ชัชชาติตอบปม เปลี่ยนป้ายกรุงเทพฯ คนบอกไม่สวย ชี้ เป็นเรื่องดีที่มีคนเห็นต่าง ส่วนประเด็นงบ 3 ล้าน ไม่ใช่แค่ค่าป้าย แต่เป็นค่ากระบวนการทั้งหมด มีทีมทำงานต่างหาก และทุกอย่างผ่านขั้นตอนมาแล้ว
จากกรณีที่กรุงเทพมหานคร มีการเริ่มเปลี่ยนอัตลักษณ์ของเมืองใหม่ด้วยการเริ่มนำสติ๊กเกอร์คำว่า "กรุงเทพฯ Bangkok" ไปติดที่รางรถไฟฟ้าแยกปทุมวัน แทนคำเดิมที่ติดมานานกว่า 20 ปี อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก็มีกระแสสังคมออกมาวิจารณ์เรื่องความสวยงามของฟอนต์ใหม่ มีทั้งด้านบวกและด้านลบ
ทั้งนี้ เฟซบุ๊ก งานprอ่ะเนอะ ได้มีคนออกมาวิจารณ์ถึงงานออกแบบ CI (Corporate Identity) ของ กทม. กันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตรงรางรถไฟฟ้า BTS ที่มีการเปลี่ยนป้ายขาว ที่ติดตรงรางรถไฟฟ้าและมักมีนักท่องเที่ยวมาถ่ายรูป ให้เป็นตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีเขียว และถูกวิจารณ์ว่าไม่สวยบ้าง สีเขียวจมบ้าง หรือนานไประวังสีซีดบ้าง และยิ่งตอนกลางคืนไม่มีไฟส่อง ยิ่งทำให้้สีจมเข้าไปใหญ่ ออกแบบได้ตรงสเปก ใช้ทั้งสีทั้งฟอนต์ของ กทม. เอเจนซี่มองว่าดี นักออกแบบด้วยกันมองว่าดี แต่ลืมไปว่าสิ่งที่ต้องการคือให้คนทั่วไปมองกันออกว่าดี
ล่าสุด วันที่ 30 พฤษภาคม 2567 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้สัมภาษณ์ผ่านกรรมกรข่าว คุยนอกจอ ถึงเรื่องการเปลี่ยนป้ายใหม่ ทั้งที่คนผูกพันกับของเดิมว่า เรื่องนี้มีคณะทำงานอยู่ เราต้องเคารพผู้ออกแบบเขา เราไม่ได้บอกว่าของเก่าสวยกว่า ของใหม่สวยกว่า แต่เราก็ต้องพัฒนาเมือง ผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ดีที่มีคนวิจารณ์ เพราะที่ผ่านมาไม่ใครสนใจเลย ไม่มีใครเคยนึกถึงอัตลักษณ์ของกรุงเทพฯ
"ถ้าทุกคนชอบหมด 100% นี่เรื่องแปลกเลย มันต้องมีคนเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย แล้วก็มีอีกหลายจุดนะที่จะทำเพิ่ม อาจจะมีการประกวดการออกแบบเพิ่มเพื่อความหลากหลายมากขึ้น" นายชัชชาติ กล่าว
ส่วนประเด็นราคา 3 ล้านนั้น ไม่ใช่ค่าติดสติ๊กเกอร์ แต่เป็นค่ากระบวนการทั้งหมด ที่ผ่านมากรุงเทพฯ ไม่เคยมี CI (อัตลักษณ์) ที่ชัดเจนเลย บางครั้งก็ยึดติดกับบุคคลมากไป เราจึงอยากมีสัญลักษณ์ของ กทม. ขึ้นมา ที่ทุกคนใช้ร่วมกัน สามารถพัฒนาต่อไปได้ และเรื่องนี้ก็ผ่านมาหลายกระบวนการกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้
นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรรายการ ถามว่า ทำไมถึงคิดว่ากรุงเทพฯ ต้องมี CI ที่ว่านี้ นายชัชชาติตอบว่า ผมว่าทุกเมืองล้วนมี CI อย่างบริษัทต่าง ๆ ก็มี มันทำให้เกิดความเป็นตัวตน เช่น การเห็นฟอนต์ก็ทำให้รู้แล้วว่าคือ ข้อความของ กทม. แม้กระทั่งสีเขียวก็มีการปรับปรุงให้เป็นโทนเดียวกัน ไม่สะเปะสะปะ
