พิษฝุ่น PM2.5 ยังคงสร้างเรื่อง หลังอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสียชีวิตด้วยมะเร็งปอด 4 รายในรอบ 2 ปี น่าเศร้า หนึ่งในนั้นคือผู้ริเริ่มวิเคราะห์ฝุ่นพิษก่อนที่ใครจะรู้จัก PM2.5
ปัญหาเรื่องฝุ่น PM2.5 ใน จ.เชียงใหม่ ถือเป็นปัญหาวิกฤตระดับชาติที่ควรเป็นเรื่องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เนื่องจากตามสถิติ จ.เชียงใหม่ มีค่าฝุ่นยอดแย่ติด 10 อันดับโลกอยู่บ่อยครั้ง แถมมีผู้ป่วยโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจอย่างต่อเนื่อง เช่น มะเร็งปอด หลายคนแล้ว แม้กระทั่งคนมีชื่อเสียงก็ไม่รอด
วันที่ 5 เมษายน 2567 เฟซบุ๊ก Pichaarpa Pisutserani ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญ์อาภา พิศุทธ์เศรณี สำนักวิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการโพสต์รายนามอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เสียชีวิตจากมะเร็งปอด ตอนนี้มีทั้งหมด 4 รายในรอบ 2 ปี หลังจากล่าสุดเพิ่งสูญเสียบุคลากรไปอีก 1 คน โดยบุคลากรที่เสียชีวิตทั้งหมด 4 คนมีดังนี้
1. รองศาสตราจารย์ ดร.ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสียชีวิต เดือนมีนาคม 2565 อายุประมาณ 40 ปี
ภาพจาก เฟซบุ๊ก สู้ดิวะ
3. นพ.กฤตไท ธนกฤตสมบัติ อาจารย์ประจำศูนย์ระบาดวิทยาคลินิกและสถิติศาสตร์คลินิก ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าของเพจ สู้ดิวะ ที่เล่าเรื่องราวในช่วง 1 ปีหลังจากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งปอดจนเป็นที่โด่งดัง เสียชีวิตในเดือนธันวาคม 2566 อายุ 29 ปี
4. ศาสตราจารย์ ดร.ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสียชีวิตเดือนเมษายน 2567
ทั้งนี้ ทาง ดร.พิชญ์อาภา ยังระบุอีกว่า ต้องรอสูญเสียอีกเท่าไรถึงสามารถแก้ไขปัญหาการเผาและฝุ่น PM2.5 ได้
วันที่ 5 เมษายน 2567 เฟซบุ๊ก Pichaarpa Pisutserani ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญ์อาภา พิศุทธ์เศรณี สำนักวิชาการระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีการโพสต์รายนามอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เสียชีวิตจากมะเร็งปอด ตอนนี้มีทั้งหมด 4 รายในรอบ 2 ปี หลังจากล่าสุดเพิ่งสูญเสียบุคลากรไปอีก 1 คน โดยบุคลากรที่เสียชีวิตทั้งหมด 4 คนมีดังนี้
ภาพจาก เฟซบุ๊ก WEVO สื่ออาสา
1. รองศาสตราจารย์ ดร.ภาณุวรรณ จันทวรรณกูร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสียชีวิต เดือนมีนาคม 2565 อายุประมาณ 40 ปี
ภาพจาก
เฟซบุ๊ก นิทัศน์ จิระอรุณ
2.
รองศาสตราจารย์ ดร.มงคล รายะนาคร อดีตคณบดีของคณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ริเริ่มศึกษาฝุ่นพิษ ตั้งแต่ปี 2550
ตั้งแต่ยังไม่มีใครรู้จัก PM2.5
ในชื่อโครงการวิจัยเรื่องการวิเคราะห์เพื่อหามลพิษทางอากาศในอนุภาคฝุ่นในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน
ทุนวิจัยจาก สกว. เสียชีวิตเดือนกันยายน 2566 อายุ 74 ปี3. นพ.กฤตไท ธนกฤตสมบัติ อาจารย์ประจำศูนย์ระบาดวิทยาคลินิกและสถิติศาสตร์คลินิก ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เจ้าของเพจ สู้ดิวะ ที่เล่าเรื่องราวในช่วง 1 ปีหลังจากตรวจพบว่าเป็นมะเร็งปอดจนเป็นที่โด่งดัง เสียชีวิตในเดือนธันวาคม 2566 อายุ 29 ปี
ภาพจาก
Faculty of Architecture, Chiang Mai University
4. ศาสตราจารย์ ดร.ระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสียชีวิตเดือนเมษายน 2567
ทั้งนี้ ทาง ดร.พิชญ์อาภา ยังระบุอีกว่า ต้องรอสูญเสียอีกเท่าไรถึงสามารถแก้ไขปัญหาการเผาและฝุ่น PM2.5 ได้