็ห้ามถอน และการฝากประจำตนก็ได้ดอกเบี้ยสูงกว่าทั่วไป เมื่อฝากเงินครบกำหนดแล้ว ก็เปิดบัญชีฝากประจำแบบเดิม แต่เอาเงินมาฝากวนต่อทำให้เงินเพิ่มทบต้นทบดอกไปเรื่อย ๆ
- ตอนที่อายุ 30 ปี ตนฝากเงิน 1,000 บาท 24 เดือน เมื่อครบ 24 เดือนตนจะได้เงิน 24,000 บาท
- ตอนที่อายุ 32 ปี ตนฝากเงิน 1,000 (เงินเดิมจากการฝากประจำคราวที่แล้ว) +1,500 บาท (เงินใหม่) เมื่อครบ 24 เดือนตนจะได้เงิน 60,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
- ตอนที่อายุ 34 ปี ตนฝากเงิน 2,500 (เงินเดิมจากการฝากประจำคราวที่แล้ว) +2,000 บาท (เงินใหม่) เมื่อครบ 24 เดือนตนจะได้เงิน 108,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
ทั้งนี้ หลายคนได้ชื่นชมเจ้าของกระทู้อย่างมาก กับความมีวินัย วิริยะอุตสาหะ และการวางแผนชีวิต ที่ทำให้ในวันนี้ เขามีเงินล้านและพอร์ตลงทุนที่เกือบถึง 8 หลัก ซึ่งเจ้าของกระทู้ก็ยืนยันว่า ทุกการเริ่มต้น ไม่มีคำว่าสายเกินไป
คนเราเกิดมามีต้นทุนที่ไม่เท่ากัน บางคนเกิดมาก็สุขสบาย หาเงินได้ไม่ยาก ในขณะที่บางคนเกิดมาก็ลำบาก ทำอะไรก็ติดลบไปเสียหมด ทว่า แม้โชคชะตาจะไม่เป็นใจ แต่ชีวิตของเรา เราสามารถกำหนดเส้นทางเดินเองได้ ด้วยการวางแผน การมีวินัย และหมั่นขยันหาความรู้ เฉกเช่นกับล่าสุดที่คุณ สมาชิกหมายเลข 916001 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ได้ออกมาเผยว่า เขาเองเป็นคนที่มีต้นทุนน้อย ไม่มีโอกาสในชีวิตเหมือนคนอื่น และการหาโอกาสต่าง ๆ ในชีวิตก็หายาก แต่ทุกการเริ่มต้นไม่มีคำว่าสายเกินไป
ชีวิตแสนลำบาก ได้เงินไปโรงเรียนวันละ 5 บาท - กู้ กยศ. แต่ทุกอุปสรรคคือการสอน ให้รู้จักวางแผนการเงิน
ตอนที่เขาเรียนโรงเรียนประถมศึกษานั้น ตนได้เงินไปเรียนแค่วัน 2-3 บาท ถ้าวันไหนได้ 5 บาทถือว่าได้เยอะมาก บ้านกับโรงเรียนห่างกันประมาณ 1 กม. ตอนเรียนก็เดินไปเรียน แต่พอโตขึ้นก็ได้จักรยานเก่า ๆ ของญาติมาใช้ขี่ไปเรียน เมื่อเรียนชั้นมัธยมต้น ตนก็เรียนที่โรงเรียนประจำตำบลที่อยู่ห่างจากบ้านประมาณ 4-5 กม. ตอนนั้นตนยังปั่นจักรยานไปเรียนทั้ง ๆ ที่เพื่อนขี่มอเตอร์ไซค์ไปโรงเรียนกัน ตอนนั้นที่บ้านตนมีมอเตอร์ไซค์เก่า ๆ 1 คัน แต่ตนอายที่จะขี่ไปเรียน จึงให้พ่อเก็บไว้ใช้ บางวันก็ขี่มอเตอร์ไซค์ไปเรียนแต่ตนไม่กล้าที่จะจอดในโรงเรียน ต้องจอดไว้บ้านเพื่อนแล้วเดินไป เงินไปโรงเรียนยังได้ 5 บาท ข้าวกลางวันตนก็ห่อไปกิน หากวันไหนไม่มีกับข้าวก็จะซื้อขนมปังยาวที่ใส่กับไอศกรีม กินกับนมเย็นเพื่อประทังความหิว
เมื่อเรียน ปวช. ตนก็กู้เงิน กยศ. ได้เงินเดือนละ 1,500 บาท อยู่หอพักกับเพื่อน 2 คน เสียค่าหอ 500 บาท เหลือเงินใช้เดือนละ 1,000 บาท ต้องใช้วันละ 33 บาท กินข้าวราดแกงร้านประจำถุงละ 10 บาท บางครั้งซื้อมาแบ่งกิน 2 มื้อ และต้องมีบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปติดห้องไว้ตลอด บางครั้งแบ่งต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ห่อ 2 ครั้งก็มี
