ไขปริศนา กระทิงแดง VS Red Bull แตกต่างกันตรงไหน หลังหลายคนอาจจะสับสนหลายอย่าง ทั้งฐานลูกค้า ราคา และผลิตภัณฑ์ ต่างกันสิ้นเชิง

ภาพจาก retirementbonus / Shutterstock.com
คนไทยทุกคน ยังไงก็ต้องเคยได้ยินชื่อเครื่องดื่มกระทิงแดง เพราะถือเป็นสินค้าที่มีการผลิตมาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่ปี 2499 สรรพคุณถือเป็นเครื่องดื่มชูกำลัง ดื่มแล้วทำให้รู้สึกมีพลังงานมากยิ่งขึ้น ทำงานได้ถึกทนขึ้น
อย่างไรก็ตาม ก็มีแบรนด์สินค้าหนึ่งที่คล้ายกับกระทิงแดงเหมือนกัน นั่นคือ Red Bull ที่แปลว่ากระทิงแดง ทำเอาหลายคนสงสัยว่า 2 แบรนด์นี้มีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ ซึ่งกระปุกดอทคอมจะสรุปข้อมูลมาให้อ่านกัน
จากเว็บไซต์ของ TCP กระทิงแดงนั้น มีจุดเริ่มต้นจากการที่คุณ เฉลียว อยู่วิทยา ซึ่งเป็นเซลส์ขายยา ต้องการมีธุรกิจของตัวเอง และคุณเฉลียวได้คิดค้นสูตรยาของตัวเอง และให้ประเทศเยอรมนีเป็นผู้ผลิต จากนั้นจึงมีการตั้งโรงงานผลิตยา และขยับขยายจากผลิตภัณฑ์ยา สู่สินค้าประเภทอุปโภค บริโภค
คุณเฉลียว เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจของตลาดเครื่องดื่มในประเทศไทย จึงพัฒนาสินค้าประเภทเครื่องดื่มให้พลังงาน และผลิตสินค้าในชื่อว่า ทีโอเปล็กซ์-ดีไซรัพ (100CC) ภายใต้เครื่องหมายการค้า กระทิงแดงคู่ และคนก็ติดปากเรียกเครื่องดื่มชูกำลังว่า กระทิงแดง และด้วยความสำเร็จของเครื่องดื่มกระทิงแดงในไทย คุณเฉลียวจึงมองหาโอกาสในการจำหน่ายกระทิงแดงไปยังต่างประเทศ และเริ่มมีการส่งออกกระทิงแดงอย่างเต็มรูปแบบไปที่ประเทศสิงคโปร์
ต่อมา คุณเฉลียวได้มารู้จักกับ นายดีทริช เมเทสซิทซ์ (Dietrich Mateschitz) นักธุรกิจชาวออสเตรีย ตัวแทนผู้จำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค ซึ่งนายดีทริช มีความต้องการนำกระทิงแดงไปจำหน่ายที่ยุโรป จึงมีการจดทะเบียนเพื่อก่อตั้งบริษัท Red Bull GmbH. ในออสเตรีย โดยที่มีผู้ถือหุ้นคือ เฉลียว อยู่วิทยา 49%, Dietrich Mateschitz 49%, เฉลิม อยู่วิทยา (บุตรชาย) 2% และเมื่อคุณเฉลียวเสียชีวิต จึงส่งต่อหุ้นให้คุณเฉลิมอยู่วิทยา
![กระทิงแดง กระทิงแดง]()
ภาพจาก Dilok Klaisataporn / Shutterstock.com
ทั้งนี้ การถือหุ้น Redbull ในครั้งนี้ นายดีทริชได้มีการขอสิทธิ์ในการบริหาร Redbull พร้อมกับปั้นแบรนด์ Redbull กลายเป็นแบรนด์ระดับโลก และเครื่องดื่ม Redbull ได้ถูกส่งออกไปขายนับร้อยประเทศทั่วโลก
