คนงานเมียนมาปิดล้อมไซต์ก่อสร้างระยอง เหตุเครนถล่มทับนั่งร้านทำดับ 6 ศพ ล่าสุดยอมเปิดทาง เจรจายุติ จ่ายเงินเยียวยา รายละ 1.6 ล้านบาท
ภาพจาก เฟซบุ๊ก เครือสหพัฒน์-แหลมฉบัง-ชลบุรี
กรณีวันที่ 29 มีนาคม 2567 เกิดเหตุเครนก่อสร้างในโรงงานแห่งหนึ่ง ในพื้นที่ ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ถล่มใส่นั่งร้านจนคนงานตกลงมาเสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บสาหัส 1 ราย จนต่อมาเกิดเหตุการณ์คนงาน 3 พันคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว ประท้วงลุกฮือ ไม่ให้เอาศพกับคนเจ็บออกจากพื้นที่ เพราะโรงงานไม่จ่ายค่าชดเชยศพละ 5 ล้านบาท
เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 29 มีนาคม 2567 ข่าวช่อง 3 รายงานว่า จากการติดตามข้อมูลเพิ่มเติม สาเหตุที่คนงานไม่ต้องการให้เคลื่อนย้ายศพผู้เสียชีวิตออกจากที่เกิดเหตุเนื่องจาก ต้องการให้ทางโรงงานจ่ายค่าชดเชยรายละ 5 ล้านบาท แต่ทางโรงงานต่อรองจะจ่ายชดเชยให้เพียง รายละ 1 ล้านบาท คนงานกว่า 3 พันคนจึงไม่พอใจจนเป็นเหตุไม่ให้ย้ายศพผู้เสียชีวิตออกจากพื้นที่
ภาพจาก เฟซบุ๊ก เครือสหพัฒน์-แหลมฉบัง-ชลบุรี
บรรยากาศช่วง 21.00 น. บริเวณภายในโรงงาน คนงานกว่า 3 พันคนยังคงปักหลักรอคำตอบเงินชดเชยตามที่เรียกร้อง โดยมีตำรวจภูธรจังหวัดระยองระดมกำลังกว่า 100 นายเข้าตรึงกำลังไม่ให้เกิดเหตุรุนแรง ข้อมูลเพิ่มเติมผู้เสียชีวิตยืนยัน ชาย 5 ราย หญิง 1 ราย ส่วนผู้บาดเจ็บสาหัสเป็นชาย 1 ราย
ล่าสุด (30 มีนาคม) ข่าวช่อง 3 รายงานว่า เมื่อเวลา 23.00 น. วันที่ 29 มีนาคม นางสว่างจิต เลาหโรจนพันธ์ สส.เขต 5 ระยอง และนายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ สส.เขต 4 ระยอง เดินทางมาที่ไซต์งานเครนถล่ม โดยร่วมกันหาทางออกกับ พล.ต.ต. พงษ์พันธ์ วงศ์มณีเทศ ผบก.ภ.จว.ระยอง พ.ต.อ. ชัยพงษ์ แสงพงษ์ชัย ผกก.สภ.ปลวกแดง นายสกณ กรกฎ นายอำเภอปลวกแดง รวมถึงญาติของผู้เสียชีวิต และผู้บริหารโรงงาน นายชุติพงศ์ ได้กล่าวว่า เบื้องต้น จะให้ทางญาติผู้เสียชีวิตมาลงชื่อไว้ก่อน ส่วนเรื่องเงินเยียวยาจะมีการช่วยเหลือเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรม พร้อมตรวจสอบเกี่ยวกับมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งจะมีการเจรจาร่วมกันระหว่างนายจ้างและผู้สูญเสียอีกครั้ง
ภาพจาก เฟซบุ๊ก เครือสหพัฒน์-แหลมฉบัง
พ.ต.อ. ชัยพงษ์ แสงพงษ์ชัย ผกก.สภ.ปลวกแดง กล่าวว่า สาเหตุที่แรงงานเมียนมาร่วม 500 คน ยังคงปักหลักและไม่ยอมให้นำศพออกจากจุดเกิดเหตุ เพราะยังตกลงกันไม่ได้ โดยทางญาติผู้เสียชีวิต เรียกร้องมาในตอนแรก ศพละ 5 ล้านบาท จนกระทั่งมีการเจรจาจนลดลงมาอยู่ที่ 2 ล้านบาท ไม่รวมเงินประกันสังคม แต่ทางนายจ้างยังไม่รับข้อเสนอ ซึ่งจะมึการเจรจากันใหม่ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับทั้งสองฝ่าย
