วิธีลงทะเบียนเป็นครอบครัวอุปถัมภ์ ให้คนที่ช่วยเลี้ยงผู้สูงอายุ รับเงินนี้จนกว่าผู้สูงอายุจะเสียชีวิต เช็กคุณสมบัติ ทำยังไง ที่นี่
ภาพจาก GCC1111
วันที่ 23 เมษายน 2567 เว็บไซต์ รัฐบาลไทย และ ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน ได้ออกมาเผยถึงเงื่อนไขและคุณสมับัติ ของผู้ที่จะเป็นครอบครัวอุปถัมภ์ เพื่อตอบสนองผู้สูงอายุที่ต้องการอยู่กับครอบครัว ชุมชน และสังคม และสนับสนุนงบประมาณให้ลูกหลานที่ต้องลาออกมาดูแลเครือญาติหรือคนในชุมชนที่ดูและผู้สูงอายุที่เปราะบาง ไม่มีคนดูแล ดังนี้
ครอบครัวอุปถัมภ์ คืออะไร
ครอบครัวอุปถัมภ์คือ บุคคลหรือครอบครัว ที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี ให้เป็นครอบครัวอุปถัมภ์ผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน และไม่มีผู้ดูแลหรือ มีแต่ไม่สามารถเลี้ยงดูได้ การคุ้มครองตามระเบียบนี้ ผู้สูงอายุต้องยินยอมเป็นหนังสือตามแบบที่อธิบดีกำหนด กรณีผู้สูงอายุไม่สามารถให้การยินยอมได้ ให้นักสังคมสงเคราะห์เป็นผู้รวบรวมข้อเท็จจริงและเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการการขอคุ้มครองดูแลผู้สูงอายุให้ขอได้เพียงคราวละ 1 คน หากจะรับมากกว่านั้น ให้ระบุเหตุผล และความจำเป็นที่จะต้องรับผู้สูงอายุไว้คุ้มครองดูแลมากกว่าหนึ่งคน
คุณสมบัติของ ครอบครัวอุปถัมภ์
- อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
- ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งมีความพร้อมและศักยภาพในการดูแลผู้สูงอายุ อาจได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการ เป็นราย ๆ ไป
- มีที่อยู่อาศัยที่เป็นหลักแหล่ง และอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกับผู้สูงอายุ
- ได้รับความยินยอมจากสมาชิกทุกคนในครอบครัวว่ามีความพร้อมในการคุ้มครองผู้สูงอายุ
- ไม่เป็นผู้ต้องหาว่ากระทำผิดอาญา และอยู่ระหว่างการสอบสวนของพนักงานสอบสวนหรืออยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล
วิธีลงทะเบียนขอเป็น ครอบครัวอุปถัมภ์
ผู้ที่มีความประสงค์จะเป็นครอบครัวอุปถัมภ์ สามารถยื่นคำร้องลงทะเบียนได้ ตามนี้
กรุงเทพมหานคร
- กรมกิจการผู้สูงอายุ
- ศูนย์พัฒนการจัดสวัสดิการสังคม ผู้สูงอายุบ้านบางแค กรุงเทพ
ต่างจังหวัด
- สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.)
- ศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ (ศพส.) ที่อาศัยในจังหวัดนั้น ๆ
เอกสารที่ใช้ในการยื่นเป็นครอบครัวอุปถัมภ์
- ทะเบียนบ้าน
- บัตรประจ้าตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวประเภทหนึ่งประเภทใดที่มีเลขประจ้าตัวประชาชน
- รูปถ่ายหน้าตรง ซึ่งถ่ายไว้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 1 รูป
จากนั้น นักสังคมสงเคราะห์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย จะไปเยี่ยมบ้านของผู้ยื่นค้าขอและผู้สูงอายุ เพื่อสอบข้อเท็จจริงให้ได้ข้อมูลประวัติบุคคล ครอบครัว บุคคลที่เกี่ยวข้อง สภาพความเป็นอยู่ และความเหมาะสม ตามแบบที่อธิบดีกำหนด เสนอต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณาคุณสมบัติและความเหมาะสมของผู้ขอเป็นครอบครัวอุปถัมภ์ เสนอต่ออธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี
หากได้คุณสมบัติผ่านแล้ว จะให้อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี มีอำนาจ ดังต่อไปนี้
- อนุญาตเป็นครอบครัวอุปถัมภ์
- อนุมัติให้ความช่วยเหลือคุ้มครองดูแลผู้สูงอายุแก่ครอบครัวอุปถัมภ์ต่อไป
จำนวนเงินที่ได้จากการเป็นครอบครัวอุปถัมภ์
ผู้ที่ได้รับเป็นครอบครัวอุปถัมภ์ จะได้รับเงินครอบครัวละ 2,000 บาท ต่อผู้สูงอายุ 1 คนต่อเดือน เว้นแต่มีเหตุจำเป็นและเหมาะสม อาจพิจารณาให้เงินช่วยเหลือได้ไม่เกินครอบครัวละ 3,000 บาทต่อผู้สูงอายุ 1 คนต่อเดือน
จะได้รับเงินในการเป็นครอบครัวอุปถัมภ์ ไปจนถึงตอนไหน
การเป็นครอบครัวอุปถัมภ์สิ้นสุดลงในกรณี ดังต่อไปนี้
- ผู้สูงอายุหรือผู้ได้รับอนุญาตให้เป็นครอบครัวอุปถัมภ์ตาย
- ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองดูแลภายในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ และให้
หมายความรวมถึง สถานสงเคราะห์ สถานดูแล สถานคุ้มครอง หรือสถานที่อื่นของรัฐหรือองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นที่ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน
- ครอบครัวอุปถัมภ์ขอยกเลิกการเป็นครอบครัวอุปถัมภ์
- อธิบดีหรือผู้ว่าราชการจังหวัด แล้วแต่กรณี สั่งให้ยกเลิกการเป็นครอบครัวอุปถัมภ์ ตามความเห็นของคณะกรรมการด้วยเหตุไม่สามารถคุ้มครองดูแลผู้สูงอายุได้ คุ้มครองดูแลผู้สูงอายุไม่เหมาะสม ไม่ปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงตามข้อ 8 วรรคสอง
- ผู้สูงอายุไม่ประสงค์จะอยู่ในความคุ้มครองดูแลของครอบครัวอุปถัมภ์ มีผู้รับผู้สูงอายุไปคุ้มครองดูแล หรือเหตุอื่นตามความเห็นของคณะกรรมการ
จำนวนครอบครัวที่จะรับเป็นครอบครัวอุปถัมภ์
1,107 ราย
ยื่นขอเป็นครอบครัวอุปถัมภ์ได้ตอนไหน
เดือนพฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป
ภาพจาก GCC1111