เถกิง สมทรัพย์ อดีตนายกสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย วิจารณ์หนังเรื่อง หลานม่า ไม่มีรูปพระบรมฉายาลักษณ์สักรัชกาล คิดว่าคนสร้างต้องการหลบประเด็นนี้ แต่จริง ๆ มีเรื่องของการขออนุญาตเข้ามาเกี่ยวข้อง
ภาพจาก GDH
วันที่ 16 เมษายน 2567 เถกิง สมทรัพย์ อดีตนายกสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย ได้ออกมาวิจารณ์ภาพยนตร์เรื่อง หลานม่า ว่าเป็นเรื่องผิดปกติมาก ที่ในหนัง ไม่ปรากฏรูปในหลวงแม้แต่รัชกาลเดียวในเรื่อง
ทั้งนี้ นายเถกิงบอกว่า ตนได้ไปที่ย่านตลาดพูล ซึ่งเป็นโลเคชั่นที่ถ่ายหนังเรื่อง หลานม่า ซึ่งในย่านชุมชนนี้เป็นชุมชนคนจีนเก่า บางร้านมีการประดับภาพพระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่งคนจีนทั่วไป จะรู้สำนึกในบุญคุณ และเคารพนับถือพระเจ้าอยู่หัวมาโดยตลอด
ภาพจาก GDH
นายเถกิงอ้างว่า คนสร้างอาจจะจงใจ ไม่ให้มีภาพเคารพในสถานที่ต่าง ๆ หลบประเด็นเพราะไม่ต้องการให้นำมาเป็นประเด็นในภาพยนตร์ที่มีเป้าหมายคือกลุ่มวัยรุ่น และยังมีฉากที่อาม่ากราบไหว้นับถือเจ้าแม่กวนอิม ทำพิธีถูกต้อง จัดวางรูปเคารพอย่างพิถีพิถัน แต่ลูกหลานกลับทำลวก ๆ ไม่สนใจ เหมือนไม่เข้าใจอาม่า
"รูปปั้นเคารพของเจ้าแม่กวนอิม อาจสื่อความหมายของคนรุ่นอาม่า กับ คนรุ่นหลานม่า
แต่ผมเชื่อว่า ถ้ามีหลานม่าภาค 2 รูปปั้นเคารพเจ้าแม่กวนอิม จะต้องได้รับการจัดวางอย่างดีและมีเครื่องเซ่นไหว้ครบถ้วนในบ้านของเอ็ม"
ภาพจาก GDH
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบ พบว่า การนำภาพพระบรมฉายาลักษณ์ มาเผยแพร่นั้น ต้องได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้องในทุกกรณี ไม่ว่าภาพนั้นจะถ่ายโดยใคร และในบางกรณี จะต้องเป็นพระบรมราชานุญาต หรือพระราชานุญาตด้วย ทางผู้จัดทำต้องส่งเรื่องไปพิจารณาที่สำนักราชเลขาธิการ ซึ่งขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรีโดยตรง และการที่จะได้รับอนุญาต หรือไม่ได้รับอนุญาต ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ไม่ใช่ว่าหากผู้จัดหนังขอแล้วต้องได้รับอนุญาตเสมอไป
ภาพจาก GDH
นอกจากนี้ ยังมีหลักเกณฑ์ว่า การเผยแพร่ภาพนั้นต้องไม่เป็นไปเพื่อการค้า มีผลประโยชน์ อวดอ้าง หาเสียง หรือนำไปสู่การดูหมิ่นต่าง ๆ ไม่รวมไปถึงการที่หากมีภาพพระบรมฉายาลักษณ์ จะต้องไม่เป็นเพียงพร็อพประกอบฉาก จัดวางให้เหมาะสม ภาพต้องอยู่ในฉากที่ไม่มีความรุนแรง ไม่อยู่ในฉากที่อาจจะสื่อความหมายในเชิงลบ และอีกหลายอย่าง ดังนั้น เราจึงมักไม่เห็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ในละคร สารคดี หรือหนังทั่ว ๆ ไป ยกเว้นสารคดีเฉลิมพระเกียรติเท่านั้น
