ประกาศตามหาคนดูแลบ้านริมทุ่งนา ใหญ่โต อยู่ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ขอแค่ทำตาม 7 เงื่อนไขนี้ อย่างน้อยก็ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเรื่องค่าครองชีพ
ภาพจาก เฟซบุ๊ก มูลนิธิกระจกเงา
หนึ่งในปัจจัย 4 ที่ช่วยประหยัดเรื่องค่าครองชีพไปได้เยอะนั่นคือ บ้าน หากเรามีบ้านอยู่เป็นของตัวเอง ก็ช่วยเซฟค่าใช้จ่ายเรื่องค่าเช่าบ้านไปได้เยอะมาก จนสามารถนำเงินส่วนนี้ไปใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ ในชีวิต หรือเก็บออมก็ยังได้
วันที่ 28 มีนาคม 2567 เฟซบุ๊ก มูลนิธิกระจกเงา มีการประกาศตามหาผู้ดูแลบ้าน แลกกับเงื่อนไขเบื้องต้นคือ อยู่ฟรี ไม่มีค่าเช่า โดยบ้านหลังนี้เป็นบ้านไม้ทรงไทยฉบับอีสานสไตล์ สร้างโดยศิลปินนักปั้นชั้นครูที่รักในศิลปะ วัฒนธรรม ชื่นชอบธรรมชาติ และมีงานอดิเรกเป็นศาสตร์การแพทย์แผนไทย จนทุกอย่างก่อตัวรวมกันเป็นบ้านหลังนี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อเจ้าของบ้านจากไป ลูกสาวก็เดินตามรอยเท้าพ่อมารับช่วงต่อ พยายามดูแลบ้านอย่างเต็มที่ เพื่อรักษาบ้านของพ่อ ความทรงจำของครอบครัวที่เคยมีกันที่นี่เอาไว้
กระทั่งวันนี้ เธอก็ยังคงดูแลบ้านเช่นเดิม แต่มีความตั้งใจที่จะให้บ้านเกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้บ้านกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง จึงมีการทำสัญญากับมูลนิธิกระจกเงาให้เข้าดูแลบ้านหลังนี้เป็นเวลา 5 ปี ดังนั้น ทางมูลนิธิจึงประกาศตามหาคนที่พร้อมดูแลบ้านหลังนี้ ต้องการอยู่อาศัย ต้องการลดค่าใช้จ่าย สามารถติดต่อได้ แต่มีเงื่อนไขร่วมกัน 7 ข้อดังนี้
ภาพจาก เฟซบุ๊ก มูลนิธิกระจกเงา
1. ผู้เข้าอยู่รับผิดชอบค่าน้ำค่าไฟด้วยตนเอง
2. ยินดีสนับสนุน มีส่วนร่วม กรณีมูลนิธิกระจกเงาเข้าไปใช้งานพื้นที่ ทำกิจกรรมทางสังคมในพื้นที่บ้านระหว่างเข้าอยู่
3. ผู้เข้าอยู่ทำงานในละแวกใกล้เคียงที่ตั้งของบ้าน และสะดวกเดินทางด้วยตัวเอง (บ้านตั้งอยู่ที่ซอยลำโพ 31 อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ใกล้โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบัวทอง)
4. ยินดีดูแลพื้นที่แห่งความทรงจำ ดูแลรักษา ซ่อมบำรุงบ้านและพื้นที่บริเวณบ้าน กรณีเกิดการชำรุดทรุดโทรม
5. บ้านเหมาะกับการอาศัยเป็นครอบครัว หรือหมู่คณะ
6. สามารถใช้พื้นที่อาศัยร่วมกับผู้อื่นได้ ในกรณีที่ยังมีบ้านหลังอื่นว่าง (บ้านมี 3 หลัง)
7. บ้านไม้ผุพังในบางส่วน โดยเฉพาะบ้านหลังใหญ่ เนื่องจากไม่มีผู้เข้าอาศัยมานาน แต่สามารถช่วยกันซ่อมบำรุงได้
ขณะเดียวกัน ผู้ที่ได้รับเลือกให้เข้าอาศัย จะต้องเซ็นสัญญาแบบปีต่อปี และการคัดเลือกถือเป็นดุลยพินิจของทีมงานมูลนิธิกระจกเงา ถือเป็นที่สิ้นสุด ซึ่งในตอนนี้มูลนิธิปิดรับสมัครเรียบร้อยแล้ว