เมื่อมาเรียนมหาวิทยาลัย ตนได้เงิน กยศ. เพิ่มเป็น 4,000 บาท แม้เงินจะเพิ่มขึ้นแต่ค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้นมา ตนพอมีเงินกินข้าวแกงในมหาวิทยาลัย บริหารเงินในงบ 4,000 บาทให้รอดในแต่ละเดือน เงินซื้อคอมพิวเตอร์ก็ต้องเก็บเงินซื้อเครื่องมือสองเอง ซึ่งที่ได้คือคอมพิวเตอร์เก่า ๆ ที่พอใช้พิมพ์งานได้เท่านั้น
เมื่อตนทำงาน ตนมีรายได้ ก็มีรายจ่ายเหมือนกัน ทั้งเพื่อตัวเองเช่น ผ่อนรถ กินใช้ ค่าใช้จ่ายทั่วไป หรือเงินใช้จ่ายเพื่อครอบครัว ให้พ่อแม่ ส่งน้องเรียน ซึ่งชีวิตที่ผ่านมานั้น ได้สอนให้ตนรู้จักวางแผนการเงิน และบริหารเงินเพื่อความอยู่รอด กว่าจะเริ่มมีเงินเก็บคือตอนอายุ 30 ปี
สอนวิธีเก็บเงิน แบบเงินต่อเงิน ทุนไม่หาย - ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ วันนี้มีแล้วครบทุกอย่าง
วิธีการเก็บเงินนั้น ตนแบ่งเงินเดือน 10% เข้าบัญชีออมทรัพย์แบบปลอดภาษี 24 เดือน เพื่อให้มีเงินฝากแต่ละเดือนเท่า ๆ กัน ไม่จำเป็นก็ห้ามถอน และการฝากประจำตนก็ได้ดอกเบี้ยสูงกว่าทั่วไป เมื่อฝากเงินครบกำหนดแล้ว ก็เปิดบัญชีฝากประจำแบบเดิม แต่เอาเงินมาฝากวนต่อทำให้เงินเพิ่มทบต้นทบดอกไปเรื่อย ๆ
- ตอนที่อายุ 30 ปี ตนฝากเงิน 1,000 บาท 24 เดือน เมื่อครบ 24 เดือนตนจะได้เงิน 24,000 บาท
- ตอนที่อายุ 32 ปี ตนฝากเงิน 1,000 (เงินเดิมจากการฝากประจำคราวที่แล้ว) +1,500 บาท (เงินใหม่) เมื่อครบ 24 เดือนตนจะได้เงิน 60,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
- ตอนที่อายุ 34 ปี ตนฝากเงิน 2,500 (เงินเดิมจากการฝากประจำคราวที่แล้ว) +2,000 บาท (เงินใหม่) เมื่อครบ 24 เดือนตนจะได้เงิน 108,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย
อีกข้อหนึ่งที่คือ การเพิ่มรายได้ และลดรายจ่าย ซึ่งแม้ว่าเงินเดือนของตนจะเพิ่มขึ้น แต่ยังมีไลฟ์สไตล์แบบเดิม โดยมีวิธีคิดง่าย ๆ เช่น
- หากตอนอายุ 30 ปี ได้เงินเดือน 20,000 บาท ตนฝากเงิน 2,000 บาท กำหนดให้ตัวเองเหลือใช้ประมาณ 18,000 บาท
- เมื่อตอนอายุ 34 ปี ตนเงินเดือน 30,000 บาท แต่ยังประหยัด และกำหนดให้ตัวเองเหลือใช้ประมาณ 20,000 บาท ดังนั้นตนจะมีเงินเก็บเพิ่มในแต่ละเดือน 10,000 บาท
- ดังนั้น ตอนที่อายุ 34 ปี ตนจะมีเงินฝาก 2,500 บาท (เงินเดิมที่จากการฝากประจำก่อนหน้านี้) + 10,000 บาท เมื่อครบ 2 ปีตนจะมีเงิน 300,000 บาท
เมื่อได้เงินก้อนใหญ่มา ตนก็เอาไปลงทุนมากกว่าการฝากธนาคาร สมัยนั้นมีกองทุน LTF ให้ถือครอง 3 ปี ตนก็ซื้อกองทุนโดยค่อย ๆ ซื้อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น
ปีที่ 1 : 20,000 บาท
ปีที่ 2 : 30,000 บาท
