คนเปรียบเทียบ เงินข้าราชการครู ทำไมถึงมากว่า ข้าราชการพลเรือนในระดับเดียวกัน ชาวเน็ตแห่เสนอมุมมองอีกด้าน
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ตั้งกระทู้หัวข้อ "ทำไม เงินข้าราชการครู ถึงมากว่า ข้าราชการพลเรือน อื่น ๆ ในระดับเดียวกัน" พร้อมเทียบตารางฐานคำนวณเงินเดือนข้าราชการครู กับ ตารางฐานเงินเดือนข้าราชการพลเรือนทั่วไป ซึ่งจะเห็นถึงความแตกต่าง พอสมควร โดยจะเทียบให้เห็นถึงยศระหว่างข้าราชการครู และข้าราชการพลเรือน ดังนี้
ครู ผู้ช่วย = ระดับปฏิบัติการ
คศ.1 = ระดับปฏิบัติการ
คศ.2 = ระดับชำนาญการ
คศ.3 = ระดับชำนาญการพิเศษ
คศ.4 = ระดับเชี่ยวชาญ
คศ.5 = ระดับทรงคุณวุฒิ
จะสังเกตได้ว่า หากเป็นครู ซึ่งเท่ากับพนักงานระดับปฏิบัติการ = คศ. 1 จะได้เงินเดือนสูงสุดที่ 34,310 บาท เมื่อเฉลี่ยฐานบนจะได้รับเงินเดือนที่ 29,600 บาท แต่หากเป็นข้าราชการพลเรือนด้านวิชาการ จะได้เงินเดือนสูงสุดที่ 26,900 บาท เมื่อเฉลี่ยฐานบนจะได้รับเงินเดือนที่ 23,930 บาท
หรืออีกกรณีคือ หากเป็นครูระดับ คศ. 2 ซึ่งเท่ากับเป็นครูระดับชำนาญการ จะได้เงินเดือนสูงสุดที่ 41,620 บาท เมื่อเฉลี่ยฐานบนจะได้รับเงินเดือนที่ 35,270 บาท แต่หากเป็นข้าราชการพลเรือนด้านวิชาการ ระดับชำนาญการ จะได้เงินเดือนสูงสุดที่ 43,600 บาท เมื่อเฉลี่ยฐานบนจะได้รับเงินเดือนที่ 36,470 บาท
ทั้งนี้ หากเป็นผู้ที่ใช้วุฒิปริญญาตรีในการสอบราชการ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการครู หรือข้าราชการพลเรือน การจะได้เป็น คศ. 2 หรือระดับชำนาญการนั้นต้องมีอายุราชการ 6 ปี จาก คศ.2 เป็น คศ.3 หรือระดับชำนาญการพิเศษ ต้องมีอายุราชการ 10ปี
จากตัวอย่างจะเห็นว่า ข้าราชการครู เงินเดือนจะไปเร็วกว่าข้าราชการพลเรือนบรรจุใหม่ ทำไมถึงไม่ให้เงินเดือนเท่ากันตั้งแต่แรก
หลังกระทู้นี้ถูกเผยแพร่ไป มีผู้คนเข้ามาให้แง่มุมที่น่าสนใจจำนวนมาก เช่น ครูเป็นบุคลากรวิชาชีพ ต้องมีใบประกอบวิชาชีพจึงสามารถประกอบอาชีพได้ ต้องเรียนปริญญาตรี 4+1 ปี หรือเรียน 5 ปี จึงจะได้ใบประกอบวิชาชีพ และสมัยนี้ ต้องสอบเพื่อขอรับใบประกอบวิชาชีพครูชั้นต้นจากคุรุสภาด้วย ถ้าเอาครูไปเทียบกับข้าราชการพลเรือนสามัญ ถือว่าไม่ถูกต้องนัก ควรจะเทียบกับบุคลากรวิชาชีพด้วยกัน เช่น แพทย์ ทนายความ ซึ่งจะพบว่าค่าตอบของอาชีพครูน้อยเกินไป
ตัวอย่างเช่น ป.ตรี นิติศาสตร์บัณฑิต 4 ปี สามารถบรรจุเป็นตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ (ไม่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ หากนำมาเทียบกับครูไม่ได้) ต้องไปเรียนต่อ จนได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทนายความ จึงจะมีสิทธิ์สอบอัยการ ผู้ช่วยผู้พิพากษาที่เงินเดือนสูง ๆ ส่วนแพทย์ก็ต้องมีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม เงินเดือนบุคลากรวิชาชีพอื่น ๆ ทำให้เงินเดือนสูง น่าคิดว่าบุคลากรทางการศึกษายังได้เงินเดือนน้อยไปหากเทียบกับวิชาชีพอื่น ๆ
ขณะที่มุมมองของคนที่ทำอาชีพครูหรือมีคนใกล้ชิดทำอาชีพนี้ มองว่า ครูเป็นอาชีพที่งานหนักไม่คุ้มเงินเดือน แทบไม่ได้พักผ่อน กลับบ้านไปยังต้องหอบงานไปทำ ถ้าเทียบกับข้าราชการสายงานอื่น แทบไม่มีใครต้องเจอแบบนี้ เงินเดือนที่เลื่อนเปอร์เซ็นต์น้อยมาก แทบไม่พอกิน สวัสดิการก็เบิกไม่ค่อยได้ ครูต้องรับภาระจ่ายเอง เงินเดือนถึงเหลือไม่มาก จนสร้างปัญหาให้บางคนต้องกู้ยืม ส่วนใหญ่จะลำบากตอนอายุน้อย ต้องทำต่อเนื่องหลัก 20 ปีจึงจะเริ่มอยู่ตัว เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก pantip
