รูปรถเมล์ รูปไฟจราจรใน Capcha ติดมาแค่เสี้ยวเดียวแบบนี้เราต้องคลิกหรือเปล่า ล่าสุด นายอาร์ม เข้ามาตอบแล้วว่า แบบไหนถึงจะถูก รู้คำตอบแล้ว วิธีแก้ Capcha ไม่ผ่าน
ทั้งนี้ ในทวิตเตอร์คุณอู๋ Spin9 ได้โพสต์ภาพรูปรถเมล์ แคปช่า ที่ถูกตัดแบ่งออกทั้งหมด 16 ช่อง และให้เราติ๊กแต่ละช่องที่มีรูปรถเมล์ ซึ่งบางรูปนั้นมีแค่เศษเสี้ยวของรถเมล์ที่ติดมาด้วย จึงเกิดคำถามว่า ถ้าติดมาแค่เสี้ยวเดียวแบบนี้ เราจำเป็นต้องติ๊กไหม และแบบไหน คือคำตอบที่ถูก
ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ นายอาร์ม อินฟลูเอนเซอร์ด้านไอทีชื่อดัง ได้มาเฉลยว่า สำหรับช่องที่ติดมาแค่เสี้ยวเดียวนั้น ไม่ว่าเราจะติ๊กหรือไม่ติ๊ก ก็ไม่มีผลใด ๆ ติ๊กหรือไม่ยังไงก็ผ่าน เพราะมันเกิดจากการที่เราลังเลว่าควรหรือไม่ควรทำ ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าคนที่ติ๊กนั้นเป็นมนุษย์ ไม่ใช่หุ่นยนต์
ด้านนายอาร์มได้อธิบายในคลิปหนึ่งว่า แต่ก่อนนั้นเราจะแยกคนกับบอตไม่ออก เช่นบางคนใช้บอตซื้อบัตรคอนเสิร์ต สมัครอีเมลเยอะ ๆ หรือเข้าเว็บไซต์ แต่ทางเจ้าของเว็บไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า คนที่ใช้บริการนั้นเป็นคนหรือบอต ทางเจ้าของ Yahoo.com จึงเอาเรื่องนี้ไปพูดที่ มหาวิทยาลัย carnegie mellon โดยมีโจทย์ที่ว่า เราต้องแยกมนุษย์ออกจากคอมพิวเตอร์ได้ และต้องให้คอมพิวเตอร์เป็นตัวตรวจ และเมื่อมนุษย์เห็น ไม่ว่าจะพูดภาษาอะไร วุฒิการศึกษาแบบไหน จะดูออกหมด แต่บอตไม่ว่าจะเก่งแค่ไหนจะดูไม่ออก และมีนายหลุยส์ นักศึกษาปริญญาเอกได้เอาเรื่องนี้ไปคิดและออกมาเป็น Capcha รุ่นแรก ที่สุ่มตัวอักษรมา แล้วตัวอักษรบางตัวจะถูกบิดแต่มนุษย์ยังจะอ่านออกได้ แต่บอตอ่านไม่ออก ซึ่งต่อ ๆ มา ก็มีคนพัฒนาให้สามารถแก้ Capcha ได้
ในส่วนของ Capcha ที่เป็นรูปนั้น
มีขึ้นมาเพื่อแยกมนุษย์ออกจากคอมพิวเตอร์ โดยที่หากเป็นบอตด้วยกัน
จะไม่มีการลังเลใด ๆ สามารถคลิกได้ถูกและไว
แต่หากเป็นมนุษย์จะมีความลังเลว่าตรงนี้ใช่หรือไม่ใช่
ก็แสดงว่านั่นคือมนุษย์ จนมีเวลางานวิจัยออกมาว่า
ถ้ามนุษย์มานั่งลังเลและแก้ Capcha แบบนี้ เมื่อคิดคำนวณรวมกันทั้งโลก
มนุษย์จะเสียเวลาแก้ Capcha ทั้งหมด 500 ปี และไม่มีใครบนโลกชอบการแก้
Capcha จึงกลายเป็นที่มาของ Capcha รุ่นต่อไป ที่ให้ติ๊กว่า I'm not a
robot เฉย ๆ
