ไขปริศนา ทำไมไอศกรีมในร้านบุฟเฟต์ถึงแข็งโป๊ก ตักทีเส้นเลือดปูด กว่าจะได้แต่ละคำเลือดตาแทบกระเด็น ตอนแรกนึกว่าเป็นทริกประหยัดต้นทุน แต่มีคนแจงอีกมุมก็น่าคิด อาจไม่ใช่เรื่องต้นทุน แต่เป็นเรื่องไม่ให้ไอศกรีมละลาย เพราะคนเปิดบ่อย
ภาพจาก เฟซบุ๊ก โฆษิต เทิดทูนไท
เดี๋ยวนี้ทางเลือกการกินอาหารนั้นหลากหลาย แต่ร้านที่เหมาะสำหรับการกินกับเพื่อนฝูง บรรยากาศเฮฮา สร้างประสบการณ์ร่วมกัน หนึ่งในนั้นมีร้านบุฟเฟต์ อยากกินอะไรก็กิน เมื่อกินของคาวเสร็จ ก็ตามด้วยของหวานอย่างไอศกรีม ฟิน ๆ กันไป แต่การกินไอศกรีมนี่แหละ ก็เป็นปัญหาโลกแตกของใครหลายคน แถมเป็นแบบเดียวกันหลายร้านด้วย
วันที่ 22 มีนาคม 2567 เฟซบุ๊ก โฆษิต เทิดทูนไท ตั้งคำถามว่า ทำไมการตักไอศกรีมในร้านบุฟเฟต์ถึงตักยากมาก ๆ กว่าจะตักได้ต้องใช้พลังงานเยอะ เพราะไอศกรีมเจ้ากรรมก็ดันแข็งเหลือเกิน เรื่องนี้ตนสงสัยมาก แต่ไม่ได้มีเจตนาตำหนิร้านอะไรทั้งนั้น
ขณะเดียวกัน เจ้าตัวก็โพสต์ภาพตอนตักไอศกรีม เห็นเส้นเลือดแขนปูดออกมา มองจากดาวอังคารก็รู้ว่าใช้แรงกดไอศกรีมเยอะมาก แต่ไอศกรีมที่ติดที่ตักนั้น มีน้อยเหลือเกิน
ชาวเน็ตเห็นโพสต์นี้ก็พลันนึกได้เช่นกันว่า ไอศกรีมในร้านบุฟเฟต์นั้นตักยากจริง แถมเป็นกันหลายร้าน ทั้งที่ไม่ได้มีเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เรื่องนี้มีคนเข้ามาตอบถึงทฤษฎี ทำไมไอศกรีมถึงแข็งว่า เพราะเจ้าของร้านไม่เข้าใจเรื่องการควบคุมอุณหภูมิในตู้ว่า อาหารหรือเครื่องดื่มต่าง ๆ ต้องใช้อุณหภูมิเท่าใด
อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้มีคนแย้งว่า
การที่ร้านกดอุณหภูมิให้ต่ำเกินกว่ามาตรฐานจริง เป็นการลดต้นทุน
ทำให้คนตักไอศกรีมได้น้อยลง ยิ่งตักยาก ยิ่งเสียเนื้อไอศกรีมน้อย
นับเป็นทริกอย่างหนึ่ง มิเช่นนั้นคงไม่เป็นกันทุกร้าน
ทว่าเรื่องนี้มีคนแย้งกลับว่า สาเหตุที่ต้องตั้งอุณหภูมิตู้ไอศกรีมให้เย็นกว่าปกติ ไม่ใช่ต้องการควบคุมต้นทุนทำให้คนตักน้อย แต่เป็นเพราะร้านบุฟเฟต์มีคนตักถี่กว่าร้านที่ขายเอง จนมีการเปิดตู้บ่อย ๆ ซึ่งถ้าตั้งอุณหภูมิตามปกติ พอเจอคนเปิดตู้บ่อย ๆ ไอศกรีมจะละลายจนไม่เป็นก้อน ดังนั้น จึงต้องตั้งอุณหภูมิให้ต่ำลงถึงจะทำให้ไอศกรีมไม่เละ จนกลายเป็นแข็งอย่างที่เห็น