ผมยอมรับว่าไม่ได้มีความรู้เรื่องนี้ แล้วก็ไม่อยากนั่งเป็นหัวของทีมการออกแบบ เพราะกลายเป็นว่าเขาจะต้องฟังเรา เราจึงต้องมีคณะทำงานเป็นเอกชน และ CI ในกรุงเทพฯ ควรจะมี
ส่วนคำว่า City of Life ที่หายไป ซึ่งตอนนี้ผ่านมา 20 ปี เมืองไม่ได้อยู่นิ่งอยู่กับที่ อนาคตอาจจะมีการประกวดคำขวัญใหม่ เช่น เมืองแห่งความเท่าเทียม เมืองแห่งแม่น้ำ ฯลฯ ต้องมาคิดว่าคำไหนที่เหมาะสมกว่า
ขอบคุณข้อมูลจาก กรรมกรข่าว คุยนอกจอ
จากกรณีที่กรุงเทพมหานคร มีการเริ่มเปลี่ยนอัตลักษณ์ของเมืองใหม่ด้วยการเริ่มนำสติ๊กเกอร์คำว่า "กรุงเทพฯ Bangkok" ไปติดที่รางรถไฟฟ้าแยกปทุมวัน แทนคำเดิมที่ติดมานานกว่า 20 ปี อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ก็มีกระแสสังคมออกมาวิจารณ์เรื่องความสวยงามของฟอนต์ใหม่ มีทั้งด้านบวกและด้านลบ
ล่าสุด วันที่ 30 พฤษภาคม 2567 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ให้สัมภาษณ์ผ่านกรรมกรข่าว คุยนอกจอ ถึงเรื่องการเปลี่ยนป้ายใหม่ ทั้งที่คนผูกพันกับของเดิมว่า เรื่องนี้มีคณะทำงานอยู่ เราต้องเคารพผู้ออกแบบเขา เราไม่ได้บอกว่าของเก่าสวยกว่า ของใหม่สวยกว่า แต่เราก็ต้องพัฒนาเมือง ผมว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ดีที่มีคนวิจารณ์ เพราะที่ผ่านมาไม่ใครสนใจเลย ไม่มีใครเคยนึกถึงอัตลักษณ์ของกรุงเทพฯ
"ถ้าทุกคนชอบหมด 100% นี่เรื่องแปลกเลย มันต้องมีคนเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย แล้วก็มีอีกหลายจุดนะที่จะทำเพิ่ม อาจจะมีการประกวดการออกแบบเพิ่มเพื่อความหลากหลายมากขึ้น" นายชัชชาติ กล่าว
ส่วนประเด็นราคา 3 ล้านนั้น ไม่ใช่ค่าติดสติ๊กเกอร์ แต่เป็นค่ากระบวนการทั้งหมด ที่ผ่านมากรุงเทพฯ ไม่เคยมี CI (อัตลักษณ์) ที่ชัดเจนเลย บางครั้งก็ยึดติดกับบุคคลมากไป เราจึงอยากมีสัญลักษณ์ของ กทม. ขึ้นมา ที่ทุกคนใช้ร่วมกัน สามารถพัฒนาต่อไปได้ และเรื่องนี้ก็ผ่านมาหลายกระบวนการกว่าจะมาถึงจุดนี้ได้
นายสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรรายการ ถามว่า ทำไมถึงคิดว่ากรุงเทพฯ ต้องมี CI ที่ว่านี้ นายชัชชาติตอบว่า ผมว่าทุกเมืองล้วนมี CI อย่างบริษัทต่าง ๆ ก็มี มันทำให้เกิดความเป็นตัวตน เช่น การเห็นฟอนต์ก็ทำให้รู้แล้วว่าคือ ข้อความของ กทม. แม้กระทั่งสีเขียวก็มีการปรับปรุงให้เป็นโทนเดียวกัน ไม่สะเปะสะปะ
ผมยอมรับว่าไม่ได้มีความรู้เรื่องนี้ แล้วก็ไม่อยากนั่งเป็นหัวของทีมการออกแบบ เพราะกลายเป็นว่าเขาจะต้องฟังเรา เราจึงต้องมีคณะทำงานเป็นเอกชน และ CI ในกรุงเทพฯ ควรจะมี
ส่วนคำว่า City of Life ที่หายไป ซึ่งตอนนี้ผ่านมา 20 ปี เมืองไม่ได้อยู่นิ่งอยู่กับที่ อนาคตอาจจะมีการประกวดคำขวัญใหม่ เช่น เมืองแห่งความเท่าเทียม เมืองแห่งแม่น้ำ ฯลฯ ต้องมาคิดว่าคำไหนที่เหมาะสมกว่า
ขอบคุณข้อมูลจาก กรรมกรข่าว คุยนอกจอ