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
ครู ผู้ช่วย = ระดับปฏิบัติการ
คศ.1 = ระดับปฏิบัติการ
คศ.2 = ระดับชำนาญการ
คศ.3 = ระดับชำนาญการพิเศษ
คศ.4 = ระดับเชี่ยวชาญ
คศ.5 = ระดับทรงคุณวุฒิ
จะสังเกตได้ว่า หากเป็นครู ซึ่งเท่ากับพนักงานระดับปฏิบัติการ = คศ. 1 จะได้เงินเดือนสูงสุดที่ 34,310 บาท เมื่อเฉลี่ยฐานบนจะได้รับเงินเดือนที่ 29,600 บาท แต่หากเป็นข้าราชการพลเรือนด้านวิชาการ จะได้เงินเดือนสูงสุดที่ 26,900 บาท เมื่อเฉลี่ยฐานบนจะได้รับเงินเดือนที่ 23,930 บาท
หรืออีกกรณีคือ หากเป็นครูระดับ คศ. 2 ซึ่งเท่ากับเป็นครูระดับชำนาญการ จะได้เงินเดือนสูงสุดที่ 41,620 บาท เมื่อเฉลี่ยฐานบนจะได้รับเงินเดือนที่ 35,270 บาท แต่หากเป็นข้าราชการพลเรือนด้านวิชาการ ระดับชำนาญการ จะได้เงินเดือนสูงสุดที่ 43,600 บาท เมื่อเฉลี่ยฐานบนจะได้รับเงินเดือนที่ 36,470 บาท
ทั้งนี้ หากเป็นผู้ที่ใช้วุฒิปริญญาตรีในการสอบราชการ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการครู หรือข้าราชการพลเรือน การจะได้เป็น คศ. 2 หรือระดับชำนาญการนั้นต้องมีอายุราชการ 6 ปี จาก คศ.2 เป็น คศ.3 หรือระดับชำนาญการพิเศษ ต้องมีอายุราชการ 10ปี
จากตัวอย่างจะเห็นว่า ข้าราชการครู เงินเดือนจะไปเร็วกว่าข้าราชการพลเรือนบรรจุใหม่ ทำไมถึงไม่ให้เงินเดือนเท่ากันตั้งแต่แรก
คนชี้ อย่ามองที่เงินเดือนอย่างเดียว ต้องมองที่วุฒิการศึกษา - งานที่ทำ ไป ๆ มา ๆ อาจไม่คุ้ม
หลังกระทู้นี้ถูกเผยแพร่ไป มีผู้คนเข้ามาให้แง่มุมที่น่าสนใจจำนวนมาก เช่น ครูเป็นบุคลากรวิชาชีพ ต้องมีใบประกอบวิชาชีพจึงสามารถประกอบอาชีพได้ ต้องเรียนปริญญาตรี 4+1 ปี หรือเรียน 5 ปี จึงจะได้ใบประกอบวิชาชีพ และสมัยนี้ ต้องสอบเพื่อขอรับใบประกอบวิชาชีพครูชั้นต้นจากคุรุสภาด้วย ถ้าเอาครูไปเทียบกับข้าราชการพลเรือนสามัญ ถือว่าไม่ถูกต้องนัก ควรจะเทียบกับบุคลากรวิชาชีพด้วยกัน เช่น แพทย์ ทนายความ ซึ่งจะพบว่าค่าตอบของอาชีพครูน้อยเกินไป
ตัวอย่างเช่น ป.ตรี นิติศาสตร์บัณฑิต 4 ปี สามารถบรรจุเป็นตำแหน่งนิติกรปฏิบัติการ (ไม่ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ หากนำมาเทียบกับครูไม่ได้) ต้องไปเรียนต่อ จนได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทนายความ จึงจะมีสิทธิ์สอบอัยการ ผู้ช่วยผู้พิพากษาที่เงินเดือนสูง ๆ ส่วนแพทย์ก็ต้องมีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม เงินเดือนบุคลากรวิชาชีพอื่น ๆ ทำให้เงินเดือนสูง น่าคิดว่าบุคลากรทางการศึกษายังได้เงินเดือนน้อยไปหากเทียบกับวิชาชีพอื่น ๆ
ขณะที่มุมมองของคนที่ทำอาชีพครูหรือมีคนใกล้ชิดทำอาชีพนี้ มองว่า ครูเป็นอาชีพที่งานหนักไม่คุ้มเงินเดือน แทบไม่ได้พักผ่อน กลับบ้านไปยังต้องหอบงานไปทำ ถ้าเทียบกับข้าราชการสายงานอื่น แทบไม่มีใครต้องเจอแบบนี้ เงินเดือนที่เลื่อนเปอร์เซ็นต์น้อยมาก แทบไม่พอกิน สวัสดิการก็เบิกไม่ค่อยได้ ครูต้องรับภาระจ่ายเอง เงินเดือนถึงเหลือไม่มาก จนสร้างปัญหาให้บางคนต้องกู้ยืม ส่วนใหญ่จะลำบากตอนอายุน้อย ต้องทำต่อเนื่องหลัก 20 ปีจึงจะเริ่มอยู่ตัว เป็นต้น
ขอบคุณข้อมูลจาก pantip