- กระทิงแดง และ Redbull ถือเป็น 2 บริษัทที่แยกออกจากกัน แม้จะมีจุดกำเนิดคือคุณเฉลียว อยู่วิทยาเหมือนกัน และชื่อก็คล้ายกัน โดยที่ กระทิงแดง ปัจจุบันผู้บริหารของกระทิงแดงคือ สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ TCP หรือ T.C. Pharmaceutical ในขณะที่ผู้บริหารของ Redbull คือ เฉลิม อยู่วิทยา ที่แบ่งหุ้นกันกับนาย Dietrich Mateschitz
- กระทิงแดงและ Redbull มีกลุ่มฐานลูกค้าที่แตกต่างกัน ก่อนหน้านี้กระทิงแดง จะเน้นเจาะตลาดกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ก่อนที่จะขยับมาเจาะตลาดกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน และเน้นทำตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศจีน ในขณะที่ Redbull นั้น เจาะตลาดวัยรุ่นในระดับโลก ส่งขายนับร้อยประเทศ
- กระทิงแดง จะผลิตในประเทศไทย ราคาเพียงขวดละ 12 บาท ในขณะที่ Redbull ส่วนใหญ่มีฐานผลิตที่ต่างประเทศ ต้องนำเข้ามาขาย ราคาขวดละ 65 บาท
![กระทิงแดง กระทิงแดง]()
ภาพจาก Patcharaporn Puttipon4289 / Shutterstock.com
- ในส่วนของรสชาติ Redbull แบบกระป๋อง จะให้ความซ่าแบบน้ำอัดลม แต่กระทิงแดงจะไม่มีรสซ่า และให้ความหวานแทน
- กระทิงแดงแบบขวดแก้ว จะมีทั้งหมด 4 สูตรเท่านั้น แต่ละสูตรจะมีส่วนผสมวิตามิน ทอรีนที่แตกต่างกัน ในขณะที่ Redbull แบบกระป๋องนั้น จะมีหลายแบบ ทั้งผสมกลิ่นผลไม้ ทั้งแอปเปิล องุ่น สับปะรด
- ในส่วนของรายได้ระหว่าง Redbull และกระทิงแดง จะพบว่า กระทิงแดงมีบริษัทในเครือรวมทั้งหมด 4 บริษัท มีรายได้ทุกบริษัทรวมกันประมาณ 381 ล้านบาท ในขณะที่ Redbull มีรายได้กว่า 2.84 แสนล้านบาท

ภาพจาก retirementbonus / Shutterstock.com
คนไทยทุกคน ยังไงก็ต้องเคยได้ยินชื่อเครื่องดื่มกระทิงแดง เพราะถือเป็นสินค้าที่มีการผลิตมาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่ปี 2499 สรรพคุณถือเป็นเครื่องดื่มชูกำลัง ดื่มแล้วทำให้รู้สึกมีพลังงานมากยิ่งขึ้น ทำงานได้ถึกทนขึ้น
อย่างไรก็ตาม ก็มีแบรนด์สินค้าหนึ่งที่คล้ายกับกระทิงแดงเหมือนกัน นั่นคือ Red Bull ที่แปลว่ากระทิงแดง ทำเอาหลายคนสงสัยว่า 2 แบรนด์นี้มีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ ซึ่งกระปุกดอทคอมจะสรุปข้อมูลมาให้อ่านกัน
จุดเริ่มต้นของกระทิงแดง - Redbull จากผลิตภัณฑ์ยา สู่เครื่องดื่มชูกำลังที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก
คุณเฉลียว เล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจของตลาดเครื่องดื่มในประเทศไทย จึงพัฒนาสินค้าประเภทเครื่องดื่มให้พลังงาน และผลิตสินค้าในชื่อว่า ทีโอเปล็กซ์-ดีไซรัพ (100CC) ภายใต้เครื่องหมายการค้า กระทิงแดงคู่ และคนก็ติดปากเรียกเครื่องดื่มชูกำลังว่า กระทิงแดง และด้วยความสำเร็จของเครื่องดื่มกระทิงแดงในไทย คุณเฉลียวจึงมองหาโอกาสในการจำหน่ายกระทิงแดงไปยังต่างประเทศ และเริ่มมีการส่งออกกระทิงแดงอย่างเต็มรูปแบบไปที่ประเทศสิงคโปร์