ด้าน นายสมมาตร อนันต์ธราชัย จัดหางาน จ.ระยอง
พร้อมเจ้าหน้าที่ประกันสังคม จ.ระยอง กล่าวว่า สำหรับแรงงานที่เสียชีวิต
เป็นผู้ประกันตน เป็นแรงงานที่เข้ามาถูกกฎหมาย ซึ่งกรณีเสียชีวิต
ก็จะได้รับเงินประกันตน ประมาณ 8 แสนกว่าบาท
แต่ก็ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย
ภาพจาก เฟซบุ๊ก เครือสหพัฒน์-แหลมฉบัง
ต่อมาตัวแทนจากสหภาพแรงงานชาวเมียนมาจาก WAG ซึ่งทั้งหมดเป็นชาวเมียนมา ได้เดินทางมาที่ไซต์งานเกิดเหตุ โดยมีแรงงานเมียนมากว่าร้อยคนเดินออกมาต้อนรับ แล้วพาเข้าไปยังจุดที่ปักหลักชุมนุม ท่ามกลางเสียงโห่ร้องต้อนรับ ก่อนที่ทั้งหมดจะเข้าไปร่วมเจรจาร่วมกับนายจ้าง ญาติผู้เสียชีวิต
ภาพจาก เฟซบุ๊ก เครือสหพัฒน์-แหลมฉบัง-ชลบุรี
หลังใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง นายชุติพงศ์ สส.เขต 3 ระยอง ออกมากล่าวว่า จากการร่วมการเจรจา สรุปว่า จะมีการทำสัญญาระหว่างนายจ้างกับ ญาติผู้เสียชีวิต และมีตัวแทนสหภาพแรงงานชาวเมียนมา เป็นผู้กำกับดูแล โดยตกลงเงินเยียวยากันที่ 1,600,000 บาท รวมเงินประกันสังคม ส่วนเงินเยียวยาอื่น ๆ เป็นไปตามกฎหมาย
หลังจากที่ญาติผู้เสียชีวิตและตัวแทนโรงงานได้ลงนามในสัญญาเสร็จ แรงงานที่ปักหลักชุมนุมก็เริ่มทยอยแยกย้ายกันออกไป เปิดทางให้รถกู้ภัยจำนวน 4 คัน ที่บรรทุกศพผู้เสียชีวิตจากเครนถล่มเดินทางส่งไปตรวจชันสูตรที่โรงพยาบาลปลวกแดงต่อไป
ภาพจาก ข่าว 3 มิติ
ภาพจาก ข่าว 3 มิติ
ภาพจาก ข่าว 3 มิติ
ภาพจาก ข่าว 3 มิติ
ขอบคุณข้อมูลจาก ข่าวช่อง 3, ข่าวช่อง 3
ภาพจาก เฟซบุ๊ก เครือสหพัฒน์-แหลมฉบัง-ชลบุรี
กรณีวันที่ 29 มีนาคม 2567 เกิดเหตุเครนก่อสร้างในโรงงานแห่งหนึ่ง ในพื้นที่ ต.ตาสิทธิ์ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง ถล่มใส่นั่งร้านจนคนงานตกลงมาเสียชีวิต 6 ราย บาดเจ็บสาหัส 1 ราย จนต่อมาเกิดเหตุการณ์คนงาน 3 พันคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าว ประท้วงลุกฮือ ไม่ให้เอาศพกับคนเจ็บออกจากพื้นที่ เพราะโรงงานไม่จ่ายค่าชดเชยศพละ 5 ล้านบาท
เกี่ยวกับเรื่องนี้ วันที่ 29 มีนาคม 2567 ข่าวช่อง 3 รายงานว่า จากการติดตามข้อมูลเพิ่มเติม สาเหตุที่คนงานไม่ต้องการให้เคลื่อนย้ายศพผู้เสียชีวิตออกจากที่เกิดเหตุเนื่องจาก ต้องการให้ทางโรงงานจ่ายค่าชดเชยรายละ 5 ล้านบาท แต่ทางโรงงานต่อรองจะจ่ายชดเชยให้เพียง รายละ 1 ล้านบาท คนงานกว่า 3 พันคนจึงไม่พอใจจนเป็นเหตุไม่ให้ย้ายศพผู้เสียชีวิตออกจากพื้นที่
ภาพจาก เฟซบุ๊ก เครือสหพัฒน์-แหลมฉบัง-ชลบุรี
บรรยากาศช่วง 21.00 น. บริเวณภายในโรงงาน คนงานกว่า 3 พันคนยังคงปักหลักรอคำตอบเงินชดเชยตามที่เรียกร้อง โดยมีตำรวจภูธรจังหวัดระยองระดมกำลังกว่า 100 นายเข้าตรึงกำลังไม่ให้เกิดเหตุรุนแรง ข้อมูลเพิ่มเติมผู้เสียชีวิตยืนยัน ชาย 5 ราย หญิง 1 ราย ส่วนผู้บาดเจ็บสาหัสเป็นชาย 1 ราย