ภาพจาก GDH
วันที่ 16 เมษายน 2567 เถกิง สมทรัพย์ อดีตนายกสมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย ได้ออกมาวิจารณ์ภาพยนตร์เรื่อง หลานม่า ว่าเป็นเรื่องผิดปกติมาก ที่ในหนัง ไม่ปรากฏรูปในหลวงแม้แต่รัชกาลเดียวในเรื่อง
ทั้งนี้ นายเถกิงบอกว่า ตนได้ไปที่ย่านตลาดพูล ซึ่งเป็นโลเคชั่นที่ถ่ายหนังเรื่อง หลานม่า ซึ่งในย่านชุมชนนี้เป็นชุมชนคนจีนเก่า บางร้านมีการประดับภาพพระบรมฉายาลักษณ์ ซึ่งคนจีนทั่วไป จะรู้สำนึกในบุญคุณ และเคารพนับถือพระเจ้าอยู่หัวมาโดยตลอด
ภาพจาก GDH
นายเถกิงอ้างว่า คนสร้างอาจจะจงใจ ไม่ให้มีภาพเคารพในสถานที่ต่าง ๆ หลบประเด็นเพราะไม่ต้องการให้นำมาเป็นประเด็นในภาพยนตร์ที่มีเป้าหมายคือกลุ่มวัยรุ่น และยังมีฉากที่อาม่ากราบไหว้นับถือเจ้าแม่กวนอิม ทำพิธีถูกต้อง จัดวางรูปเคารพอย่างพิถีพิถัน แต่ลูกหลานกลับทำลวก ๆ ไม่สนใจ เหมือนไม่เข้าใจอาม่า
"รูปปั้นเคารพของเจ้าแม่กวนอิม อาจสื่อความหมายของคนรุ่นอาม่า กับ คนรุ่นหลานม่า
แต่ผมเชื่อว่า ถ้ามีหลานม่าภาค 2 รูปปั้นเคารพเจ้าแม่กวนอิม จะต้องได้รับการจัดวางอย่างดีและมีเครื่องเซ่นไหว้ครบถ้วนในบ้านของเอ็ม"
ภาพจาก GDH
อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบ พบว่า การนำภาพพระบรมฉายาลักษณ์ มาเผยแพร่นั้น ต้องได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้องในทุกกรณี ไม่ว่าภาพนั้นจะถ่ายโดยใคร และในบางกรณี จะต้องเป็นพระบรมราชานุญาต หรือพระราชานุญาตด้วย ทางผู้จัดทำต้องส่งเรื่องไปพิจารณาที่สำนักราชเลขาธิการ ซึ่งขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรีโดยตรง และการที่จะได้รับอนุญาต หรือไม่ได้รับอนุญาต ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ไม่ใช่ว่าหากผู้จัดหนังขอแล้วต้องได้รับอนุญาตเสมอไป
ภาพจาก GDH
นอกจากนี้ ยังมีหลักเกณฑ์ว่า การเผยแพร่ภาพนั้นต้องไม่เป็นไปเพื่อการค้า มีผลประโยชน์ อวดอ้าง หาเสียง หรือนำไปสู่การดูหมิ่นต่าง ๆ ไม่รวมไปถึงการที่หากมีภาพพระบรมฉายาลักษณ์ จะต้องไม่เป็นเพียงพร็อพประกอบฉาก จัดวางให้เหมาะสม ภาพต้องอยู่ในฉากที่ไม่มีความรุนแรง ไม่อยู่ในฉากที่อาจจะสื่อความหมายในเชิงลบ และอีกหลายอย่าง ดังนั้น เราจึงมักไม่เห็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ในละคร สารคดี หรือหนังทั่ว ๆ ไป ยกเว้นสารคดีเฉลิมพระเกียรติเท่านั้น