ภาพจาก เฟซบุ๊ก มูลนิธิกระจกเงา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก มูลนิธิกระจกเงา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก มูลนิธิกระจกเงา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก มูลนิธิกระจกเงา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก มูลนิธิกระจกเงา
หนึ่งในปัจจัย 4 ที่ช่วยประหยัดเรื่องค่าครองชีพไปได้เยอะนั่นคือ บ้าน หากเรามีบ้านอยู่เป็นของตัวเอง ก็ช่วยเซฟค่าใช้จ่ายเรื่องค่าเช่าบ้านไปได้เยอะมาก จนสามารถนำเงินส่วนนี้ไปใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ ในชีวิต หรือเก็บออมก็ยังได้
วันที่ 28 มีนาคม 2567 เฟซบุ๊ก มูลนิธิกระจกเงา มีการประกาศตามหาผู้ดูแลบ้าน แลกกับเงื่อนไขเบื้องต้นคือ อยู่ฟรี ไม่มีค่าเช่า โดยบ้านหลังนี้เป็นบ้านไม้ทรงไทยฉบับอีสานสไตล์ สร้างโดยศิลปินนักปั้นชั้นครูที่รักในศิลปะ วัฒนธรรม ชื่นชอบธรรมชาติ และมีงานอดิเรกเป็นศาสตร์การแพทย์แผนไทย จนทุกอย่างก่อตัวรวมกันเป็นบ้านหลังนี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อเจ้าของบ้านจากไป ลูกสาวก็เดินตามรอยเท้าพ่อมารับช่วงต่อ พยายามดูแลบ้านอย่างเต็มที่ เพื่อรักษาบ้านของพ่อ ความทรงจำของครอบครัวที่เคยมีกันที่นี่เอาไว้
กระทั่งวันนี้ เธอก็ยังคงดูแลบ้านเช่นเดิม แต่มีความตั้งใจที่จะให้บ้านเกิดประโยชน์สูงสุด ทำให้บ้านกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง จึงมีการทำสัญญากับมูลนิธิกระจกเงาให้เข้าดูแลบ้านหลังนี้เป็นเวลา 5 ปี ดังนั้น ทางมูลนิธิจึงประกาศตามหาคนที่พร้อมดูแลบ้านหลังนี้ ต้องการอยู่อาศัย ต้องการลดค่าใช้จ่าย สามารถติดต่อได้ แต่มีเงื่อนไขร่วมกัน 7 ข้อดังนี้
ภาพจาก เฟซบุ๊ก มูลนิธิกระจกเงา
2. ยินดีสนับสนุน มีส่วนร่วม กรณีมูลนิธิกระจกเงาเข้าไปใช้งานพื้นที่ ทำกิจกรรมทางสังคมในพื้นที่บ้านระหว่างเข้าอยู่
3. ผู้เข้าอยู่ทำงานในละแวกใกล้เคียงที่ตั้งของบ้าน และสะดวกเดินทางด้วยตัวเอง (บ้านตั้งอยู่ที่ซอยลำโพ 31 อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี ใกล้โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบางบัวทอง)
4. ยินดีดูแลพื้นที่แห่งความทรงจำ ดูแลรักษา ซ่อมบำรุงบ้านและพื้นที่บริเวณบ้าน กรณีเกิดการชำรุดทรุดโทรม
5. บ้านเหมาะกับการอาศัยเป็นครอบครัว หรือหมู่คณะ
6. สามารถใช้พื้นที่อาศัยร่วมกับผู้อื่นได้ ในกรณีที่ยังมีบ้านหลังอื่นว่าง (บ้านมี 3 หลัง)
7. บ้านไม้ผุพังในบางส่วน โดยเฉพาะบ้านหลังใหญ่ เนื่องจากไม่มีผู้เข้าอาศัยมานาน แต่สามารถช่วยกันซ่อมบำรุงได้
ขณะเดียวกัน ผู้ที่ได้รับเลือกให้เข้าอาศัย จะต้องเซ็นสัญญาแบบปีต่อปี และการคัดเลือกถือเป็นดุลยพินิจของทีมงานมูลนิธิกระจกเงา ถือเป็นที่สิ้นสุด ซึ่งในตอนนี้มูลนิธิปิดรับสมัครเรียบร้อยแล้ว
ภาพจาก เฟซบุ๊ก มูลนิธิกระจกเงา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก มูลนิธิกระจกเงา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก มูลนิธิกระจกเงา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก มูลนิธิกระจกเงา