พิธา แถลงแนวทางต่อสู้ 9 ข้อ คดียุบพรรคก้าวไกล ยันศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัย ชี้กระบวนการยื่นคำร้อง กกต. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pita Limjaroenrat - พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
วันที่ 9 มิถุนายน 2567 ช่อง 3 รายงานว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล แถลงข้อต่อสู้คดียุบพรรคก้าวไกล โดยเปิดเผยว่า พรรคก้าวไกล มีแนวทาง 9 ข้อต่อสู้ แบ่งเป็นสัดส่วน 3 หมวด คือ ขบวนการ ข้อเท็จจริง และสัดส่วนโทษ ซึ่งการแถลงวันนี้จะเน้นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในคดีเป็นหลัก
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pita Limjaroenrat - พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
1. ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีเหตุอำนาจวินิจฉัยพิจารณาคดีนี้
2. กระบวนการยื่นคำร้องของ กกต. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
3. คำวินิจฉัยคดีล้มล้างกันปกครอง เมื่อวันที่ 31 มกราคม ไม่ผูกพันต่อการวินิจฉัยคดีคดีนี้ข้อ
4. การกระทำที่ถูกกล่าวหาไม่ล้มละลาย ไม่อาจเป็นปฏิปักษ์
5. การกระทำตามคำวินิจฉัยของคดี 31 มกราคม ไม่เป็นมติของพรรค
6. โทษยุบพรรค ต้องเป็นมาตรการสุดท้ายเมื่อจำเป็นฉุกเฉิน ฉับพลัน และไม่มีทางแก้ไขในระบอบประชาธิปไตย
7. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจตัดสินกรรมการบริหารพรรค
8. จำนวนปีในการตัดสิทธิ์ทางการเมืองต้องได้สัดส่วนกับความผิด
9. การพิจารณาโทษต้องสอดคล้องกับคณะกรรมการบริหารพรรคในช่วงที่ถูกกล่าวหา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pita Limjaroenrat - พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
ทั้งนี้ นายพิธา ระบุว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีเขตอำนาจในการพิจารณาเรื่องการยุบพรรค ส่วนที่ศาลรัฐธรรมนูญอ้างว่าใช้อำนาจจาก พรป. มาตรา 92 แต่ พรป. ไม่ได้เป็นรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงวิธีพิจารณา ไม่ใช่บ่อเกิดอำนาจ เป็นคนละเรื่องกัน
ขณะที่กระบวนการ ยื่นคำร้องของ กกต. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีโอกาสให้ผู้ถูกร้องคือพรรคก้าวไกลได้มีโอกาสรับทราบ โต้แย้ง หรือแสดงพยานหลักฐานของตนแต่อย่างใด ฉะนั้นการยื่นคำร้องนี้จึงขัดต่อระเบียบที่ กกต. ตราขึ้นเอง และเป็นการยื่นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ทั้งนี้ นายพิธา แสดงความมั่นใจว่าสุดท้ายแล้วคดียุบพรรคก้าวไกลครั้งนี้จะเป็นโมฆะเพราะขาดความชอบธรรม
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pita Limjaroenrat - พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pita Limjaroenrat - พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
วันที่ 9 มิถุนายน 2567 ช่อง 3 รายงานว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล แถลงข้อต่อสู้คดียุบพรรคก้าวไกล โดยเปิดเผยว่า พรรคก้าวไกล มีแนวทาง 9 ข้อต่อสู้ แบ่งเป็นสัดส่วน 3 หมวด คือ ขบวนการ ข้อเท็จจริง และสัดส่วนโทษ ซึ่งการแถลงวันนี้จะเน้นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายในคดีเป็นหลัก
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pita Limjaroenrat - พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
สำหรับแนวทางการต่อสู้ 9 ข้อ มีดังนี้
1. ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีเหตุอำนาจวินิจฉัยพิจารณาคดีนี้
2. กระบวนการยื่นคำร้องของ กกต. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
3. คำวินิจฉัยคดีล้มล้างกันปกครอง เมื่อวันที่ 31 มกราคม ไม่ผูกพันต่อการวินิจฉัยคดีคดีนี้ข้อ
4. การกระทำที่ถูกกล่าวหาไม่ล้มละลาย ไม่อาจเป็นปฏิปักษ์
5. การกระทำตามคำวินิจฉัยของคดี 31 มกราคม ไม่เป็นมติของพรรค
6. โทษยุบพรรค ต้องเป็นมาตรการสุดท้ายเมื่อจำเป็นฉุกเฉิน ฉับพลัน และไม่มีทางแก้ไขในระบอบประชาธิปไตย
7. ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจตัดสินกรรมการบริหารพรรค
8. จำนวนปีในการตัดสิทธิ์ทางการเมืองต้องได้สัดส่วนกับความผิด
9. การพิจารณาโทษต้องสอดคล้องกับคณะกรรมการบริหารพรรคในช่วงที่ถูกกล่าวหา
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pita Limjaroenrat - พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
ทั้งนี้ นายพิธา ระบุว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีเขตอำนาจในการพิจารณาเรื่องการยุบพรรค ส่วนที่ศาลรัฐธรรมนูญอ้างว่าใช้อำนาจจาก พรป. มาตรา 92 แต่ พรป. ไม่ได้เป็นรัฐธรรมนูญ เป็นเพียงวิธีพิจารณา ไม่ใช่บ่อเกิดอำนาจ เป็นคนละเรื่องกัน
ขณะที่กระบวนการ ยื่นคำร้องของ กกต. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีโอกาสให้ผู้ถูกร้องคือพรรคก้าวไกลได้มีโอกาสรับทราบ โต้แย้ง หรือแสดงพยานหลักฐานของตนแต่อย่างใด ฉะนั้นการยื่นคำร้องนี้จึงขัดต่อระเบียบที่ กกต. ตราขึ้นเอง และเป็นการยื่นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ทั้งนี้ นายพิธา แสดงความมั่นใจว่าสุดท้ายแล้วคดียุบพรรคก้าวไกลครั้งนี้จะเป็นโมฆะเพราะขาดความชอบธรรม
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Pita Limjaroenrat - พิธา ลิ้มเจริญรัตน์