คนโสดในไทยพุ่งพรวด 40.5% พบตั้งสเปกสูง-ไม่มีเวลา ส่องสถิติ หญิง-ชายอยากได้คู่แบบไหน

          เผยตัวเลขความโสดของคนไทย เป็นวัยเจริญพันธุ์ สูงสุดถึง 40.5 % เผยสาเหตุ สเปกสูง ทำงานจนไม่มีเวลา กระทบเรื่องไม่มีคู่

คนโสดในไทยพุ่งพรวด
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

          วันที่ 27 พฤษภาคม 2567 ThaiPBS รายงานว่า สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงเรื่อง ภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 โดยข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) พ.ศ. 2566 พบว่า


          - คนไทยครองตัวเป็นโสดมากขึ้น คิดเป็นร้อยละ 23.9 หรือ 1 ใน 5 ของคนไทย

          - ช่วงวัยเจริญพันธุ์ตั้งแต่อายุ 15-49 ปี มีสัดส่วนมากถึงร้อยละ 40.5 สูงกว่าภาพรวมประเทศเกือบเท่าตัว

          - เพิ่มขึ้นจาก พ.ศ. 2560 (ร้อยละ 35.7) โดย ร้อยละ 50.9 อยู่ในช่วงอายุ 15 – 25 ปี

คนโสดในไทยพุ่งพรวด
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

 
สถานการณ์คนโสด


          - คนโสดส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมือง โดยกรุงเทพฯ มีสัดส่วนคนโสดต่อประชากรเชิงพื้นที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นที่ 50.4%

          - กว่า 50.9% เป็นคนโสดในช่วงอายุ 15 – 25 ปี รองลงมา คือ ช่วงอายุ 26 -35 ปี สัดส่วน 29.7% ช่วงอายุ 37 – 49 ปี สัดส่วน 19.4%

          - 1 ใน 3 ของคนโสด (32.7%) จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป แบ่งเป็น ชาย 25.7% และ หญิง 42%

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นคนโสดแบ่งได้เป็น 4 ด้าน คือ


1.ค่านิยมทางสังคมของการเป็นโสดยุคใหม่


          "SINK (Single Income,No Kids)" หรือคนโสดที่มีรายได้และไม่มีลูก"เน้นใช้จ่ายเพื่อตนเอง จากข้อมูล SES ในปี 2566 พบว่าสัดส่วนคนโสด SINK สูงขึ้นตามระดับรายได้

          - "PANK (Professional Aunt, No Kids)" หรือกลุ่มผู้หญิงโสดอายุ 30 ปีขึ้นไป ที่มีรายได้ อาชีพการงานดีและไม่มีลูก ที่ให้ความสำคัญกับการดูแลหลาน เด็กในครอบครัวรอบตัว คนโสดกลุ่ม PANK มีจำนวน 2.8 ล้านคน ส่วนใหญ่มีรายได้ดีและจบการศึกษาสูง

          - "Waithood" กลุ่มคนโสดที่เลือกจะรอคอยความรักเนื่องจากความไม่พร้อม ไม่มั่นคงทางเศรษฐกิจ ส่วนหนึ่งสะท้อนได้จากคนโสดร้อยละ 40 ที่มีรายได้ต่ำสุด โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 37.7 ส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากถึงร้อยละ 62.6 มีระดับการศึกษาที่ไม่สูงนัก ทำให้ความสามารถในการหารายได้จำกัด

2. ปัญหาความต้องการ ความคาดหวังที่ไม่สอดคล้องกัน

          - เป็นผลจากความคาดหวังทางสังคมและทัศนคติต่อการมองหาคู่ของคนที่เปลี่ยนแปลงไป โดยบริษัท มีทแอนด์ลันช์ สาขาประเทศไทย (2021) พบว่า

          - ผู้หญิง ร้อยละ 76.0 จะไม่เดตกับผู้ชายที่มีรายได้น้อยกว่า

          - ผู้หญิง ร้อยละ 83.0 ไม่คบกับผู้ชายที่มีส่วนสูงน้อยกว่า

          - ผู้ชาย ร้อยละ 59.0 จะไม่คบกับผู้หญิงตัวสูงกว่า

          - ผู้ชาย ร้อยละ 60.0 ไม่เดตกับผู้หญิงที่เคยหย่าร้าง

3. โอกาสในการพบปะผู้คน

          -  ปี 2566 คนโสดมีชั่วโมงการทำงานสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ โดยข้อมูลจาก LFS สำนักงานสถิติแห่งชาติ เฉลี่ยอยู่ที่ 43.2 ชั่วโมง ต่อ สัปดาห์ สูงกว่าภาพรวมประเทศ (42.3 เฉลี่ยอยู่ที่ 43.2 ชั่วโมง/สัปดาห์)