ล่าสุด (30 มีนาคม) ข่าวช่อง 3 รายงานว่า เมื่อเวลา 23.00 น. วันที่ 29 มีนาคม นางสว่างจิต เลาหโรจนพันธ์ สส.เขต 5 ระยอง และนายชุติพงศ์ พิภพภิญโญ สส.เขต 4 ระยอง เดินทางมาที่ไซต์งานเครนถล่ม โดยร่วมกันหาทางออกกับ พล.ต.ต. พงษ์พันธ์ วงศ์มณีเทศ ผบก.ภ.จว.ระยอง พ.ต.อ. ชัยพงษ์ แสงพงษ์ชัย ผกก.สภ.ปลวกแดง นายสกณ กรกฎ นายอำเภอปลวกแดง รวมถึงญาติของผู้เสียชีวิต และผู้บริหารโรงงาน นายชุติพงศ์ ได้กล่าวว่า เบื้องต้น จะให้ทางญาติผู้เสียชีวิตมาลงชื่อไว้ก่อน ส่วนเรื่องเงินเยียวยาจะมีการช่วยเหลือเพื่อให้ได้รับความเป็นธรรม พร้อมตรวจสอบเกี่ยวกับมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งจะมีการเจรจาร่วมกันระหว่างนายจ้างและผู้สูญเสียอีกครั้ง
ภาพจาก เฟซบุ๊ก เครือสหพัฒน์-แหลมฉบัง
พ.ต.อ. ชัยพงษ์ แสงพงษ์ชัย ผกก.สภ.ปลวกแดง กล่าวว่า สาเหตุที่แรงงานเมียนมาร่วม 500 คน ยังคงปักหลักและไม่ยอมให้นำศพออกจากจุดเกิดเหตุ เพราะยังตกลงกันไม่ได้ โดยทางญาติผู้เสียชีวิต เรียกร้องมาในตอนแรก ศพละ 5 ล้านบาท จนกระทั่งมีการเจรจาจนลดลงมาอยู่ที่ 2 ล้านบาท ไม่รวมเงินประกันสังคม แต่ทางนายจ้างยังไม่รับข้อเสนอ ซึ่งจะมึการเจรจากันใหม่ เพื่อให้เป็นที่ยอมรับทั้งสองฝ่าย
ภาพจาก เฟซบุ๊ก เครือสหพัฒน์-แหลมฉบัง
ต่อมาตัวแทนจากสหภาพแรงงานชาวเมียนมาจาก WAG ซึ่งทั้งหมดเป็นชาวเมียนมา ได้เดินทางมาที่ไซต์งานเกิดเหตุ โดยมีแรงงานเมียนมากว่าร้อยคนเดินออกมาต้อนรับ แล้วพาเข้าไปยังจุดที่ปักหลักชุมนุม ท่ามกลางเสียงโห่ร้องต้อนรับ ก่อนที่ทั้งหมดจะเข้าไปร่วมเจรจาร่วมกับนายจ้าง ญาติผู้เสียชีวิต
ภาพจาก เฟซบุ๊ก เครือสหพัฒน์-แหลมฉบัง-ชลบุรี
หลังใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง นายชุติพงศ์ สส.เขต 3 ระยอง ออกมากล่าวว่า จากการร่วมการเจรจา สรุปว่า จะมีการทำสัญญาระหว่างนายจ้างกับ ญาติผู้เสียชีวิต และมีตัวแทนสหภาพแรงงานชาวเมียนมา เป็นผู้กำกับดูแล โดยตกลงเงินเยียวยากันที่ 1,600,000 บาท รวมเงินประกันสังคม ส่วนเงินเยียวยาอื่น ๆ เป็นไปตามกฎหมาย
นอกจากนี้ทางโรงงานจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายงานศพทั้งหมด โดยจ่ายก่อนศพละ 5
แสนบาท ส่วนที่เหลือจ่ายให้ภายในระยะเวลา 3 เดือน
นอกจากนี้หลังจากที่ลงนามเซ็นสัญญา
ก็ต้องเปิดทางให้รถกู้ภัยนำศพผู้เสียชีวิตทั้ง 6 ศพ
ออกไปส่งที่โรงพยาบาลปลวกแดง ต่อมา
ตัวแทนสหภาพแรงงานเมียนมาได้แปลข้อตกลงเป็นภาษาเมียนมา
พอพูดจบแรงงานที่ปักหลักชุมนุม ต่างก็ปรบมือยอมรับเงื่อนไขดังกล่าว
ต่างไชโยโห่ร้องด้วยความดีใจ
หลังจากที่ญาติผู้เสียชีวิตและตัวแทนโรงงานได้ลงนามในสัญญาเสร็จ แรงงานที่ปักหลักชุมนุมก็เริ่มทยอยแยกย้ายกันออกไป เปิดทางให้รถกู้ภัยจำนวน 4 คัน ที่บรรทุกศพผู้เสียชีวิตจากเครนถล่มเดินทางส่งไปตรวจชันสูตรที่โรงพยาบาลปลวกแดงต่อไป
ภาพจาก ข่าว 3 มิติ
ภาพจาก ข่าว 3 มิติ
ภาพจาก ข่าว 3 มิติ
ภาพจาก ข่าว 3 มิติ
ขอบคุณข้อมูลจาก ข่าวช่อง 3, ข่าวช่อง 3