หลังจากผ่านมา 20 ปี ที่เราทุกคนต้องมานั่งกรอกตัวอักษร กดรูป หรือติ๊กที่ช่อง I'm not a robot ในตอนนี้จะมีสิ่งที่เรียกว่า No Capcha ของ Cloudflare ที่รู้ว่าเราคือบอตหรือไม่ใช่บอต โดยที่เราไม่ต้องคลิกใด ๆ แล้ว จบการคลิกรูปทุกอย่างไว้ตรงนี้เท่านี้
ภาพจาก X@spin9
หลายคนที่เข้าเว็บไซต์ ซื้อของ หรือใช้งานอินเทอร์เน็ต คงคุ้นเคยกันดีกับ Capcha ที่ให้เรามากรอกตัวอักษร เลือกรูป หรือคลิกว่าเราไม่ใช่หุ่นยนต์ ซึ่งสำหรับแบบที่เลือกรูปนั้น บางครั้งคลิกแล้วก็ไม่ผ่าน ต้องคลิกอีกซ้ำ ๆ บางครั้งรูปติดมาเสี้ยวเดียวก็จะทำให้คิดเราคิดว่ามันใช่คำตอบที่ถูกไหม ซึ่งวันนี้ ได้มีคนมาสอนแล้วว่า คลิกแบบไหนถึงจะถูก ทั้งนี้ ในทวิตเตอร์คุณอู๋ Spin9 ได้โพสต์ภาพรูปรถเมล์ แคปช่า ที่ถูกตัดแบ่งออกทั้งหมด 16 ช่อง และให้เราติ๊กแต่ละช่องที่มีรูปรถเมล์ ซึ่งบางรูปนั้นมีแค่เศษเสี้ยวของรถเมล์ที่ติดมาด้วย จึงเกิดคำถามว่า ถ้าติดมาแค่เสี้ยวเดียวแบบนี้ เราจำเป็นต้องติ๊กไหม และแบบไหน คือคำตอบที่ถูก
ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ นายอาร์ม อินฟลูเอนเซอร์ด้านไอทีชื่อดัง ได้มาเฉลยว่า สำหรับช่องที่ติดมาแค่เสี้ยวเดียวนั้น ไม่ว่าเราจะติ๊กหรือไม่ติ๊ก ก็ไม่มีผลใด ๆ ติ๊กหรือไม่ยังไงก็ผ่าน เพราะมันเกิดจากการที่เราลังเลว่าควรหรือไม่ควรทำ ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ว่าคนที่ติ๊กนั้นเป็นมนุษย์ ไม่ใช่หุ่นยนต์
ด้านนายอาร์มได้อธิบายในคลิปหนึ่งว่า แต่ก่อนนั้นเราจะแยกคนกับบอตไม่ออก เช่นบางคนใช้บอตซื้อบัตรคอนเสิร์ต สมัครอีเมลเยอะ ๆ หรือเข้าเว็บไซต์ แต่ทางเจ้าของเว็บไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า คนที่ใช้บริการนั้นเป็นคนหรือบอต ทางเจ้าของ Yahoo.com จึงเอาเรื่องนี้ไปพูดที่ มหาวิทยาลัย carnegie mellon โดยมีโจทย์ที่ว่า เราต้องแยกมนุษย์ออกจากคอมพิวเตอร์ได้ และต้องให้คอมพิวเตอร์เป็นตัวตรวจ และเมื่อมนุษย์เห็น ไม่ว่าจะพูดภาษาอะไร วุฒิการศึกษาแบบไหน จะดูออกหมด แต่บอตไม่ว่าจะเก่งแค่ไหนจะดูไม่ออก และมีนายหลุยส์ นักศึกษาปริญญาเอกได้เอาเรื่องนี้ไปคิดและออกมาเป็น Capcha รุ่นแรก ที่สุ่มตัวอักษรมา แล้วตัวอักษรบางตัวจะถูกบิดแต่มนุษย์ยังจะอ่านออกได้ แต่บอตอ่านไม่ออก ซึ่งต่อ ๆ มา ก็มีคนพัฒนาให้สามารถแก้ Capcha ได้
หลังจากผ่านมา 20 ปี ที่เราทุกคนต้องมานั่งกรอกตัวอักษร กดรูป หรือติ๊กที่ช่อง I'm not a robot ในตอนนี้จะมีสิ่งที่เรียกว่า No Capcha ของ Cloudflare ที่รู้ว่าเราคือบอตหรือไม่ใช่บอต โดยที่เราไม่ต้องคลิกใด ๆ แล้ว จบการคลิกรูปทุกอย่างไว้ตรงนี้เท่านี้