ชงศึกษากฎหมายนักศึกษาฝึกงาน ได้รับเบี้ยเลี้ยงเงินเดือน จากนี้ไม่มีการจ้างฟรีอีกต่อไป อย่างน้อยให้มีสวัสดิการใกล้เคียงกับพนักงานของบริษัท
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
วันที่ 24 เมษายน 2567 ฐานเศรษฐกิจ รายงานว่า นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. มีการรับทราบรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง แนวทางการแก้ปัญหาการฝึกงานของนักเรียน นักศึกษา โดยเห็นว่า การฝึกงานเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และนำความรู้ที่เรียนมาใช้เพื่อป้องกันและแก้ปัญหา
อย่างไรก็ตาม การฝึกงานไม่มีลักษณะการเป็นลูกจ้างตามสัญญาแรงงานจ้าง เป็นเพียงการทำงานเพื่อให้จบการศึกษาสำเร็จตามหลักสูตรเท่านั้น จึงไม่มีการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานเช่นเดียวกับลูกจ้าง ดังนั้น จึงมีข้อคิดเห็นและเสนอแนะ 4 ประเด็น ได้แก่
1. สิทธิของนักเรียน นักศึกษาฝึกงาน จะมีการกำหนดค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยง การจัดทำประกันอุบัติเหตุ การมีสวัสดิการขั้นพื้นฐานในที่ทำงาน ซึ่งการไม่มีกฎหมายคุ้มครอง เวลาเกิดปัญหาขึ้น โดยเฉพาะเรื่องค่าตอบแทน การประสบอันตราย การเจ็บป่วย การฝึกงานอาจจะต้องเทียบเคียงจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความยุ่งยากหรือปัญหาตีความ นักศึกษาจะไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเหมาะสม
2. การคุ้มครองนักเรียน นิสิตและนักศึกษาฝึกงาน เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาฝึกงานได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย จะมีการแบ่งหน้าที่ให้หน่วยงานต่าง ๆ รับผิดชอบดังนี้
- ระดับอาชีวศึกษา ทางสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ออกประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การฝึกงานหลักสูตรการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในสถานประกอบการ พ.ศ. 2565 เรียบร้อยแล้ว
- ระดับปริญญาตรี ควรมอบหมายให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาจัดทำหลักเกณฑ์เรื่องการกำหนดมาตรฐานกลาง ให้นักศึกษาได้รับการคุ้มครอง และสอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
3. ปัญหาล่วงละเมิดทางเพศหรือคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ควรสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานให้ปราศจากการล่วงละเมิดทางเพศ สร้างความตระหนักรู้ และจัดการปัญหาอย่างทันท่วงทีกรณีมีการร้องเรียน
4. ยกระดับการคุ้มครองการฝึกงานในประเทศไทย เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองและรักรักษาสิทธิประโยชน์ที่ควรได้ ในฐานะลูกจ้างคนหนึ่ง และผลักดันร่าง พ.ร.บ.การฝึกงาน พ.ศ. ... ให้สำเร็จ
ทั้งหมดนี้ ครม. ได้มอบหมายให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณารายละเอียดตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ และศึกษาแนทางการออกกฎหมายต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก ฐานเศรษฐกิจ
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
อย่างไรก็ตาม การฝึกงานไม่มีลักษณะการเป็นลูกจ้างตามสัญญาแรงงานจ้าง เป็นเพียงการทำงานเพื่อให้จบการศึกษาสำเร็จตามหลักสูตรเท่านั้น จึงไม่มีการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงานเช่นเดียวกับลูกจ้าง ดังนั้น จึงมีข้อคิดเห็นและเสนอแนะ 4 ประเด็น ได้แก่
1. สิทธิของนักเรียน นักศึกษาฝึกงาน จะมีการกำหนดค่าตอบแทนเบี้ยเลี้ยง การจัดทำประกันอุบัติเหตุ การมีสวัสดิการขั้นพื้นฐานในที่ทำงาน ซึ่งการไม่มีกฎหมายคุ้มครอง เวลาเกิดปัญหาขึ้น โดยเฉพาะเรื่องค่าตอบแทน การประสบอันตราย การเจ็บป่วย การฝึกงานอาจจะต้องเทียบเคียงจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดความยุ่งยากหรือปัญหาตีความ นักศึกษาจะไม่ได้รับความคุ้มครองอย่างเหมาะสม
2. การคุ้มครองนักเรียน นิสิตและนักศึกษาฝึกงาน เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาฝึกงานได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย จะมีการแบ่งหน้าที่ให้หน่วยงานต่าง ๆ รับผิดชอบดังนี้
- ระดับอาชีวศึกษา ทางสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ออกประกาศคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การฝึกงานหลักสูตรการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพในสถานประกอบการ พ.ศ. 2565 เรียบร้อยแล้ว
- ระดับปริญญาตรี ควรมอบหมายให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาจัดทำหลักเกณฑ์เรื่องการกำหนดมาตรฐานกลาง ให้นักศึกษาได้รับการคุ้มครอง และสอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
3. ปัญหาล่วงละเมิดทางเพศหรือคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ควรสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานให้ปราศจากการล่วงละเมิดทางเพศ สร้างความตระหนักรู้ และจัดการปัญหาอย่างทันท่วงทีกรณีมีการร้องเรียน
4. ยกระดับการคุ้มครองการฝึกงานในประเทศไทย เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองและรักรักษาสิทธิประโยชน์ที่ควรได้ ในฐานะลูกจ้างคนหนึ่ง และผลักดันร่าง พ.ร.บ.การฝึกงาน พ.ศ. ... ให้สำเร็จ
ทั้งหมดนี้ ครม. ได้มอบหมายให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณารายละเอียดตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ และศึกษาแนทางการออกกฎหมายต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจาก ฐานเศรษฐกิจ