เที่ยวเมืองรอง ลดหย่อนภาษี สำหรับนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา เปิดเงื่อนไข ทำยังไงบ้างถึงลดหย่อนภาษีได้ และเมืองรอง 55 จังหวัด มีเมืองไหนบ้าง คาด สามารถลดภาษีถึง 1,800 ล้านบาท
วันที่ 5 มิถุนายน 2567 ไทยพีบีเอส รายงานว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม. เห็นชอบมาตรการภาษีและอนุมัติในหลักการที่เกี่ยวข้องกับมาตรการภาษี เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ และกำหนดการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรแก่บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
นายเศรษฐา กล่าวว่า ต้นเดือนที่ผ่านมารัฐบาลให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวในการผลักดันเศรษฐกิจ โดยได้ประชุมกับผู้ที่เกี่ยวข้องการสนับสนุนเมืองรอง มีการประสานเพื่อจัดเทศกาลต่าง ๆ ในเมือง โดยเฉพาะเดือนที่เป็น Low Season พร้อมประสาน สส. ในพื้นที่ให้รับทราบ ประสานไปยังกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อช่วยในการสนับสนุนและโปรโมต กระตุ้นเศรษฐกิจพื้นเมืองได้
นางรัดเกล้า อินวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำหรับมาตรการอบรมสัมมนาในประเทศ (นิติบุคคล) และมาตรการทางภาษีสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ (บุคคลธรรมดา) ระหว่างเดือนพฤษภาคม - พฤศจิกายน นี้ ทาง ครม. ได้สนับสนุนหลักการโดย มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ (นิติบุคคล)
สิทธิประโยชน์ด้านภาษี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมสัมมนาในประเทศ หรือค่าบริการของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนาดังกล่าว ที่จ่ายไปตั้งแต่ 1 พฤษภาคม - 30 พฤศจิกายน 2567 จะต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนค่าขนส่งที่จ่ายให้ผู้ที่มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีใบรับในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร
- หักรายจ่ายได้ 2 เท่าของรายจ่ายตามจริง สำหรับการอบรมสัมมนาที่จัดในจังหวัดท่องเที่ยวรอง ยกเว้นพื้นที่บางอำเภอในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก
- หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่าของรายจ่ายตามจริง สำหรับการอบรมสัมมนาที่ไม่ได้จัดขึ้นในจังหวัดท่องเที่ยวรอง (จังหวัดท่องเที่ยวหลัก)
- หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง ในกรณีที่ไม่สามารถแยกได้ว่าเกิดขึ้นในท้องที่ใด
- พื้นที่จังหวัดท่องเที่ยวรอง แบ่งเป็น 55 จังหวัด หักรายจ่ายได้ 2 เท่า
- พื้นที่บางอำเภอในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก 15 จังหวัด หักรายจ่ายได้ 2 เท่า
- พื้นที่อื่นในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่า
- ค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
- ค่าที่พักในโรงแรม
- ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย
- ค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม
ส่วนการท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรอง ต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร ไม่เกิน 15,000 บาท
ส่วนพื้นที่ในการให้สิทธิประโยชน์จังหวัดท่องเที่ยวรองนั้น 2 มาตรการนี้จะรวมกับร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่...) พ.ศ..จำนวน 1 ฉบับ
ส่วนรายได้จากภาษีที่รัฐจะสูญเสีย สำหรับการสัมมนาของนิติบุคคลอยู่ที่ 1,200 ล้านบาท ส่วนของบุคคลธรรมดา จะเสียประมาณ 581 ล้านบาท
ภาคเหนือ
- เชียงราย
- พิษณุโลก
- ตาก
- เพชรบูรณ์
- นครสวรรค์
- สุโขทัย
- ลำพูน
- อุตรดิตถ์
- ลำปาง
- แม่ฮ่องสอน
- พิจิตร
- แพร่
- น่าน
- กำแพงเพชร
- อุทัยธานี
- พะเยา
ภาคอีสาน
- อุดรธานี
- อุบลราชธานี
- หนองคาย
- เลย
- มุกดาหาร
- บุรีรัมย์
- ชัยภูมิ
- ศรีสะเกษ
- สุรินทร์
- สกลนคร
- นครพนม
- ร้อยเอ็ด
- มหาสารคาม
- บึงกาฬ
- กาฬสินธุ์
- ยโสธร
- หนองบัวลำภู
- อำนาจเจริญ
ภาคกลาง
- ลพบุรี
- สุพรรณบุรี
- นครนายก
- สระแก้ว
- ตราด
- จันทบุรี
- ราชบุรี
- สมุทรสงคราม
- ปราจีนบุรี
- ชัยนาท
- อ่างทอง
- สิงห์บุรี
ภาคใต้
- นครศรีธรรมราช
- พัทลุง
- ตรัง
- สตูล
- ชุมพร
- ระนอง
- นราธิวาส
- ยะลา
- ปัตตานี
ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยพีบีเอส
วันที่ 5 มิถุนายน 2567 ไทยพีบีเอส รายงานว่า นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม. เห็นชอบมาตรการภาษีและอนุมัติในหลักการที่เกี่ยวข้องกับมาตรการภาษี เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ และกำหนดการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรแก่บุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
นายเศรษฐา กล่าวว่า ต้นเดือนที่ผ่านมารัฐบาลให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวในการผลักดันเศรษฐกิจ โดยได้ประชุมกับผู้ที่เกี่ยวข้องการสนับสนุนเมืองรอง มีการประสานเพื่อจัดเทศกาลต่าง ๆ ในเมือง โดยเฉพาะเดือนที่เป็น Low Season พร้อมประสาน สส. ในพื้นที่ให้รับทราบ ประสานไปยังกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เพื่อช่วยในการสนับสนุนและโปรโมต กระตุ้นเศรษฐกิจพื้นเมืองได้
นางรัดเกล้า อินวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำหรับมาตรการอบรมสัมมนาในประเทศ (นิติบุคคล) และมาตรการทางภาษีสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ (บุคคลธรรมดา) ระหว่างเดือนพฤษภาคม - พฤศจิกายน นี้ ทาง ครม. ได้สนับสนุนหลักการโดย มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ (นิติบุคคล)
1. เงื่อนไขการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ (นิติบุคคล)
สิทธิประโยชน์ด้านภาษี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการอบรมสัมมนาในประเทศ หรือค่าบริการของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนาดังกล่าว ที่จ่ายไปตั้งแต่ 1 พฤษภาคม - 30 พฤศจิกายน 2567 จะต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนค่าขนส่งที่จ่ายให้ผู้ที่มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีใบรับในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ทำผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร
เงื่อนไขหักภาษีค่าใช้จ่าย
- หักรายจ่ายได้ 2 เท่าของรายจ่ายตามจริง สำหรับการอบรมสัมมนาที่จัดในจังหวัดท่องเที่ยวรอง ยกเว้นพื้นที่บางอำเภอในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก
- หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่าของรายจ่ายตามจริง สำหรับการอบรมสัมมนาที่ไม่ได้จัดขึ้นในจังหวัดท่องเที่ยวรอง (จังหวัดท่องเที่ยวหลัก)
- หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง ในกรณีที่ไม่สามารถแยกได้ว่าเกิดขึ้นในท้องที่ใด
พื้นที่ของจังหวัดท่องเที่ยวหลัก - รอง มีอะไรบ้าง
- พื้นที่จังหวัดท่องเที่ยวรอง แบ่งเป็น 55 จังหวัด หักรายจ่ายได้ 2 เท่า
- พื้นที่บางอำเภอในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก 15 จังหวัด หักรายจ่ายได้ 2 เท่า
- พื้นที่อื่นในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก หักรายจ่ายได้ 1.5 เท่า
2. มาตรการภาษีสนับสนุนการท่องเที่ยวในประเทศ สำหรับบุคคลธรรมดา
กลุ่มเป้าหมายคือ ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิทธิประโยชน์ทางภาษี-ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักลดหย่อนค่าบริการได้ ดังนี้
- ค่าบริการที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว
- ค่าที่พักในโรงแรม
- ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย
- ค่าที่พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม
ส่วนการท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวรอง ต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ของกรมสรรพากร ไม่เกิน 15,000 บาท
ส่วนพื้นที่ในการให้สิทธิประโยชน์จังหวัดท่องเที่ยวรองนั้น 2 มาตรการนี้จะรวมกับร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่...) พ.ศ..จำนวน 1 ฉบับ
ส่วนรายได้จากภาษีที่รัฐจะสูญเสีย สำหรับการสัมมนาของนิติบุคคลอยู่ที่ 1,200 ล้านบาท ส่วนของบุคคลธรรมดา จะเสียประมาณ 581 ล้านบาท
รายชื่อเมืองรอง 55 จังหวัด ได้แก่
ภาคเหนือ
- เชียงราย
- พิษณุโลก
- ตาก
- เพชรบูรณ์
- นครสวรรค์
- สุโขทัย
- ลำพูน
- อุตรดิตถ์
- ลำปาง
- แม่ฮ่องสอน
- พิจิตร
- แพร่
- น่าน
- กำแพงเพชร
- อุทัยธานี
- พะเยา
ภาคอีสาน
- อุดรธานี
- อุบลราชธานี
- หนองคาย
- เลย
- มุกดาหาร
- บุรีรัมย์
- ชัยภูมิ
- ศรีสะเกษ
- สุรินทร์
- สกลนคร
- นครพนม
- ร้อยเอ็ด
- มหาสารคาม
- บึงกาฬ
- กาฬสินธุ์
- ยโสธร
- หนองบัวลำภู
- อำนาจเจริญ
ภาคกลาง
- ลพบุรี
- สุพรรณบุรี
- นครนายก
- สระแก้ว
- ตราด
- จันทบุรี
- ราชบุรี
- สมุทรสงคราม
- ปราจีนบุรี
- ชัยนาท
- อ่างทอง
- สิงห์บุรี
ภาคใต้
- นครศรีธรรมราช
- พัทลุง
- ตรัง
- สตูล
- ชุมพร
- ระนอง
- นราธิวาส
- ยะลา
- ปัตตานี
ขอบคุณข้อมูลจาก ไทยพีบีเอส