ปีที่ 3 : 40,000 บาท
ปีที่ 4 : 50,000 บาท + 20,000 บาทที่ได้จากการขายกองทุนที่ซื้อในปีแรก
ปีที่ 5 : 50,000 บาท + 30,000 บาท ที่ได้จากการขายกองทุนที่ซื้อในปีที่ 2
ในปัจจุบัน ตนมีพอร์ตหุ้น กองทุน หุ้นกู้ พันธบัตร คอรโด ที่ดินที่ซื้อไว้พักผ่อนช่วงเสาร์-อาทิตย์ และตนปั้นพอร์ตได้ปันผลปีละ 40,000 บาท ซึ่งเป้าหมายคือปันผลครอบคลุมค่าใช้จ่าย และไม่ไกลเกินฝัน
"ตอนนี้ถือว่าตัวเองสำเร็จเกินคาดมาเยอะพอสมควร
ล้านแรกยากเสมอ แต่ล้านต่อไปไวเหมือนโกหก พอร์ต 8 หลักคงอยู่ไม่ไกล
หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่อยากเริ่มเก็บเงิน
เป้าหมายตอนนี้คืออยากมีให้มาก เพื่อจะได้ช่วยเหลือคนอื่นได้มากขึ้น
ชีวิตนี้คงอยู่เพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคม มันทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีค่ามากกว่าจะทำเพื่อแค่ตัวเอง"
- หากตอนอายุ 30 ปี ได้เงินเดือน 20,000 บาท ตนฝากเงิน 2,000 บาท กำหนดให้ตัวเองเหลือใช้ประมาณ 18,000 บาท
- เมื่อตอนอายุ 34 ปี ตนเงินเดือน 30,000 บาท แต่ยังประหยัด และกำหนดให้ตัวเองเหลือใช้ประมาณ 20,000 บาท ดังนั้นตนจะมีเงินเก็บเพิ่มในแต่ละเดือน 10,000 บาท
- ดังนั้น ตอนที่อายุ 34 ปี ตนจะมีเงินฝาก 2,500 บาท (เงินเดิมที่จากการฝากประจำก่อนหน้านี้) + 10,000 บาท เมื่อครบ 2 ปีตนจะมีเงิน 300,000 บาท
เมื่อได้เงินก้อนใหญ่มา ตนก็เอาไปลงทุนมากกว่าการฝากธนาคาร สมัยนั้นมีกองทุน LTF ให้ถือครอง 3 ปี ตนก็ซื้อกองทุนโดยค่อย ๆ ซื้อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เช่น
ปีที่ 1 : 20,000 บาท
ปีที่ 2 : 30,000 บาท
ปีที่ 3 : 40,000 บาท
ปีที่ 4 : 50,000 บาท + 20,000 บาทที่ได้จากการขายกองทุนที่ซื้อในปีแรก
ปีที่ 5 : 50,000 บาท + 30,000 บาท ที่ได้จากการขายกองทุนที่ซื้อในปีที่ 2
ในปัจจุบัน ตนมีพอร์ตหุ้น กองทุน หุ้นกู้ พันธบัตร คอรโด ที่ดินที่ซื้อไว้พักผ่อนช่วงเสาร์-อาทิตย์ และตนปั้นพอร์ตได้ปันผลปีละ 40,000 บาท ซึ่งเป้าหมายคือปันผลครอบคลุมค่าใช้จ่าย และไม่ไกลเกินฝัน
"ตอนนี้ถือว่าตัวเองสำเร็จเกินคาดมาเยอะพอสมควร
ล้านแรกยากเสมอ แต่ล้านต่อไปไวเหมือนโกหก พอร์ต 8 หลักคงอยู่ไม่ไกล
หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่อยากเริ่มเก็บเงิน
เป้าหมายตอนนี้คืออยากมีให้มาก เพื่อจะได้ช่วยเหลือคนอื่นได้มากขึ้น
ชีวิตนี้คงอยู่เพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคม มันทำให้รู้สึกว่าตัวเองมีค่ามากกว่าจะทำเพื่อแค่ตัวเอง"
ทั้งนี้ หลายคนได้ชื่นชมเจ้าของกระทู้อย่างมาก กับความมีวินัย วิริยะอุตสาหะ และการวางแผนชีวิต ที่ทำให้ในวันนี้ เขามีเงินล้านและพอร์ตลงทุนที่เกือบถึง 8 หลัก ซึ่งเจ้าของกระทู้ก็ยืนยันว่า ทุกการเริ่มต้น ไม่มีคำว่าสายเกินไป