เปิดรายละเอียดคน 5 กลุ่มที่จะได้รับเงินเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มเป็น 11,000 บาท ต้องมีลักษณะอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างกฎหมายรองรับ เริ่ม 1 พฤษภาคม 2567

กรณีที่ ครม. ไฟเขียวปรับปรุงเงินค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญที่มีจำนวนเงินต่ำกว่า 11,000 บาท ให้มีอัตราสูงขึ้นจนครบเดือนละ 11,000 บาท เพื่อรองรับสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมถึงสอดคล้องกับการปรับเงินเดือนข้าราชการ โดยมีบุคคล 5 กลุ่มที่จะได้รับ
อ่านข่าว : ครม. ไฟเขียวปรับเงินเบี้ยหวัดบำนาญเป็น 11,000 บาท ช่วยเหลือคน 5 กลุ่ม ใครได้บ้าง
ล่าสุด วันที่ 4 เมษายน 2567 ฐานเศรษฐกิจ มีการเปิดรายละเอียดของบุคคลทั้ง 5 ที่จะได้รับเงินเบี้ยหวัดบำนาญว่าเป็นใคร มีคุณสมบัติอย่างไร ดังนี้
1. ผู้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม
- นายทหารชั้นสัญญาบัตรที่มีเวลาราชการไม่น้อยกว่า 1 ปี แล้วออกจากราชการเป็นนายทหารกองหนุน
- นายทหารชั้นสัญญาบัตรนอกประจำการ
- นายทหารประทวนและพลทหาร ซึ่งรับราชการในกองประจำการครบตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารแล้ว
- นายทหารประทวนและพลทหารกองหนุน ที่ไม่ได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ
ทั้งหมดนี้ เป็นไปตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด พ.ศ. 2495
2. ผู้รับบำนาญปกติ
คนที่จะได้รับเงินตรงนี้จะต้องเป็นข้าราชการที่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
- เหตุทดแทน
- เหตุทุพพลภาพ
- เหตุสูงอายุ
- เหตุรับราชการนาน
ทั้งหมดนี้ เป็นไปตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494
3. ผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ
การบำเหน็จบำนาญเหตุทพพลภาพนั้น จะต้องมีการตรวจจากแพทย์ และแสดงความเห็นว่า ไม่สามารถที่จะรับราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไป ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญฯ
4. บำนาญพิเศษ
เงินที่ต้องจ่ายให้กับทายาทของข้าราชการ เนื่องจากเสียชีวิตที่มาจากการปฏิบัติหน้าที่
5. บำนาญตกทอดในฐานทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ
เป็นเงินที่รัฐจ่ายให้แก่ทายาทของผู้ที่ถึงแก่ความตาย ซึ่งจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว หรือเรียกว่า เงินบำเหน็จตกทอด อย่างไรก็ตาม ยังมีเงินอีกประเภทหนึ่งคือ เงินบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะเป็นคำในกฎหมายเดิม ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังมีคนรับเงินนี้อยู่
สำหรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น กระทรวงการคลังคำนวณไว้แล้วว่า จะต้องจ่ายเพิ่ม 27.96 ล้านบาทต่อปี โดยจะมีการเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป
ขอบคุณข้อมูลจาก ฐานเศรษฐกิจ

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
อ่านข่าว : ครม. ไฟเขียวปรับเงินเบี้ยหวัดบำนาญเป็น 11,000 บาท ช่วยเหลือคน 5 กลุ่ม ใครได้บ้าง

ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
ล่าสุด วันที่ 4 เมษายน 2567 ฐานเศรษฐกิจ มีการเปิดรายละเอียดของบุคคลทั้ง 5 ที่จะได้รับเงินเบี้ยหวัดบำนาญว่าเป็นใคร มีคุณสมบัติอย่างไร ดังนี้
1. ผู้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม
- นายทหารชั้นสัญญาบัตรที่มีเวลาราชการไม่น้อยกว่า 1 ปี แล้วออกจากราชการเป็นนายทหารกองหนุน
- นายทหารชั้นสัญญาบัตรนอกประจำการ
- นายทหารประทวนและพลทหาร ซึ่งรับราชการในกองประจำการครบตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหารแล้ว
- นายทหารประทวนและพลทหารกองหนุน ที่ไม่ได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญ
ทั้งหมดนี้ เป็นไปตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด พ.ศ. 2495
2. ผู้รับบำนาญปกติ
คนที่จะได้รับเงินตรงนี้จะต้องเป็นข้าราชการที่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่
- เหตุทดแทน
- เหตุทุพพลภาพ
- เหตุสูงอายุ
- เหตุรับราชการนาน
ทั้งหมดนี้ เป็นไปตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494
3. ผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ
การบำเหน็จบำนาญเหตุทพพลภาพนั้น จะต้องมีการตรวจจากแพทย์ และแสดงความเห็นว่า ไม่สามารถที่จะรับราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไป ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญฯ
4. บำนาญพิเศษ
เงินที่ต้องจ่ายให้กับทายาทของข้าราชการ เนื่องจากเสียชีวิตที่มาจากการปฏิบัติหน้าที่
5. บำนาญตกทอดในฐานทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะ
เป็นเงินที่รัฐจ่ายให้แก่ทายาทของผู้ที่ถึงแก่ความตาย ซึ่งจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว หรือเรียกว่า เงินบำเหน็จตกทอด อย่างไรก็ตาม ยังมีเงินอีกประเภทหนึ่งคือ เงินบำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะเป็นคำในกฎหมายเดิม ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังมีคนรับเงินนี้อยู่
สำหรับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น กระทรวงการคลังคำนวณไว้แล้วว่า จะต้องจ่ายเพิ่ม 27.96 ล้านบาทต่อปี โดยจะมีการเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป
ขอบคุณข้อมูลจาก ฐานเศรษฐกิจ