รายการโหนกระแส คุยเรื่องเคสไหนบ้างที่จะทำให้ป้าติ๋มไม่ได้รับทรัพย์สินจากพินัยกรรมจากชาวฝรั่งเศส มูลค่า 100 ล้าน ล่าสุด ป้าติ๋มโดนทนายด่า ให้สัมภาษณ์นักข่าวมากไป จากนี้หยุดให้ข่าวก่อน

ภาพจาก โหนกระแส
วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 รายการ โหนกระแส ตอนหนึ่งมีการพูุดคุยถึงเรื่องพินัยกรรมที่นางแคทเทอร์ริน อายุ 59 ปี สัญชาติฝรั่งเศส เขียนมอบทรัพย์สินบางส่วนให้กับนางณัฐวลัย หรือป้าติ๋ม คนงานที่ทำงานมาด้วยกัน 17 ปีว่า มีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่ป้าติ๋มจะไม่ได้รับเงินตามพินัยกรรมที่เขียนเอาไว้

ภาพจาก โหนกระแส
ตามหลักการในประเทศไทย จะมีการทำพินัยกรรม 3 แบบ ได้แก่
1. พินัยกรรมฝ่ายเมือง ทำที่เขตหรืออำเภอ
2. พินัยกรรมแบบธรรมดา พิมพ์ทั่วไป ต้องมีทนายความและมีพยานรับรู้เพื่อเซ็นเอกสาร 2 คน
3. พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับด้วยลายมือ ห้ามพิมพ์ ทำแบบนี้เพื่อตรวจสอบว่า คนทำพินัยกรรมมีสติสัมปชัญญะด้วยการดูลายมือ ห้ามมีการแปะโป้งเด็ดขาด
ส่วนจดหมายที่นางแคทเทอร์รินเขียนส่งให้ป้าติ๋ม ถือว่าไม่ใช่ 3 อย่างที่กล่าวมา แบบนี้เป็นโมฆะ
![โหนกระแส โหนกระแส]()
ภาพจาก โหนกระแส
อย่างไรก็ตาม ในตอนหนึ่งของจดหมาย มีระบุไว้ว่า พินัยกรรมอยู่ในตู้เซฟ ดังนั้นคาดว่า ข้อความที่ส่งมาอาจจะเป็นสรุปคร่าว ๆ ที่ส่งให้ป้าติ๋มและทนายความ ซึ่งพินัยกรรมฉบับจริง อาจจะเป็นประเภทที่ 2 เพราะนางแคทเทอร์รินเคยขอบัตรประชาชนป้าติ๋มเอาไว้
หรือถ้าเป็นพินัยกรรมแบบเขียนเอง แบบนี้ต้องเป็นลายมือนางแคทเทอร์รินทั้งหมด หากเขียนผิดตรงไหนต้องมีการเซ็นแก้ทุกครั้ง แต่ถ้าหากเปิดเอกสารมาแล้วเป็นการพิมพ์ แล้วมีลายเซ็นนางแคทเทอร์ริน โดยไม่มีพยาน ถือว่าเป็นโมฆะเช่นกัน
![โหนกระแส โหนกระแส]()
ภาพจาก โหนกระแส
ทั้งนี้ ถ้าหากเอกสารพินัยกรรมมีความถูกต้อง ก็จะเข้าสู่กระบวนการจัดตั้งผู้จัดการมรดก และขึ้นศาลเพื่อจัดการเรื่องทรัพย์สินต่อไป
ส่วนป้าติ๋ม ณ เวลานี้ ปฏิเสธการให้ข่าวทุกสำนัก เนื่องจากถูกทนายความโทรศัพท์มาด่าว่า ให้ข้อมูลนักข่าวมากเกินไป ตอนนี้ป้าจึงขอเก็บตัวและจะจัดงานศพให้ดีที่สุด
สำหรับข้อความในจดหมายทั้งหมด มีรายละเอียดดังนี้
อ่านข่าว : เปิดข้อความ เจ้านายฝรั่งเศสสั่งลา ป้าติ๋ม ยกมรดก 100 ล้าน พินัยกรรมชัดแบ่งอะไรบ้าง