สำหรับคนที่มองว่า ร้านทำให้ไอศกรีมแข็งเพื่อลดต้นทุน อาจจะลืมเรื่องหนึ่งคือ การที่ตั้งค่าให้ตู้ไอศกรีมเย็นกว่าปกติ ก็ต้องใช้ไฟมากขึ้น ค่าไฟมากขึ้น ก็นับว่าเป็นต้นทุนเหมือนกัน
ภาพจาก เฟซบุ๊ก โฆษิต เทิดทูนไท
เดี๋ยวนี้ทางเลือกการกินอาหารนั้นหลากหลาย แต่ร้านที่เหมาะสำหรับการกินกับเพื่อนฝูง บรรยากาศเฮฮา สร้างประสบการณ์ร่วมกัน หนึ่งในนั้นมีร้านบุฟเฟต์ อยากกินอะไรก็กิน เมื่อกินของคาวเสร็จ ก็ตามด้วยของหวานอย่างไอศกรีม ฟิน ๆ กันไป แต่การกินไอศกรีมนี่แหละ ก็เป็นปัญหาโลกแตกของใครหลายคน แถมเป็นแบบเดียวกันหลายร้านด้วย
วันที่ 22 มีนาคม 2567 เฟซบุ๊ก โฆษิต เทิดทูนไท ตั้งคำถามว่า ทำไมการตักไอศกรีมในร้านบุฟเฟต์ถึงตักยากมาก ๆ กว่าจะตักได้ต้องใช้พลังงานเยอะ เพราะไอศกรีมเจ้ากรรมก็ดันแข็งเหลือเกิน เรื่องนี้ตนสงสัยมาก แต่ไม่ได้มีเจตนาตำหนิร้านอะไรทั้งนั้น
ขณะเดียวกัน เจ้าตัวก็โพสต์ภาพตอนตักไอศกรีม เห็นเส้นเลือดแขนปูดออกมา มองจากดาวอังคารก็รู้ว่าใช้แรงกดไอศกรีมเยอะมาก แต่ไอศกรีมที่ติดที่ตักนั้น มีน้อยเหลือเกิน
ชาวเน็ตเห็นโพสต์นี้ก็พลันนึกได้เช่นกันว่า ไอศกรีมในร้านบุฟเฟต์นั้นตักยากจริง แถมเป็นกันหลายร้าน ทั้งที่ไม่ได้มีเป็นเจ้าของคนเดียวกัน เรื่องนี้มีคนเข้ามาตอบถึงทฤษฎี ทำไมไอศกรีมถึงแข็งว่า เพราะเจ้าของร้านไม่เข้าใจเรื่องการควบคุมอุณหภูมิในตู้ว่า อาหารหรือเครื่องดื่มต่าง ๆ ต้องใช้อุณหภูมิเท่าใด
ทว่าเรื่องนี้มีคนแย้งกลับว่า สาเหตุที่ต้องตั้งอุณหภูมิตู้ไอศกรีมให้เย็นกว่าปกติ ไม่ใช่ต้องการควบคุมต้นทุนทำให้คนตักน้อย แต่เป็นเพราะร้านบุฟเฟต์มีคนตักถี่กว่าร้านที่ขายเอง จนมีการเปิดตู้บ่อย ๆ ซึ่งถ้าตั้งอุณหภูมิตามปกติ พอเจอคนเปิดตู้บ่อย ๆ ไอศกรีมจะละลายจนไม่เป็นก้อน ดังนั้น จึงต้องตั้งอุณหภูมิให้ต่ำลงถึงจะทำให้ไอศกรีมไม่เละ จนกลายเป็นแข็งอย่างที่เห็น
สำหรับคนที่มองว่า ร้านทำให้ไอศกรีมแข็งเพื่อลดต้นทุน อาจจะลืมเรื่องหนึ่งคือ การที่ตั้งค่าให้ตู้ไอศกรีมเย็นกว่าปกติ ก็ต้องใช้ไฟมากขึ้น ค่าไฟมากขึ้น ก็นับว่าเป็นต้นทุนเหมือนกัน