ไขข้อข้องใจคนทำอาหาร หมูสับซื้อจากตลาด ต้องล้างหรือไม่ อ.เจษฎา ตอบแล้ว ล้างหรือไม่ล้าง ล้างไม่ได้ช่วยฆ่าเชื้อ แล้วกรณีไหนควรล้างบ้าง
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant
หนึ่งในข้อถกเถียงกันเป็นวงกว้างของกลุ่มคนที่ทำอาหารกินเอง เวลาที่ไปซื้อหมูสับมาจากตลาด จำเป็นต้องล้างก่อนทำอาหารหรือไม่
วันที่ 15 พฤษภาคม 2567 เฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ของนายเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการให้ความเห็นเชิงวิชาการว่า เนื้อหมูสับไม่ได้มีความจำเป็นต้องล้างน้ำก่อน ถ้าเกิดจะล้างน้ำ จะต้องมีความจำเป็นจริง ๆ เท่านั้นถึงควรทำ
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
โดยปกติแล้ว เนื้อหมูสับถ้านำมาล้างน้ำ โอกาสที่เนื้อจะละลายไปกับน้ำค่อนข้างเยอะ ส่วนการล้างเนื้อสัตว์แบบชิ้น ๆ ก็จะช่วยให้สะอาดขึ้น คราบไขมัน สิ่งสกปรก เศษดินจะหลุดออกไป แต่การล้างไม่ได้ช่วยให้เชื้อโรคหลุดออกไปได้
ถ้าเนื้อสัตว์ผ่านการผลิตจากแหล่งชำแหละและบรรจุที่ได้มาตรฐาน ก็จะสะอาดเพียงพอนำไปบริโภคต่อ ฉะนั้นในเชิงสากล เนื้อสัตว์ไม่จำเป็นต้องล้าง อีกทั้งในมุมกลับกัน ก็อาจทำให้เกิดปัญหาได้ เช่น เนื้อไก่ที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน การที่เราไปล้างก็อาจจะทำให้เชื้อโรคกระจายออกไปที่อุปกรณ์ทำครัวหรืออากาศ หรือในมือเรา จนไปปนเปื้อนอาหารอย่างอื่น แล้วเรากินเข้าไปต่อจนเกิดอันตราย ฉะนั้น การฆ่าเชื้อโรคที่ดีที่สุดคือ การทำให้สุก
ส่วนกรณีที่จำเป็นต้องล้างจริง ๆ ก็คือ การทำตกพื้นหรืออาจจะซื้อมาตามเขียงตลาดสดในแหล่งผลิตที่เราไม่มั่นใจ
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant
หนึ่งในข้อถกเถียงกันเป็นวงกว้างของกลุ่มคนที่ทำอาหารกินเอง เวลาที่ไปซื้อหมูสับมาจากตลาด จำเป็นต้องล้างก่อนทำอาหารหรือไม่
วันที่ 15 พฤษภาคม 2567 เฟซบุ๊ก Jessada Denduangboripant ของนายเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการให้ความเห็นเชิงวิชาการว่า เนื้อหมูสับไม่ได้มีความจำเป็นต้องล้างน้ำก่อน ถ้าเกิดจะล้างน้ำ จะต้องมีความจำเป็นจริง ๆ เท่านั้นถึงควรทำ
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล
โดยปกติแล้ว เนื้อหมูสับถ้านำมาล้างน้ำ โอกาสที่เนื้อจะละลายไปกับน้ำค่อนข้างเยอะ ส่วนการล้างเนื้อสัตว์แบบชิ้น ๆ ก็จะช่วยให้สะอาดขึ้น คราบไขมัน สิ่งสกปรก เศษดินจะหลุดออกไป แต่การล้างไม่ได้ช่วยให้เชื้อโรคหลุดออกไปได้
ถ้าเนื้อสัตว์ผ่านการผลิตจากแหล่งชำแหละและบรรจุที่ได้มาตรฐาน ก็จะสะอาดเพียงพอนำไปบริโภคต่อ ฉะนั้นในเชิงสากล เนื้อสัตว์ไม่จำเป็นต้องล้าง อีกทั้งในมุมกลับกัน ก็อาจทำให้เกิดปัญหาได้ เช่น เนื้อไก่ที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน การที่เราไปล้างก็อาจจะทำให้เชื้อโรคกระจายออกไปที่อุปกรณ์ทำครัวหรืออากาศ หรือในมือเรา จนไปปนเปื้อนอาหารอย่างอื่น แล้วเรากินเข้าไปต่อจนเกิดอันตราย ฉะนั้น การฆ่าเชื้อโรคที่ดีที่สุดคือ การทำให้สุก
ส่วนกรณีที่จำเป็นต้องล้างจริง ๆ ก็คือ การทำตกพื้นหรืออาจจะซื้อมาตามเขียงตลาดสดในแหล่งผลิตที่เราไม่มั่นใจ