ภาพจาก โหนกระแส
วันที่ 3 พฤษภาคม 2567 รายการ โหนกระแส ตอนหนึ่งมีการพูุดคุยถึงเรื่องพินัยกรรมที่นางแคทเทอร์ริน อายุ 59 ปี สัญชาติฝรั่งเศส เขียนมอบทรัพย์สินบางส่วนให้กับนางณัฐวลัย หรือป้าติ๋ม คนงานที่ทำงานมาด้วยกัน 17 ปีว่า มีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่ป้าติ๋มจะไม่ได้รับเงินตามพินัยกรรมที่เขียนเอาไว้

ภาพจาก โหนกระแส
ตามหลักการในประเทศไทย จะมีการทำพินัยกรรม 3 แบบ ได้แก่
1. พินัยกรรมฝ่ายเมือง ทำที่เขตหรืออำเภอ
2. พินัยกรรมแบบธรรมดา พิมพ์ทั่วไป ต้องมีทนายความและมีพยานรับรู้เพื่อเซ็นเอกสาร 2 คน
3. พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับด้วยลายมือ ห้ามพิมพ์ ทำแบบนี้เพื่อตรวจสอบว่า คนทำพินัยกรรมมีสติสัมปชัญญะด้วยการดูลายมือ ห้ามมีการแปะโป้งเด็ดขาด
ส่วนจดหมายที่นางแคทเทอร์รินเขียนส่งให้ป้าติ๋ม ถือว่าไม่ใช่ 3 อย่างที่กล่าวมา แบบนี้เป็นโมฆะ

ภาพจาก โหนกระแส
อย่างไรก็ตาม ในตอนหนึ่งของจดหมาย มีระบุไว้ว่า พินัยกรรมอยู่ในตู้เซฟ ดังนั้นคาดว่า ข้อความที่ส่งมาอาจจะเป็นสรุปคร่าว ๆ ที่ส่งให้ป้าติ๋มและทนายความ ซึ่งพินัยกรรมฉบับจริง อาจจะเป็นประเภทที่ 2 เพราะนางแคทเทอร์รินเคยขอบัตรประชาชนป้าติ๋มเอาไว้
หรือถ้าเป็นพินัยกรรมแบบเขียนเอง แบบนี้ต้องเป็นลายมือนางแคทเทอร์รินทั้งหมด หากเขียนผิดตรงไหนต้องมีการเซ็นแก้ทุกครั้ง แต่ถ้าหากเปิดเอกสารมาแล้วเป็นการพิมพ์ แล้วมีลายเซ็นนางแคทเทอร์ริน โดยไม่มีพยาน ถือว่าเป็นโมฆะเช่นกัน

ภาพจาก โหนกระแส
ทั้งนี้ ถ้าหากเอกสารพินัยกรรมมีความถูกต้อง ก็จะเข้าสู่กระบวนการจัดตั้งผู้จัดการมรดก และขึ้นศาลเพื่อจัดการเรื่องทรัพย์สินต่อไป
ส่วนป้าติ๋ม ณ เวลานี้ ปฏิเสธการให้ข่าวทุกสำนัก เนื่องจากถูกทนายความโทรศัพท์มาด่าว่า ให้ข้อมูลนักข่าวมากเกินไป ตอนนี้ป้าจึงขอเก็บตัวและจะจัดงานศพให้ดีที่สุด
สำหรับข้อความในจดหมายทั้งหมด มีรายละเอียดดังนี้
อ่านข่าว : เปิดข้อความ เจ้านายฝรั่งเศสสั่งลา ป้าติ๋ม ยกมรดก 100 ล้าน พินัยกรรมชัดแบ่งอะไรบ้าง