ต่อมา คุณเฉลียวได้มารู้จักกับ นายดีทริช เมเทสซิทซ์ (Dietrich Mateschitz) นักธุรกิจชาวออสเตรีย ตัวแทนผู้จำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภค ซึ่งนายดีทริช มีความต้องการนำกระทิงแดงไปจำหน่ายที่ยุโรป จึงมีการจดทะเบียนเพื่อก่อตั้งบริษัท Red Bull GmbH. ในออสเตรีย โดยที่มีผู้ถือหุ้นคือ เฉลียว อยู่วิทยา 49%, Dietrich Mateschitz 49%, เฉลิม อยู่วิทยา (บุตรชาย) 2% และเมื่อคุณเฉลียวเสียชีวิต จึงส่งต่อหุ้นให้คุณเฉลิมอยู่วิทยา

ภาพจาก Dilok Klaisataporn / Shutterstock.com
ทั้งนี้ การถือหุ้น Redbull ในครั้งนี้ นายดีทริชได้มีการขอสิทธิ์ในการบริหาร Redbull พร้อมกับปั้นแบรนด์ Redbull กลายเป็นแบรนด์ระดับโลก และเครื่องดื่ม Redbull ได้ถูกส่งออกไปขายนับร้อยประเทศทั่วโลก
Redbull กับ กระทิงแดง ต่างกันแค่ไหน แม้มีจุดเริ่มต้นจากคุณเฉลียว อยู่วิทยา
- กระทิงแดง และ Redbull ถือเป็น 2 บริษัทที่แยกออกจากกัน แม้จะมีจุดกำเนิดคือคุณเฉลียว อยู่วิทยาเหมือนกัน และชื่อก็คล้ายกัน โดยที่ กระทิงแดง ปัจจุบันผู้บริหารของกระทิงแดงคือ สราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มธุรกิจ TCP หรือ T.C. Pharmaceutical ในขณะที่ผู้บริหารของ Redbull คือ เฉลิม อยู่วิทยา ที่แบ่งหุ้นกันกับนาย Dietrich Mateschitz
- กระทิงแดงและ Redbull มีกลุ่มฐานลูกค้าที่แตกต่างกัน ก่อนหน้านี้กระทิงแดง จะเน้นเจาะตลาดกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ก่อนที่จะขยับมาเจาะตลาดกลุ่มวัยรุ่น วัยทำงาน และเน้นทำตลาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศจีน ในขณะที่ Redbull นั้น เจาะตลาดวัยรุ่นในระดับโลก ส่งขายนับร้อยประเทศ
- กระทิงแดง จะผลิตในประเทศไทย ราคาเพียงขวดละ 12 บาท ในขณะที่ Redbull ส่วนใหญ่มีฐานผลิตที่ต่างประเทศ ต้องนำเข้ามาขาย ราคาขวดละ 65 บาท

ภาพจาก Patcharaporn Puttipon4289 / Shutterstock.com
- ในส่วนของรสชาติ Redbull แบบกระป๋อง จะให้ความซ่าแบบน้ำอัดลม แต่กระทิงแดงจะไม่มีรสซ่า และให้ความหวานแทน
- กระทิงแดงแบบขวดแก้ว จะมีทั้งหมด 4 สูตรเท่านั้น แต่ละสูตรจะมีส่วนผสมวิตามิน ทอรีนที่แตกต่างกัน ในขณะที่ Redbull แบบกระป๋องนั้น จะมีหลายแบบ ทั้งผสมกลิ่นผลไม้ ทั้งแอปเปิล องุ่น สับปะรด
- ในส่วนของรายได้ระหว่าง Redbull และกระทิงแดง จะพบว่า กระทิงแดงมีบริษัทในเครือรวมทั้งหมด 4 บริษัท มีรายได้ทุกบริษัทรวมกันประมาณ 381 ล้านบาท ในขณะที่ Redbull มีรายได้กว่า 2.84 แสนล้านบาท