เปิดไทม์ไลน์บุ้ง เนติพร วันเสียชีวิต ไม่ชัดเจนเรื่องอาหารที่กิน และเจ้าหน้าที่ดูวงจรปิดไม่จบ
ภาพจาก เว็บไซต์ ilaw
วันที่ 15 พฤษภาคม 2567 เว็บไซต์ ilaw รายงานว่า นพ. สมภพ สังคุดแก้ว หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ แถลงถึงการเสียชีวิตของนางสาวเนติพร เสน่ห์สังคม หรือบุ้ง ทะลุวังว่า ขอชี้แจงเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องนางสาวเนติพรดังนี้
วันที่ 26 มกราคม 2567 เป็นวันที่รับตัวนางสาวเนติพรมาควบคุมตัวไว้ ณ ทัณฑสถานหญิงกลาง ขณะนั้นนางสาวเนติพรอดอาหารอยู่แล้ว ทางเจ้าหน้าที่จึงเฝ้าระวังดูแลอย่างใกล้ชิด เมื่อมีอาการอ่อนเพลียจากสภาวะอดอาหารก็ส่งตัวไปรักษาที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ โดยในช่วงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ - 8 มีนาคม 2567 รักษาที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ แล้วย้ายไปรักษาที่ รพ.ธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ 8 มีนาคม - 4 เมษายน 2567 เป็นเวลา 21 วัน ก่อนส่งตัวกลับ
ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน เป็นต้นมา นางสาวเนติพรกลับมารับประทานอาหารได้บ้างตามลำดับ รักษาตัวที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ไม่มีอาการสภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
สุดท้ายวันที่ 14 พฤษภาคม เวลา 06.00 น. นางสาวเนติพร ได้คุยกับนางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ เพื่อนสนิทที่พักอยู่ด้วยกันตามปกติ จากนั้นก็วูบหมดสติไป เจ้าหน้าที่ได้กระตุ้นหัวใจและส่งตัวไปยัง รพ.ธรรมศาสตร์ จนมีข่าวเสียชีวิต
ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมวันเกิดเหตุ ในช่วงเวลาประมาณ 06.10 - 06.20 น. มีเจ้าหน้าที่เข้าไปวัดความดัน แล้วเจ้าตัวก็ยกแขนให้วัดความดันตามปกติ จากนั้นประมาณ 1-2 นาทีก็กระตุกขึ้นมาจนผู้ช่วยอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำเข้ามาช่วยเหลือ
ขณะที่นางสาวทานตะวัน ที่อยู่ใกล้ ๆ ก็วัดความดันด้วยกัน แต่ผู้สื่อข่าวขอให้อธิบายอย่างละเอียดชัดเจน จน นพ.สมภพ เข้ามาตอบว่า นางสาวทานตะวันน่าจะเข้าห้องน้ำส่วนนางสาวเนติพรน่าจะนอนที่เตียง แต่เหตุการณ์นี้มีกล้องวงจรปิด
ผู้สื่อข่าวถามว่า ดูกล้องวงจรปิดแล้วหรือยัง นพ.สมภพ ตอบว่า ดูในตอนช่วงแรก จึงถูกสื่อถามจี้ว่า ไม่ดูหลังจากนั้นหรือ ? นพ.สมภพ จึงตอบว่า หลังจากนั้นมีการบันทึกเหตุการณ์ มีการบันทึกไว้ตลอด มีการปั๊มหัวใจในที่เกิดเหตุและลงไปปั๊มด้านล่าง ซึ่งตอนที่เคลื่อนย้าย ชีพจรยังอ่อนอยู่
ผู้สื่อข่าวยังถามต่อไปว่า ตอนเคลื่อนย้ายพยุงใส่เปลหรือไม่ นพ.สมภพ ตอบว่า ไม่ได้ดูวงจรปิดอย่างต่อเนื่อง จึงไม่มีคำตอบ
ส่วนเรื่องการกินอาหารหลังกลับจาก รพ.ธรรมศาสตร์ มีการบันทึกรายละเอียดไว้ แต่ไม่ได้ระบุชัดเจน ระบุอาการแค่ว่า อ่อนเพลีย กินอาหารได้ตามลำดับ อย่างน้อยคือไข่ต้ม ไข่เจียว รายละเอียดเชิงลึกก็ต้องดูอีกครั้ง แต่มีการกินเป็นระยะ ๆ ยกเว้นถ้าช่วงไหนน้องเขากินแล้วรู้สึกแน่นท้อง คลื่นไส้ ก็อาจจะกินน้อยลงไป
ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์ ilaw
ภาพจาก เว็บไซต์ ilaw
วันที่ 15 พฤษภาคม 2567 เว็บไซต์ ilaw รายงานว่า นพ. สมภพ สังคุดแก้ว หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ แถลงถึงการเสียชีวิตของนางสาวเนติพร เสน่ห์สังคม หรือบุ้ง ทะลุวังว่า ขอชี้แจงเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องนางสาวเนติพรดังนี้
วันที่ 26 มกราคม 2567 เป็นวันที่รับตัวนางสาวเนติพรมาควบคุมตัวไว้ ณ ทัณฑสถานหญิงกลาง ขณะนั้นนางสาวเนติพรอดอาหารอยู่แล้ว ทางเจ้าหน้าที่จึงเฝ้าระวังดูแลอย่างใกล้ชิด เมื่อมีอาการอ่อนเพลียจากสภาวะอดอาหารก็ส่งตัวไปรักษาที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ โดยในช่วงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ - 8 มีนาคม 2567 รักษาที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ แล้วย้ายไปรักษาที่ รพ.ธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ 8 มีนาคม - 4 เมษายน 2567 เป็นเวลา 21 วัน ก่อนส่งตัวกลับ
ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน เป็นต้นมา นางสาวเนติพรกลับมารับประทานอาหารได้บ้างตามลำดับ รักษาตัวที่ทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ไม่มีอาการสภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
สุดท้ายวันที่ 14 พฤษภาคม เวลา 06.00 น. นางสาวเนติพร ได้คุยกับนางสาวทานตะวัน ตัวตุลานนท์ เพื่อนสนิทที่พักอยู่ด้วยกันตามปกติ จากนั้นก็วูบหมดสติไป เจ้าหน้าที่ได้กระตุ้นหัวใจและส่งตัวไปยัง รพ.ธรรมศาสตร์ จนมีข่าวเสียชีวิต
ส่วนรายละเอียดเพิ่มเติมวันเกิดเหตุ ในช่วงเวลาประมาณ 06.10 - 06.20 น. มีเจ้าหน้าที่เข้าไปวัดความดัน แล้วเจ้าตัวก็ยกแขนให้วัดความดันตามปกติ จากนั้นประมาณ 1-2 นาทีก็กระตุกขึ้นมาจนผู้ช่วยอาสาสมัครสาธารณสุขเรือนจำเข้ามาช่วยเหลือ
ขณะที่นางสาวทานตะวัน ที่อยู่ใกล้ ๆ ก็วัดความดันด้วยกัน แต่ผู้สื่อข่าวขอให้อธิบายอย่างละเอียดชัดเจน จน นพ.สมภพ เข้ามาตอบว่า นางสาวทานตะวันน่าจะเข้าห้องน้ำส่วนนางสาวเนติพรน่าจะนอนที่เตียง แต่เหตุการณ์นี้มีกล้องวงจรปิด
ผู้สื่อข่าวถามว่า ดูกล้องวงจรปิดแล้วหรือยัง นพ.สมภพ ตอบว่า ดูในตอนช่วงแรก จึงถูกสื่อถามจี้ว่า ไม่ดูหลังจากนั้นหรือ ? นพ.สมภพ จึงตอบว่า หลังจากนั้นมีการบันทึกเหตุการณ์ มีการบันทึกไว้ตลอด มีการปั๊มหัวใจในที่เกิดเหตุและลงไปปั๊มด้านล่าง ซึ่งตอนที่เคลื่อนย้าย ชีพจรยังอ่อนอยู่
ผู้สื่อข่าวยังถามต่อไปว่า ตอนเคลื่อนย้ายพยุงใส่เปลหรือไม่ นพ.สมภพ ตอบว่า ไม่ได้ดูวงจรปิดอย่างต่อเนื่อง จึงไม่มีคำตอบ
ส่วนเรื่องการกินอาหารหลังกลับจาก รพ.ธรรมศาสตร์ มีการบันทึกรายละเอียดไว้ แต่ไม่ได้ระบุชัดเจน ระบุอาการแค่ว่า อ่อนเพลีย กินอาหารได้ตามลำดับ อย่างน้อยคือไข่ต้ม ไข่เจียว รายละเอียดเชิงลึกก็ต้องดูอีกครั้ง แต่มีการกินเป็นระยะ ๆ ยกเว้นถ้าช่วงไหนน้องเขากินแล้วรู้สึกแน่นท้อง คลื่นไส้ ก็อาจจะกินน้อยลงไป
ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์ ilaw