          -  นอกจากนี้ กรุงเทพฯ ยังจัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของเมืองที่แรงงานทำงานหนักที่สุดในโลก ทำให้คนโสดไม่มีโอกาสในการมองหาคู่

4. นโยบายส่งเสริมการมีคู่ของภาครัฐยังไม่ต่อเนื่องและครอบคลุมความต้องการของคนโสด

          -  นโยบายส่งเสริมการมีคู่ของไทยในช่วงที่ผ่านมายังมีไม่มากนัก โดยเน้นไปที่กลุ่มคนโสดที่มีความพร้อม ขณะที่ในต่างประเทศมีแนวทางการส่งเสริมการมีคู่ที่ครอบคลุมไปถึงการบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย และการสร้างโอกาสในการมีคู่

ตัวอย่างนโยบายส่งเสริมการมีคู่ของภาครัฐที่ครอบคลุมไปถึงการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายและการสร้างโอกาสในการมีคู่


          -  สิงคโปร์
ในปี 2561 มีการจัดทำโครงการลดคนโสด โดยสนับสนุนเงินอย่างน้อย 2,500 บาท เพื่อให้ประชาชนนำไปใช้ในกิจกรรมออกเดต/บริการหาคู่ เพื่อส่งเสริมให้คนโสดได้มีโอกาสพบรักกัน

          -  จีน ในปี 2566 รัฐบาลท้องถิ่นของมณฑลเจียงซี ให้การสนับสนุนแอปพลิเคชันหาคู่ โดยใช้ฐานข้อมูลของคนโสดที่อาศัยอยู่ในเมืองมาพัฒนาจัดทำแพลตฟอร์มบริการ จัดหาคู่ ที่เรียกว่า Palm Guixi

          -  ญี่ปุ่น ในปี 2567 จัดทำแอปพลิเคชันหาคู่ สำหรับคนโสดที่อายุมากกว่า 18 ปี ที่อาศัย ทำงาน หรือเรียนอยู่ในกรุงโตเกียว โดยใช้ระบบ AI เพื่อช่วยวิเคราะห์หาคนที่มีความชอบใกล้เคียงกัน รวมทั้งยังมีระบบการยืนยันตัวตนเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้งานอีกด้วย

แนวทางแก้ปัญหาจำนวนคนโสด


          1. การสนับสนุนเครื่องมือการ Matching คนโสด โดยภาครัฐ อาจร่วมมือกับผู้ให้บริการ/พัฒนาแพลตฟอร์ม เพื่อส่งเสริมให้คนโสดสามารถเข้าถึงได้มากขึ้น เนื่องจากแอปพลิเคชัน หาคู่ในตลาดมีต้นทุน ขึ้นอยู่กับฟังก์ชันและความปลอดภัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้งาน

          2. การส่งเสริมการมี Work - Life Balance ทั้งในภาครัฐและเอกชน ซึ่งจะช่วยให้คนโสดมีคุณภาพชีวิตที่ขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มโอกาส ให้คนโสดมีเวลาทำกิจกรรมที่ชอบและพบเจอคนที่มีความชอบลักษณะเดียวกันมากขึ้น

          3. การยกระดับทักษะ ที่จำเป็นในการทำงาน เพิ่มโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพการงานและรายได้ อาทิ คอร์สเรียนเพิ่มทักษะ Soft & Hard Skills นอกจากนี้ จากผลสำรวจคิด for คิดส์ ปี 202238 พบว่า 58.9% ของคนโสดยังมีโอกาส พบรักจากสถานศึกษาได้อีกด้วย

          4. การส่งเสริมกิจกรรมและการมีส่วนร่วมทางสังคมอย่างต่อเนื่อง อาทิ กิจกรรมทำอาหาร ออกกำลังกาย อาสาสมัคร ทำงานศิลปะ ทำบุญ เพื่อส่งเสริมให้คนโสดได้มีโอกาสพบปะพูดคุย และสร้างความสัมพันธ์ใหม่ ๆ ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย


ขอบคุณข้อมูลจาก ThaiPBS, ฐานเศรษฐกิจ

เรื่องที่คุณอาจสนใจ
คนโสดในไทยพุ่งพรวด 40.5% พบตั้งสเปกสูง-ไม่มีเวลา ส่องสถิติ หญิง-ชายอยากได้คู่แบบไหน อัปเดตล่าสุด 31 พฤษภาคม 2567 เวลา 12:03:04 6,378 อ่าน
TOP
x close